สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันอย่างการออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก อาจช่วยลดการเกิดภาวะดื้ออินซูลินและส่งเสริมให้ร่างกายสามารถนำอินซูลินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
[embed-health-tool-bmi]
สาเหตุของภาวะดื้ออินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบบ่อยมากที่สุด เกิดจากสภาวะร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือเรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน โดยข้อมูลของสถาบันโรคเบาหวานและทางเดินอาหารและโรคไตแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ของภาวะดื้ออินซูลิน แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่า สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน โดยอ้างอิงจากการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) อยู่ที่ 25-29.9 รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้
- อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
- ขาดการออกกำลังกาย
- สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติของโรคเบาหวานชนิดที่ 2
- มีประวัติโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes)
- มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome : PCOS)
- ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ
- ปัญหาการนอนหลับ โดยเฉพาะภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด
- ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing Syndrome) และโรคอะโครเมกาลี (Acromegaly)
สัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงภาวะดื้ออินซูลิน
สัญญาณเตือนที่บ่งบอกถึงภาวะดื้ออินซูลิน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีดังต่อไปนี้
- ผู้ชายรอบเอวเกิน 40 นิ้ว และผู้หญิงรอบเอวเกิน 35 นิ้ว
- ผิวหนังดำคล้ำมีลักษณะคล้ายขี้ไคลบริเวณรอบ ๆ ด้านหลังคอ หรือที่เรียกว่า โรคผิวหนังช้าง (Acanthosis nigricans)
- ค่าความดันโลหิตสูงกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท
- ค่าระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารสูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ค่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดขณะอดอาหารสูงกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิต
- ระดับคอเลสเตอรอลไขมันดี (High Density Lipoprotein : HDL) ในผู้ชายน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิต และในผู้หญิงน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ดูแลตนเอง ลดความเสี่ยงภาวะดื้ออินซูลิน
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ดังต่อไปนี้