backup og meta

อาหาร โรคไต เบาหวาน แบบไหนดีต่อสุขภาพ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/05/2023

    อาหาร โรคไต เบาหวาน แบบไหนดีต่อสุขภาพ

    พฤติกรรมการกินอาหารในปัจจุบัน ที่ส่งเสริมรสชาติให้โดดเด่น แต่ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เช่นกัน การรับประทานอาหารที่มีปริมาณของโซเดียมสูงจึงเสี่ยงต่อโรคไต ส่วนการรับประทานอาหารที่หวานจะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยทั้ง 2 โรค ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ โดยเลือก อาหาร โรคไต เบาหวาน ที่ดีต่อสุขภาพและควบคุมโรคเอาไว้ได้ 

    ลักษณะของโรคไต 

    โรคไตเป็นอาการหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณไต ส่งผลให้การทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกาย การรักษาความสมดุลของเกลือ และน้ำในร่างกายเกิดภาวะขัดข้อง โรคที่เกิดขึ้นกับไตมีอยู่หลายประเภท ประกอบด้วย

    • ไตวายฉับพลัน 
  • ไตวายเรื้อรังที่อาจเกิดจากโรคเบาหวาน 
  • โรคความดันโลหิตสูง 
  • โรคไตอักเสบ 
  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • โรคถุงน้ำที่ไต 
  • ภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยครั้ง หรือเกิดจากการอุดตัน เช่น นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือมะเร็งมดลูกไปกดเบียดท่อไต 
  • อาการของโรคไต

    โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคไตระยะเริ่มต้นจะไม่แสดงอาการที่ชัดเจน แต่จะพบเมื่อมีอาการไตเรื้อรังระยะที่รุนแรง เมื่อป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังแล้ว การทำงานของไตจะเสื่อมลงจนเข้าสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย สำหรับอาการของโรคไตที่พบได้บ่อย ได้แก่

    • มีอาการซีด 
    • เพลีย 
    • เบื่ออาหาร 
    • คลื่นไส้ 
    • ปัสสาวะสีหรือกลิ่นผิดปกติ 
    • ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน 
    • ปวดศีรษะ 
    • ตรวจพบความดันโลหิตสูง 
    • ตัวบวม เท้าบวม 
    • ปวดหลัง และปวดบั้นเอว 

    ลักษณะของโรคเบาหวาน 

    โรคเบาหวาน เกิดจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดไปใช้ได้ อาหารที่รับประทานจึงถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคส ทำให้น้ำตาลที่ร่างกายนำไปใช้ไม่หมดนั้นสะสมอยู่ในกระแสเลือด มากเข้าก็จะออกมาในปัสสาวะ โดยปกติแล้วตับอ่อนในร่างกายจะสร้างฮอร์โมนอินซูลิน แต่ถ้าตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่เพียงพอ หรืออินซูลินมีน้อย ออกฤกธิ์ได้ไม่ดี ร่างกายก็จะใช้กลูโคสไม่ได้ เมื่อการเผาผลาญของร่างกายมีปัญหา จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เกิดโรคเบาหวานได้

    อาการของโรคเบาหวาน

    1. ผู้ที่สงสัยว่าอาจป่วยเป็นโรคเบาหวาน สามารถสังเกตอาการเบื้องต้น ได้ดังนี้
    2. ปัสสาวะบ่อย หรืออาจมีมดขึ้นบนปัสสาวะได้
    3. กระหายน้ำบ่อยและดื่มน้ำมาก
    4. รู้สึกอ่อนเพลีย น้ำหนักลดลง และผอมลง ทั้ง ๆ ที่รับประทานอาหารมาก
    5. อาการแทรกซ้อนของเบาหวานอื่น ๆ ได้แก่ ตาพร่ามัว ชาตามปลายมือ ปลายเท้า แผลหายช้า ติดเชื้อง่าย 
    6. อาจพบโรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ร่วมด้วย

    อาหาร โรคไต เบาหวาน แบบไหนดีต่อสุขภาพและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

    สำหรับ อาหารโรคไตเบาหวาน นั้น ควรเลือกอาหารให้หลากหลาย รับประทานอาหารให้เป็นเวลา โดยคำนึงถึงสัดส่วนและความสมดุลของสารอาหาร ดังนี้

    • คาร์โบไฮเดรต : ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรรับประทานข้าวหรือแป้งที่มีกากใยสูง เช่น ข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ ส่วนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรบริโภคอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตไม่เกิน 6 ทัพพีต่อวัน 
    • โปรตีน : ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรเลือกทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย ไม่ติดมันและหนัง เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว และเต้าหู้ ส่วนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 1-3 บริโภคอาหารกลุ่มโปรตีนไม่เกิน 7 ช้อนโต๊ะต่อวัน และผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะ 4-5 ไม่เกิน 5 ช้อนโต๊ะต่อวัน ได้แก่ ไข่ขาว เนื้อปลา เนื้อไก่ และเนื้อหมูไม่ติดมัน 
    • ผักและผลไม้ : ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรเลือกรับประทานผักต้มสุก เน้นผักใบเขียว หลีกเลี่ยงข้าวโพด เผือก มัน ฟักทอง เนื่องจากให้แป้งสูง และหลีกเลี่ยงผลไม้น้ำตาลสูง ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงผักและผลไม้ที่มีโพแตสเซียมและฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ แครอท บล็อกโคลี ถั่วฝักยาว ฟักทอง มะเขือเทศ แก้วมังกร มะละกอ น้ำส้มคั้น และน้ำผลไม้รวม ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ยอดผัก ใจผัก และหน่อไม้หน่อไม้ฝรั่ง 

    นอกจากนี้ อาหาร โรคไต เบาหวาน ไม่ควรปรุงรส ควรควบคุมการบริโภคอาหารลดหวาน มัน เค็ม และดื่มน้ำ 1.5 ลิตรต่อวัน หรือปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเฉพาะบุคคล

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/05/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา