backup og meta

ผู้ป่วยเบาหวาน ออกกำลังกาย ด้วยการวิ่งได้หรือเปล่า

เขียนโดย แพทย์หญิงศุภรัศมิ์ ทวนนวรัตน์ · สุขภาพ · โรงพยาบาลบีเอ็นเอช


แก้ไขล่าสุด 19/03/2021

    ผู้ป่วยเบาหวาน ออกกำลังกาย ด้วยการวิ่งได้หรือเปล่า

    แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสิ่งที่ดีต่อ ผู้ป่วยเบาหวาน แต่ก็มีบางอย่างที่ควรทราบเกี่ยวกับ “การวิ่ง’ กับโรคเบาหวาน เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหลายสิ่งอาจเกิดขึ้นได้ ในขณะที่คุณกำลังวิ่ง หลายท่านจึงมักมีข้อสงสับว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถออกกำลังกาย ด้วยการวิ่งได้หรือเปล่า มีสิ่งใดที่ควรระวังเป็นพิเศษหรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ

    ผู้ป่วยเบาหวาน ออกกำลังกาย ด้วยการวิ่งได้หรือเปล่า?

    เป็นที่ทราบกันดีว่าร่างกายต้องการกลูโคสเพื่อสร้างพลังงาน และการออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานมาก ผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะระดับฮอร์โมนอินซูลิน (ฮอร์โมนที่ช่วยคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ผิดปกติ ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายผิดปกติไปด้วย

    เมื่อผู้ป่วยเบาหวานออกกำลังกายจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือด โดยถ้าออกกำลังกายแบบแอโรบิค มักเกิดอาการขาดน้ำตาล (Hypoglycemia) ในการสร้างพลังงาน หรือหากออกกำลังกายเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ (เวทเทรนนิ่ง) หรือการออกกำลังกายที่ออกแรงเป็นช่วง ๆ เช่น บาสเกตบอล แบดมินตัน ก็สามารถทาให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ได้

    การออกกำลังกายโดยการวิ่งเป็นการออกกำลังกายชนิดแอโรบิค จึงทำให้มีความเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงในระหว่างออกกำลังกาย นอกจากนี้ หลังจากหยุดออกกำลังกาย ก็จะมีภาวะน้ำตาลต่ำต่อเนื่องอีกหลายชั่วโมงด้วย ดังนั้น การเตรียมตัวเพื่อป้องกัน และจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดที่ผิดปกติ จึงมีความสาคัญและต้องทำอย่างทันท่วงที

    การวิ่งกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1

    ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 5-10 คนจากผู้ป่วยเบาหวาน 100 คน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ประสบปัญหาที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลิน หรือมีอินซูลินไม่เพียงพอในการจัดการกับน้ำตาลในเลือด เพื่อนำไปสร้างพลังงาน ดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จึงรู้สึกอ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ

    โดยทั่วไป หากวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ต่ำกว่า 90 mg/dL หรือสูงกว่า 270 mg/dL แนะนำให้งดออกกำลังกายก่อน และควรปรึกษาแพทย์

    ส่วนปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่กินก่อนออกกำลังกายนั้น แนะนำอยู่ที่ 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมหรือมากกว่า ขึ้นอยู่ระดับของการวิ่ง และระยะเวลาในการวิ่ง โดยทั่วไป ปริมาณที่ต้องการอยู่ที่ประมาณ 20-30 กรัมต่อการวิ่งเป็นเวลา 30-60 นาที

    หากวิ่งนานกว่านี้ควรกินเพิ่มทุก ๆ 30 นาทีตามความหนักของการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำมีหลายวิธีที่คุณสามารถเพิ่มพลังงานขณะที่วิ่งได้ เช่น การทานเจลพลังงาน สปอร์ตดริงค์ หรือสิ่งที่ให้พลังงานทันที อย่าลืมตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ความรู้สึก และความสามารถในการวิ่ง เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของโรคด้วย

    อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจจำเป็นต้องได้รับการปรับโดสของยาฉีดอินซูลินในวันที่ออกกำลังกาย ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลโรคเบาหวานของคุณด้วย

    การวิ่งกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2

    ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 90-95 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อต่าง ๆ ไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลิน จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น การเตรียมตัวเรื่องอาหารก่อนและขณะออกกำลังกาย จึงมึความสาคัญเช่นกัน

    การใช้ยาในการรักษาจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลได้ในระดับหนึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของยา ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเรื่องเบาหวาน เพื่อความปลอดภัยในการออกกำลังกาย

    หลังจากออกกำลังกายทุกชนิด ไม่ใช่แค่การวิ่งเท่านั้น ร่างกายจะมีระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำลงอีกหลายชั่วโมง รวมถึงช่วงที่นอนหลับด้วย ดังนั้น จึงควรรับประทานอาหารหลังจากออกกำลังกาย และในกรณี ผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 อาจจำเป็นต้องลดโดสยาฉีดอินซูลินลงอีกด้วย

    คำแนะนำเพิ่มเติม

    อย่างไรก็ตาม การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่ช่วยทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง และยังมีหลักฐานว่าช่วย ผู้ป่วยเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นด้วย หากคุณมีโรคเบาหวานเป็นโรคประจำตัว ก็สามารถเริ่มออกกำลังกายด้วยการวิ่งได้ แต่ต้องทำร่วมกับการควบคุมอาหารและพักผ่อนให้เพียงพอ

    ที่สาคัญคือ ผู้ป่วยแต่ละราย มักได้รับการรักษาด้วยยาต่างชนิดกัน จึงควรพบคุณหมอเพื่อขอรับคำแนะนำก่อนเริ่มออกกำลังกาย จะได้ปรับยา และวางแผนการวิ่งให้เหมาะสม เพื่อให้ปลอดภัย และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    เขียนโดย

    แพทย์หญิงศุภรัศมิ์ ทวนนวรัตน์

    สุขภาพ · โรงพยาบาลบีเอ็นเอช


    แก้ไขล่าสุด 19/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา