backup og meta

เบาหวานมีกี่ชนิด มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล · โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 09/04/2023

    เบาหวานมีกี่ชนิด มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง

    เบาหวานมีกี่ชนิด เบาหวานสามารถแบ่งออกได้หลัก ๆ เป็น 4 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) ซึ่งเบาหวาน คือโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินที่ทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลเลือดสูงเป็นเวลานานและไม่ทำการรักษาโรคเบาหวาน อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนจำนวนมาก เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย รวมถึงความผิดปกติในระบบประสาท

    เบาหวานมีกี่ชนิด

    เบาหวาน แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะก่อนเบาหวาน และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 

    เบาหวานชนิดที่ 1

    เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ส่งผลให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น จนทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ รวมถึงโรคแทรกซ้อนตามมา โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในเด็กและวัยรุ่นมากกว่าในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงวัย 4-7 ปี และ 10-14 ปี นอกจากนี้เบาหวานชนิดที่ 1 อาจส่งต่อผ่านทางพันธุกรรม คือ หากมีพ่อหรือแม่เป็นโรคนี้มาก่อน อาจทำให้ลูกเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ได้

  • เบาหวานชนิดที่ 2

  • เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างเพียงพอ หรือในบางกรณีเกิดจากการดื้ออินซูลินของเซลล์ในกล้ามเนื้อ ไขมัน หรือตับ โรคเบาหวานชนิดนี้พบได้มากที่สุด หรือราว 95 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด โดยมักเกิดกับผู้อยู่ในวัยกลางคนหรือวัยชรา ผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาวหวาน เช่น ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย หรือผู้ที่มีความดันสูง ส่วนในเด็กมีแนวโน้มเกิดกับคนที่เป็นโรคอ้วน กลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ยังรวมถึงผู้มีน้ำหนักเกินหรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน 

    หมายถึง ภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่สูงพอวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของภาวะก่อนเบาหวานนั้นเหมือนกับเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้มีภาวะก่อนเบาหวานมักไม่ทราบว่าตัวเองเสี่ยงเป็นเบาหวาน ในขณะที่อาจมีโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานเกิดขึ้นในร่างกายแล้ว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต หากผู้มีภาวะก่อนเบาหวานไม่ปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิต อย่างการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมหรือออกกำลังกาย เพื่อระดับน้ำตาลกลับมาเป็นปกติ ก็อาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

    เกิดจากภาวะดื้ออินซูลินของเซลล์ในร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ อันเป็นผลมาจากฮอร์โมนที่ผลิตจากรก (Placenta) โรคเบาหวานชนิดนี้เกิดขึ้นได้ในทุกระยะของการตั้งครรภ์ และอาจสามารถหายเองได้หลังคลอด ทั้งนี้ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อครรภ์และสุขภาพของทารกได้ อย่างเช่นเพิ่มโอกาสเสียชีวิตก่อนหรือหลังคลอด รวมถึงเพิ่มโอกาสป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ให้ทารกในอนาคต

    นอกจากนี้ มารดาซึ่งเคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ยังเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังคลอดมากกว่าคนทั่วไป ปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ของโรคเบาหวานชนิดนี้ คล้ายกับของเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะก่อนเบาหวาน คือ มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ขาดการออกกำลังกาย มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น

    อาการของโรคเบาหวาน

    อาการของผู้ป่วยเบาหวานมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือด โดยอาการผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มีแนวโน้มรุนแรงและชัดเจนกว่าโรคเบาหวานชนิดอื่น ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะก่อนเบาหวาน และเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจไม่แสดงอาการใด ๆ ที่เด่นชัด ทั้งนี้ 

    อาการที่อาจพบในผู้ป่วยเบาหวานมีดังนี้

    • ปัสสาวะบ่อย
    • กระหายน้ำมากกว่าปกติ
    • หิวมากกว่าปกติ
    • อ่อนเพลีย
    • หงุดหงิดง่าย
    • แผลหายช้า
    • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • ปากแห้ง
    • พบการติดเชื้อบ่อย ๆ อย่างเช่นที่เหงือก ผิวหนัง หรือช่องคลอด
    • ความต้องการทางเพศที่ลดลง
    • ชาปลายมือปลายเท้า
    • ผิวแห้งมาก

    โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    การเป็นโรคเบาหวานในระยะยาวโดยไม่ได้รับการรักษา อาจนำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังนี้โรคในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง

    • ความผิดปกติของเส้นประสาท
    • การได้ยินที่แย่ลง
    • ความผิดปกติของจอตา
    • โรคอัลไซเมอร์
    • โรคซึมเศร้า
    • ภาวะสมองเสื่อม
    • การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
    • ภาวะครรภ์เป็นพิษ (ในกรณีของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์)

    การรักษาโรคเบาหวาน

    ในการรักษาโรคเบาหวาน คุณหมอจะรักษาคนไข้เบาหวานแต่ละประเภท ด้วยวิธีการที่ต่างกัน ดังนี้

    • เบาหวานชนิดที่ 1 คุณหมอจะฉีดอินซูลินให้ผู้ป่วย หรือให้อินซูลินผ่านเครื่องปั๊ม เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินเองได้ การรักษาจะทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย โดยคุณหมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยนับปริมาณคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันที่บริโภคต่อวัน เพื่อให้แน่ใจว่าสารอาหารที่ได้รับ จะไม่ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในเลือดมากเกินไป 
    • เบาหวานชนิดที่ 2 คุณหมอจะใช้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน ซึ่งมีหลายชนิด
    • ภาวะก่อนเบาหวาน คุณหมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เช่นเดียวกับของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 และ 2 รวมทั้งให้รับประทานยาเมทฟอร์มิน เพื่อป้องการไม่ให้ผู้ป่วยกลายเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2
    • โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณหมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยคอยตรวจระดับน้ำตาลในเลือด รับประทานอาหารที่เหมาะสมและออกกำลังกายที่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หรือเลือกฉีดอินซูลินให้ผู้ป่วยแทน

    การป้องกันโรคเบาหวาน

    ขณะนี้ยังไม่มีวิธีป้องกันโรคเบาหวาน แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้

    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น อาหารไขมันต่ำ มีเส้นใยอาหารสูง เน้นผัก -ผลไม้ หรือธัญพืชไม่ขัดสี
    • ออกกำลังกายประมาณ 30 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
    • ลดน้ำหนักส่วนเกิน (ยกเว้นในกรณีของหญิงตั้งครรภ์)
    • นอนหลับ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล

    โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช


    เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 09/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา