backup og meta

เบาหวาน ความดัน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เบาหวาน ความดัน เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เบาหวาน ความดัน นับเป็นภาวะที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมีนัยสำคัญ ผู้ป่วยเบาหวานนับว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าคนทั่วไป เเละในทางกลับกันผู้ที่มีความดันโลหิตสูงก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานได้ง่ายเช่นเดียวกัน ในเรื่องของ เบาหวานและความดัน มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร ผู้ที่เป็นเบาหวานและคนใกล้ชิดควรทำความเข้าใจ เพื่อที่จะเลือกเเละปรับการดูเเละสุขภาพให้เหมาะสมและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่น ๆ ในอนาคตได้

[embed-health-tool-bmi]

ความสัมพันธ์ระหว่าง เบาหวานกับความดันโลหิตสูง

โรคเบาหวาน เเละ ความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน โดยภาวะความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบร่วมได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน (​Insulin Resistance) หรือ ทั้งจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้เพียงพอ ส่งผลโดยรวมต่อหลอดเลือดทั่วทั้งร่างกายให้เสี่ยงต่อการที่มีผนังหลอดเลือดที่หนาขึ้นเเละยืดหยุ่นลดลง ทำให้รูของหลอดเลือดตีบเเคบลง จึงส่งผลให้เกิดภาวะดันโลหิตสูงนั่นเอง

นอกจากนี้เเล้ว โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มักเกิดขึ้นร่วมกัน เพราะมีปัจจัยเสี่ยงเหมือนที่เหมือน ๆ กัน เช่น การสูบบุหรี่ ภาวะน้ำหนักเกิน ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ดีต่อสุขภาพ  เป็นต้น ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงมีความเสี่ยงในการมีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย มากกว่าบุคลทั่วไป

ปัจจัยเสี่ยงของ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ปัจจัยเสี่ยงของ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีดังต่อไปนี้

อ่านต่อ

วิธีป้องกัน โรคความดันโลหิตสูง ในผู้ป่วยเบาหวาน

การปรับพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวันเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีส่วนช่วยลดความดันโลหิตในผู้ป่วยเบาหวานได้ โดยคุณหมอมักจะแนะนำให้ผู้ป่วยเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความดันโลหิตแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ รวมทั้งช่วยให้หัวใจแข็งแรงอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เเนะนำในด้านอื่น ๆ คือ

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • เลิกสูบบุหรี่ เเละ หลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ลดเค็ม ควมคุมโซเดียม ซึ่งอาจเทียบเป็น ปริมาณเกลือที่บริโภค ไม่ควรเกิน 1 ช้อนชาต่อวัน หรือ น้ำปลาไม่เกิน 1- 1.5 ช้อนโต๊ะต่อวัน
  • ไปพบคุณหมอตามนัดเป็นประจำ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสม เเละ ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

จะเห็นได้ว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็นที่พบร่วมกับโรคเบาหวานได้บ่อย ๆ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเเทรกซ้อนอื่น ๆ ที่รุนเเรงได้หากไม่ควบคุมระดับความดันให้ดี จึงควรใส่ใจดูแลสุขภาพอยู่เสมอเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อให้ยังคงมีสุขภาพเเละคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

The Link Between Diabetes, Hypertension and Cardiovascular Disease. https://hellodoctor.com.ph/diabetes/diabetes-and-heart-disease/. Accessed October 26, 2021.

The link between diabetes and hypertension. https://www.medicalnewstoday.com/articles/317220. Accessed October 26, 2021.

Diabetes and High Blood Pressure. https://www.webmd.com/diabetes/high-blood-pressure. Accessed October 26, 2021.

Diabetes and Hypertension: A Position Statement by the American Diabetes Association. https://care.diabetesjournals.org/content/40/9/1273. Accessed October 26, 2021.

Diabetes and blood pressure. https://www.diabetes.org.uk/guide-to-diabetes/managing-your-diabetes/blood-pressure. Accessed October 26, 2021.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/07/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ควบคุมเบาหวาน ไม่อยู่ อาจเสี่ยงเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือด

หลอดเลือดแข็ง ภาวะแทรกซ้อน ที่พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 14/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา