backup og meta

แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จริงหรือไม่?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 17/11/2021

    แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จริงหรือไม่?

    แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่มีหลากหลายสายพันธุ์ตามการเพาะปลูก สภาพแวดล้อมและการดูแล แอปเปิ้ล 1 ผล มีใยอาหาร คาร์โบไฮเดรตต่ำ สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยให้ปรับปรุงระบบย่อยอาหาร ลดคอเลสเตอรอล แต่สำหรับข้อสงสัยว่า แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหรือไม่ อาจจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

    แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรือไม่

    แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลในรูปแบบฟรุกโตส  (Fructose) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ และแตกต่างจากน้ำตาลทั่วไปที่นำมาใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหาร หรือขนมต่าง ๆ จากข้อมูลของ American Journal of Clinical Nutrition ในปี พ.ศ. 2560 พบว่า การรับประทานฟรุกโตสแทนการได้รับกลูโคสเข้าสู่ร่างกาย อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ดี ที่สำคัญแอปเปิ้ลยังมีเส้นใยอาหารถึง 4 กรัม ที่ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลป้องกันการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และอินซูลินได้

    การรับประทานแอปเปิ้ล

    ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถรับประทานได้แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม 182 กรัม หรือแอปเปิ้ล 1 ลูกขนาดกลาง อีกทั้งควรรับประทานควบคู่กับผลไม้ และผักชนิดอื่น ๆ ตามความชอบ จากดัชนีการวัดระดับของน้ำตาล ตั้งแต่ 0-100 คะแนน ซึ่งแอปเปิ้ลถูกจัดอยู่ใน 36 คะแนน ที่ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น จึงค่อนข้างปลอดภัยสำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ต้องการรับประทาน

    โภชนาการ ของแอปเปิ้ล มีอะไรบ้าง

    หากจะให้ได้รับปริมาณแอปเปิ้ลที่พอดี คุณควรรับประทานในปริมาณ 182 กรัม หรือแอปเปิลขนาดกลาง 1 ลูก เพราะเพียงแค่ลูกเดียวนั้นก็สามารถทำให้ร่างกายคุณได้รับสารอาหารต่าง ๆ มากมาย ดังต่อไปนี้

    ผลไม้อื่น ๆ ที่เหมาะสมสำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

    ไม่ใช่แอปเปิ้ลเท่านั้นที่จะเหมาะสำหรับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน แต่ยังมีผลไม้ชนิดอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ที่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ยังเลือกรับประทานได้อีกด้วย

    เพื่อเป็นการป้องกันตนเองอีกขั้นไม่ให้อาการของโรคเบาหวานกำเริบ คุณควรหมั่นเข้าตรวจสุขภาพเป็นประจำกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วย เพราะหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นเมื่อใด แพทย์จะได้เร่งดำเนินการหาวิธีรักษาอาการนั้น ๆ ก่อนลุกลามเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 17/11/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา