backup og meta

โรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก (Monogenic Diabetes) เป็นภาวะกลุ่มหนึ่งของโรคเบาหวาน ซึ่งอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของพ่อแม่หรือความผิดปกติของยีนส์ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ ภาวะขาดน้ำ สำหรับวิธีการรักษาผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาโดยการฉีดฮอร์โมนอินซูลินเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม

คำจำกัดความ

โรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก คืออะไร?

โรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก เป็นประเภทของโรคเบาหวานที่พบได้ยาก เกิดจากความผิดปกติของยีนส์หรือกลายพันธุ์มาจากพ่อแม่ ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท หลัก ๆ คือ 

  • เบาหวานในทารกแรกเกิด (Neonatal Diabetes Mellitus: NDM) เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วง 6 เดือนแรกเกิด มีสาเหตุจากความผิดปกติของการพัฒนาตับอ่อน อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานตลอดชีวิต แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจเป็นภาวะนี้เพียงชั่วคราว และกลับมาเป็นอีกครั้งในช่วงวัยรุ่น 
  • เบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติของยีนส์ (Maturity-Onset Diabetes of the Young: MODY) เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงอายุ 25-35 ปี โดยการกลายพันธุ์นี้เกิดจากยีนที่ควบคุมการทำงานของตับอ่อนผิดปกติ

อาการ

อาการของโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก

ผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิกส่วนใหญ่มีอาการ ดังต่อไปนี้

  • ภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • ปัสสาวะบ่อย
  • กระหายน้ำ
  • ปากแห้ง
  • สายตาผิดปกติ เช่น เห็นภาพไม่ชัด สายตาพร่าวมัว 

สาเหตุ

สาเหตุของโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก

สาเหตุของโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิกส่วนใหญ่อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมจากพ่อหรือแม่ของทารก 

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก

ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก มีดังต่อไปนี้

  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
  • สมาชิกในครอบครัวมีประวัติทางสุขภาพเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานมาหลายช่วงอายุคน
  • ผู้ที่มีประวัติสุขภาพเกี่ยวกับโรคอ้วน
  • ภาวะอื่น ๆ ที่เกิดจากกลายพันธุ์ของยีน เช่น ซีสต์ในไต

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ได้โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยเบาหวานแบบโมโนเจนิก

คุณหมออาจวินิจฉัยโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิกเบื้องต้นด้วยการเก็บตัวอย่างเลือดมาตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงการตรวจทางพันธุกรรม หากเกิดการกลายพันธ์บนยีนด้อย แสดงว่ายีนนั้นได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ผิดปกติจากพ่อและแม่ คุณหมออาจวินิจฉัยว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก

การรักษาโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก

สำหรับวิธีการรักษาโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก อาจขึ้นอยู่กับสาเหตุของแต่ละบุคคล โดยส่วนใหญ่คุณหมออาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

ในผู้ป่วยบางรายคุณหมออาจแนะนำให้ฉีดอินซูลินหรือยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้น

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อจัดการกับโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก

การดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงโรคเบาหวานแบบโมโนเจนิก มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น อาหารมีเส้นใยอาหารสูง อาหารไขมันต่ำ ผักและผลไม้
  • ออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลางประมาณ 30 นาทีต่อวัน เช่น แอโรบิก
  • ลดน้ำหนักส่วนเกิน ด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Monogenic Diabetes (Neonatal Diabetes Mellitus & MODY). https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/what-is-diabetes/monogenic-neonatal-mellitus-mody.Accessed June 11, 2021

Monogenic Diabetes. https://www.hormone.org/diseases-and-conditions/diabetes/monogenic-diabetes.Accessed June 11, 2021

How is monogenic diabetes differentiated from type 1 diabetes mellitus (DM)?. https://www.medscape.com/answers/117739-42357/how-is-monogenic-diabetes-differentiated-from-type-1-diabetes-mellitus-dm.Accessed June 11, 2021

maturity onset diabetes of the young (mody). https://www.diabetes.org.uk/diabetes-the-basics/other-types-of-diabetes/mody.Accessed June 11, 2021

WHAT IS MONOGENIC DIABETES?.https://beyondtype1.org/what-is-monogenic-diabetes/.Accessed June 11, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/11/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการเบาหวานที่พบบ่อยในเด็ก สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความเสี่ยงสุขภาพที่คุณแม่ป้องกันได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/11/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา