backup og meta

เบาหวาน ฉี่บ่อยแค่ไหน เกิดจากอะไร อันตรายไหม

เบาหวาน ฉี่บ่อยแค่ไหน เกิดจากอะไร อันตรายไหม

เบาหวาน ฉี่บ่อยแค่ไหน โดยทั่วไป ในหนึ่งวัน คนเป็นเบาหวานจะฉี่บ่อยมากกว่า 7-10 ครั้งขึ้นไป และอาจต้องลุกไปฉี่บ่อย ๆ ในตอนกลางคืน นอกจากนี้ ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดร่วมกับการฉี่บ่อย เช่น กระหายน้ำมากกว่าปกติ หิวบ่อย อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย ผิวแห้ง น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลตัวเองเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายได้

[embed-health-tool-bmr]

เบาหวาน ทำให้ฉี่บ่อยจริงหรือไม่

โรคเบาหวาน เมื่อเป็นแล้วจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมีปริมาณมากเกินไป ทำให้ไตไม่สามารถกรองน้ำตาลได้ทั้งหมด ร่างกายจึงขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ ทำให้ฉี่บ่อย นอกจากนี้ เนื่องจากน้ำตาลเป็นสารที่ละลายในน้ำ หมายความว่าน้ำตาลจะดึงน้ำออกจากเซลล์ไปเป็นน้ำปัสสาวะจากการออสโมซิสด้วย ส่งผลให้มีการผลิตน้ำปัสสาวะมากกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานฉี่บ่อยกว่าคนทั่วไป ทั้งยังทำให้กระหายน้ำมากขึ้นด้วยเพราะร่างกายขาดน้ำ อาการฉี่บ่อย จึงถือเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคเบาหวานและอาการของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่น ๆ

เบาหวาน ฉี่บ่อยแค่ไหน อันตรายไหม

คนส่วนใหญ่อาจฉี่วันละประมาณ 4-10 ครั้ง ในขณะที่หากดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร มักจะฉี่ประมาณวันละ 6-8 ครั้ง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานก็อาจจะฉี่บ่อยมากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะตอนกลางคืน ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรหมั่นสังเกตว่าตัวเองฉี่บ่อยเกินกว่าวันละ 7-10 ครั้งหรือไม่ โดยกติ อาการฉี่บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานถือว่าไม่อันตราย ในกรณีที่ไม่รุนแรงผู้ป่วยอาจฉี่ประมาณวันละ 3 ลิตรขึ้นไป และในกรณีรุนแรงก็อาจฉี่ได้มากถึงวันละ 20 ลิตร อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ และเกิดการติดเชื้อ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาทางป้องกันและรับมือ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ฉี่บ่อยไม่ได้หมายความว่าป่วยเป็นโรคเบาหวานเพียงอย่างเดียว บางครั้งอาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่ม อย่างน้ำ กาแฟ หรือชามากเกินไป หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพบางประการ เช่น การรักษาโรคความดันโลหิตสูงด้วยยารักษาที่ออกฤทธิ์ขับปัสสาวะ ปัญหาไตหรือกระเพาะปัสสาวะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเบาหวาน หากสังเกตเห็นอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมกับอาการฉี่บ่อย ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุต่อไป

อาการของโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานมักมีอาการมากน้อยต่างกันไป หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงร่างกายก็จะยิ่งแสดงอาการที่เด่นชัดมากขึ้น ซึ่งอาการของผู้ป่วยเบาหวานที่มักพบบ่อย มีดังนี้

  • ฉี่บ่อย
  • กระหายน้ำมากกว่าปกติ
  • น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
  • หิวบ่อย
  • มีสายตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย 
  • ผิวแห้ง
  • ติดเชื้อบ่อย เช่น ติดเชื้อบริเวณผิวหนัง ช่องปาก อวัยวะเพศ
  • มีอาการชาตามมือและเท้า
  • บาดแผลหายช้ากว่าปกติ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้

  • มีน้ำหนักมากกว่ามาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน
  • อายุ 45 ปีขึ้นไป
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานมาก่อน
  • เป็นผู้ที่ไม่ค่อยขยับร่างกาย อยู่กับที่เฉย ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง
  • มีภาวะก่อนเบาหวาน
  • เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรไปตรวจสุขภาพประจำปี รวมไปถึงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน หากตรวจพบโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายและควบคุมอาการของโรคให้ลดลงจนอยู่ในระยะสงบของโรค (Remission) ได้

หากมีอาการต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ

  • รู้สึกปั่นป่วนท้อง อ่อนเพลีย กระหายน้ำมาก
  • ฉี่บ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะในตอนกลางคืน
  • ปวดท้องมาก
  • หายใจเข้าลึกกว่าเดิมหรือเร็วกว่าปกติ
  • มีลมหายใจที่มีกลิ่นคล้ายน้ำยาล้างเล็บ (อาจเป็นสัญญาณว่ามีคีโตนสูง)

หากตรวจพบโรคเบาหวาน คุณหมอจะช่วยวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หาวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายต่อไป และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetes Symptoms | CDC. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/symptoms.html. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/symptoms.html. Accessed June 14, 2023

Early Signs and Symptoms of Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/guide/understanding-diabetes-symptoms. Accessed June 14, 2023

Diabetes. https://www.nhs.uk/conditions/diabetes/. Accessed June 14, 2023

Diabetes Risk Factors. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/risk-factors.html. Accessed June 14, 2023

Risk Factors for Type 2 Diabetes. https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/risk-factors-type-2-diabetes. Accessed June 14, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/07/2023

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ชาปลายนิ้วมือ เบาหวาน เกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไร

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 06/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา