backup og meta

ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียในปัสสาวะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียในปัสสาวะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียในปัสสาวะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คือ ภาวะที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีปริมาณอัลบูมินในในปัสสาวะสูงประมาณ 30-300 มิลลิกรัม/วัน หรือ 20-200 ไมโครกรัม/นาที โดยอัลบูมินเป็นโปรตีนขนาดเล็กที่ปกติพบได้ในเลือด ซึ่งหากปัสสาวะมีปริมาณอัลบูมินสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตได้

ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียในปัสสาวะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย (Microalbuminuria) คือ ภาวะที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะสูงประมาณ 30-300 มิลลิกรัม/วัน หรือ 20-200 ไมโครกรัม/นาที โดยอัลบูมินเป็นโปรตีนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีส่วนช่วยสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์และซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ปกติจะอยู่ในเลือด หากปัสสาวะมีปริมาณอัลบูมินสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคไตได้ 

โดยปกติ ไตที่มีหน้าที่กรองของเสียออกจากกระแสเลือด และควบคุมระดับของเหลวภายในร่างกาย หากไตถูกทำลาย อาจทำให้ไม่สามารถกรองของเสียออกหรือกักเก็บสารอาหารอย่างโปรตีนที่จำเป็นในเลือด เช่น อัลบูมิน  ส่งผลให้อัลบูมินเริ่มรั่วไหลลงมาในปัสสาวะ เมื่อปัสสาวะมีปริมาณอัลบูมินในปริมาณสูง อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการพัฒนาไปเป็นโรคไตจากเบาหวาน รวมถึงโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเมตาบอลิกซินโดรม

การทดสอบ ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย

การทดสอบภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย เป็นการทดสอบเพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนที่ไตในผู้ป่วยเบาหวาน โดยแบ่งการทดสอบออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้

  • การสุ่มตรวจปัสสาวะ (Random Urine Test)  คือ การสุ่มตรวจอัลบูมินจากปัสสาวะในเวลาใดเวลาหนึ่ง
  • การเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง (24-hour Urine Test) การตรวจตัวอย่างปัสสาวะที่เก็บไว้ 24 ชั่วโมง
  • การทดสอบตามกำหนดเวลา (Timed Urine Test) คุณหมอจะกำหนดช่วงเวลาในการเก็บปัสสาวะ เพื่อทำการทดสอบ เช่น ช่วงเช้า หรือหลังจากไม่ได้ปัสสาวะเป็นเวลา 4 ชั่วโมง 

การประเมินภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย

จากข้อมูลของสถาบัน National kidney Foundation ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า เกณฑ์การประเมิน ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย (หาระดับโปรตีนในปัสสาวะ) จากการทดสอบโดยการเก็บปัสสาวะเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ดังนี้

  • ผลการทดสอบพบว่าระดับโปรตีนน้อยกว่า 30 มิลลิกรัม แสดงถึงภาวะปกติ
  • ผลการทดสอบพบว่าระดับโปรตีนระหว่าง 30-300  มิลลิกรัม แสดงว่าเข้าข่าย ภาวะไมโครแอลบูมินนูเรีย บ่งบอกถึงสัญญาณเตือนของโรคไตในระยะเริ่มต้น
  • ผลการทดสอบพบว่าระดับโปรตีนมากกว่า 300  มิลลิกรัม แสดงว่าเข้าข่ายเป็นโรคไต

ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการทดสอบไมโครอัลบูมินนูเรียเป็นประจำทุกปี เพราะอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคไต ได้

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Microalbuminuria: Definition and Overview. https://www.diabetesselfmanagement.com/diabetes-resources/definitions/microalbuminuria/. Accessed April 23, 2021

Microalbuminuria in Type 2 Diabetes and Hypertension. https://care.diabetesjournals.org/content/31/Supplement_2/S194.Accessed April 23, 2021

Microalbuminuria, is it so important?. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2658722/. Accessed April 23, 2021

Albuminuria. (2016). kidney.org/atoz/content/albuminuria. Accessed April 23, 2021

Albuminuria: Albumin in the urine. (2016). niddk.nih.gov/health-information/health-topics/kidney-disease/proteinuria/Pages/facts.aspx#symptoms. Accessed April 23, 2021

Basi S, et al. (2008). Microalbuminuria in type 2 diabetes and hypertension. DOI: 10.2337/dc08-s249. Accessed April 23, 2021

Mayo Clinic Staff. (2017). Microalbumin test. mayoclinic.org/tests-procedures/microalbumin/about/pac-20384640. Accessed April 23, 2021

Urine albumin and albumin/creatinine ratio. (2018). labtestsonline.org/tests/urine-albumin-and-albumincreatinine-ratio. Accessed April 23, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/03/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเบาหวาน เพิ่มความเสี่ยงต้อหิน ได้อย่างไร

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความเสี่ยงสุขภาพที่คุณแม่ป้องกันได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 15/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา