backup og meta

สัญญาณโรคอ้วนในผู้ใหญ่ และสาเหตุที่ส่งผลให้น้ำหนักเกิน มีอะไรบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    สัญญาณโรคอ้วนในผู้ใหญ่ และสาเหตุที่ส่งผลให้น้ำหนักเกิน มีอะไรบ้าง

    โรคอ้วน นับว่าเป็นอีกโรคหนึ่งที่เราทุกคนควรระวัง โดยเฉพาะกับช่วงวัยผู้ใหญ่ เพราะไม่พียงแค่จะทำให้คุณมีน้ำหนักเพิ่ม หรือไขมันสะสมจำนวนมากแล้ว แต่ยังจะเป็นการก่อให้เกิดความเสี่ยงบางอย่างของโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น ได้อีกด้วย และเพื่อป้องกันตนเองห่างไกลจากสภาวะดังกล่าว วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำ สัญญาณโรคอ้วนในผู้ใหญ่ ที่คุณควรสังเกตมาฝากกันค่ะ

    สาเหตุที่ทำให้ช่วงวัยผู้ใหญ่มักเป็น โรคอ้วน

    ถึงแม้ว่า โรคอ้วน สามารถเกิดสืบทอดได้จากยีนทางพันธุกรรมในด้านระบบการเผาผลาญ ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัว แต่ขณะเดียวกันพฤติกรรมบางอย่างที่คุณเพิกเฉย ดังต่อไปนี้ นั้นก็ย่อมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สามารถทำให้คุณเสี่ยงเป็น โรคอ้วน ได้

    • ขาดการออกกำลังกาย เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายในระดับปานกลาง สามารถช่วยให้เผาผลาญแคลอรี่ส่วนเกินได้อย่างมาก โดยสิ่งที่คุณควรปรับเปลี่ยนคือ การเริ่มออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ ตามความชอบอย่างน้อย 30 นาที เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์
    • เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารจานด่วน เครื่องดื่มปริมาณน้ำตาลสูง เป็นต้น ก็ย่อมล้วนแต่ก่อให้เกิด โรคอ้วน ได้ทั้งสิ้น เนื่องจากขาดการควบคุมปริมาณไขมัน แคลอรี่ที่เหมาะสม จึงส่งผลให้คุณมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน พร้อมไขมันเกาะใต้ผิวหนังทั่วทั้งร่างกาย

    สัญญาณโรคอ้วนในผู้ใหญ่ ที่คุณควรรู้

    คุณจะทราบว่าตนเองกำลังเข้าสู่ โรคอ้วน ได้ก็ต่อเมื่อ คุณมีการวัดดัชนีมวลกาย แล้วพบว่ามีระดับตัวเลขสูงกว่ามาตรฐาน โดยการหาค่าดัชนีมวลกายนั้นสามารถคำนวณจากส่วนสูง และน้ำหนัก

    ยกตัวอย่าง ผู้ที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ส่วนสูง 1.65 เซนติเมตร สามารถตั้งตัวเลขตามได้ดังนี้ 70 ÷ (1.65) 2 = 25.71 (น้ำหนักเกิน)

    ผลลัพธ์ค่าดัชนีมวลกาย

    • ต่ำกว่า 18.5 = มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
    • 18.5 – 24.9 5 = น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
    • 25.0 – 29.9 = น้ำหนักเกิน
    • สูงกว่า 30.0 = โรคอ้วน

    นอกจากนี้คุณยังสังเกตตนเองได้จากการที่ร่างกายของคุณเริ่มมีไขมันเกาะใต้ผิวหนังตามจุดต่าง ๆ เช่น หน้าท้อง แขน ต้นขา สะโพก หรืออาจมีการสวมใส่เสื้อผ้าชุดเดิม ๆ ไม่ได้ รู้สึกคับ และแน่นมากขึ้นกว่าปกติที่เคยใส่ เป็นต้น

    วิธีแก้ไขปัญหา โรคอ้วนในผู้ใหญ่

    สิ่งแรกที่คุณควรทำนั่นคือการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน อย่างการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นเป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผัก ผลไม้ และไขมันที่ดี ก็จะสามารถทำให้คุณช่วยควบคุมน้ำหนักไปได้อีกระดับหนึ่ง

    แต่หากคุณมีข้อสงสัย หรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารนี้ สามารถเข้าขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักโภชนาการร่วมด้วยได้ เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจสอบร่างกาย และสุขภาพคุณ ก่อนแนะนำการวางแผนรับประทานอาหารที่เหมาะสมให้ หรืออาจมีการให้ยาลดน้ำหนักที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมด้วย เช่น ออริสแตท (Orlistat) เฟนเทอร์มีน (Phentermine) โทพิราเมท (Topiramate) บูโพรพิออน (Bupropion) นาลเทรกโซน (Naltrexone) และ ยาในรูปแบบฉีด ลิรากลูไทด์ (Liraglutide) ตามความเหมาะสมของสภาวะสุขภาพผู้ใหญ่แต่ละบุคคล

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา