backup og meta

อินซูลินคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 30/07/2022

    อินซูลินคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

    อินซูลินคืออะไร อินซูลิน คือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากตับอ่อน มีหน้าที่หลักในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยอินซูลินจะช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ดึงนำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน และช่วยนำน้ำตาลบางส่วนมาสำรองเก็บไว้ที่ตับ ดังนั้น หากร่างกายผลิตอินซูลินลดลงไม่เพียงพอระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นและทำให้เป็นโรคเบาหวานตามมา ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสมร่วมกับการออกกำลังกายและควบคุมอาหาร ซึ่งในบางกรณีอาจต้องใช้ยาฉีดอินซูลินร่วมด้วย เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากยิ่งค่าน้ำตาลในเลือดสูงมาก ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคไตเสื่อมจากเบาหวาน

    อินซูลินคืออะไร

    อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากเบต้าเซลล์ (Beta Cell) ในตับอ่อน มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยอินซูลินช่วยดึงนำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน และช่วยนำน้ำตาลบางส่วนมาสำรองเก็บไว้ที่ตับ ในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) ทั้งนี้ เพื่อรักษาสมดุลน้ำตาลให้เหมาะสม

    อินซูลิน กับโรคเบาหวาน

    เมื่อตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อย ๆ สูงขึ้น กระทั่งหากตรวจวัดรดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงเเล้ว ค่ามากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจถือได้ว่าอยู่ในระดับที่เรียกว่าเป็นโรคเบาหวาน

    โรคเบาหวานแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 3 ชนิด คือ

    • เบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ เนื่องจาก เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ร่างกายสร้างภูมิไปทำลายเบต้าเซลล์ที่ตับอ่อน จึงเป็นสาเหตุให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินหรือผลิตได้ใไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
    • เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้ราว 95 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดจากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือการที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เเม้จะมี อินซูลินเพียงพอในร่างกาย เเต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปเผาผลาญได้เหมาะสม จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะดื้อต่ออินซูลินนี้อาจเป็นผลจากปัจจัยต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น พันธุกรรม การไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน อายุที่มากขึ้น พฤติกรรมชอบบริโภคของหวานหรืออาหารคาร์โบไฮเดรตสูง
    • เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินที่ผิดปกติไปซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนฮิวแมนพลาเซนต้าแลกโตรเจน (Human placental lactogen-hPL) ที่สร้างจากรกหญิงตั้งครรภ์อาจเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ เเละความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้น เมืออายุครรภ์มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้มักเป็นเพียงชั่วคราวจะหายเองได้หลังคลอด อย่างไรก็ตามภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์นี้อาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพมารดาเเละทากรกระหว่างคลอดได้

    ทั้งนี้หากยิ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและเป็นเวลานานโดยไม่ควบคุมหรือปรับพฤติกรรมให้น้ำตาลในเลือดลดลง น้ำตาลส่วนเกิดนี้จะทำให้ผนังหลอดเลือดเสียหาย ผู้ป่วยเบาหวานจะยิ่งเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มากขึ้นเท่านั้น

    วิธีรักษาหรือดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวาน

    เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือเป็นโรคเบาหวาน มีวิธีรักษาและปรับพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้ดังนี้

  • การใช้อินซูลินยาฉีดอินซูลินในปัจจุบันมักเป็นรูปเเบบปากกาสำเร็จรูป สามารถฉีดได้ด้วยตนเองเข้าชั้นไขมันใต้ผิวหนังทีบริเวณหน้าท้อง เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยารับประทาน เเละ ผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • การรับประทานยาลดระดับน้ำตาล ซึ่งอาจมีทั้งยาก่อน และหลังอาหาร ทั้งนี้ ควรรับประทานยา ให้ตรงเวลาเเละสม่ำเสมออย่างเคร่งครัด
  • การควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารเเละเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน น้ำอัลม เน้นรับประทานอาหารจำพวกผักที่มีแป้งต่ำ เช่น บรอกโคลี แครอท มะเขือเทศ ธัญพืช
  • การออกกำลังกาย โดยเเนะนำให้ออกกำลังกายความเหนือยปานกลาง อย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือ 150 นาที/สัปดาห์ เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ การเต้นแอโรบิก ปั่นจักรยาน
  • การใช้อินซูลินเพื่อบรรเทาอาการโรคเบาหวาน

    เนื่องจากเมื่อตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานผลิตอินซูลินลดลงหรือไม่ได้เลย ร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับอินซูลินทดแทน เพื่อใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยอินซูลินสามารถแบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์เป็น 5 ประเภทได้เเก่

    • อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว (Rapid-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์ภายในไม่กี่นาทีหลังจากฉีด และออกฤทธิ์นาน 3-5 ชั่วโมง ควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 5-15 นาที เหมาะสำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร  มักใช้ร่วมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์นาน
    • อินซูลินออกฤทธิ์ปกติ/สั้น (Regular or Short-acting Insulin) จะเริมออกออกฤทธิ์หลังฉีดภายใน 30 นาที และออกฤทธิ์นานประมาณ 5-8 ชั่วโมง จีงควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 30 นาที เเละ เหมาะสำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารเช่นกัน
    • อินซูลินออกฤทธิ์ปานกลาง (Intermediate-acting Insulin) ออกฤทธิ์ภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังฉีด และออกฤทธิ์นาน 10-12 ชัวโมง จีงสามารถฉีดวันละ 1-2 ครั้ง มักใช้ฉีดร่วมกับอินซูลินออกฤทธิ์สั้น เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย
    • อินซูลินออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังฉีด และออกฤทธิ์ต่อเนื่องยาวนาน 24 ชั่วโมง จึงใช้ฉีดเพียงวันละ 1 ครั้ง เเละอาจใช้ร่วมกับอินซูลินออกฤทธิ์เร็วหรือบางครั้งใช้ร่วมกับยาเม็ดลดน้ำตาลได้เช่นกัน
    • อินซูลินแบบผสม (Premixed Insulin) เป็นอินซูลินรวมที่ผสมระหว่างอินซูลิน 2 ชนิดได้เเก่ ชนิดออกฤทธิ์เร็วหรือสั้นร่วมกับชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งหลังมื้ออาหารและระหว่างวัน ซี่งมักมีสัดส่วนเป็นตัวเลขเช่น 50/50 75/25 70/30 พ่วงตามหลังชื่อ โดยอินซูลินเเบบผสมนี้มักใช้วันละสองครั้ง คือ ก่อนอาหารมื้อเช้า เเละ ก่อนอาหารมื้อเย็น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 30/07/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา