backup og meta

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย อาจเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ซึ่งอาจเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น ดวงตา เส้นประสาท หัวใจ และไต ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ 

[embed-health-tool-bmi]

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย 

ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะสามารถเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย รวมถึงในผู้ชายที่อาจมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดนี้ได้มากกว่าผู้หญิงเกือบ 2 เท่า จากวารสารวิชาการของ The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism ระุบุว่า ผู้ชายมีไขมันในช่องท้องมากกว่าผู้หญิง ซึ่งการมีไขมันหน้าท้องอาจทำให้มีความเสี่ยงสูงที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเมตาบอลิกได้ นอกจากการสะสมของไขมันยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกได้ ดังนี้

  • ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
  • โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง
  • รับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การสูบบุหรี่
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ 

แต่สำหรับผู้หญิงอาจมีเพียงการสะสมไขมันใต้ผิวหนังตามจุดเล็ก ๆ เช่น บริเวณขา และสะโพก เสียมากกว่า ถึงอย่างไรผู้หญิงก็อาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เช่นกันหากมีการดูแลตัวเองไม่ดี และยังอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้มากกว่าในผู้ชาย เช่น โรคหัวใจ โรคไต ภาวะซึมเศร้า และวิตกกังวล

อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย

อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย ที่พบได้บ่อย มีดังต่อไปนี้

  • รู้สึกหงุดหงิดง่าย
  • เหนื่อยล้าง่าย
  • มีความอยากอาหารเพิ่ม
  • น้ำหนักเพิ่ม หรือลดลงไม่มีสาเหตุ
  • คลื่นไส้
  • การมองเห็นเปลี่ยนแปลง เห็นเป็นภาพซ้อน
  • ผิวหนังติดเชื้อ และผิวหนังบางส่วนมีรอยคล้ำ โดยเฉพาะบริเวณข้อพับ
  • แผลที่เกิดขึ้นบนร่างกายอาจหายได้ช้า
  • มีอาการชาที่มือ และเท้า
  • ปัสสาวะบ่อย
  • สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลง
  • ฮอร์โมนเพศชายอยู่ในระดับต่ำ

ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย

  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจ
  • เส้นประสาทส่วนปลาย และเส้นประสาทอื่น ๆ ได้รับความเสียหาย
  • โรคไต
  • มีปัญหาของจอประสาทตา เสี่ยงต่อการตาบอด
  • ผิวหนังติดเชื้อ
  • โรคหลอดเลือดตีบ

ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถ ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้โดยการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย ด้วยการเข้าขอรับคำแนะนำจากคุณหมอเนื่องจากอาการที่ผู้ป่วยเป็น หรือระดับน้ำตาลในเลือดของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ทำให้การป้องกันอาจแตกต่างตาม ซึ่งคุณหมออาจวางแผนการออกกำลังกาย จำกัดแคลอรี่ในอาหาร และกำหนดยาให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รับประทานตามความเหมาะสมควบคู่กัน เช่น ยาลดระดับความดันโลหิต ยาลดคอเลสเตอรอล เพื่อช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ภาวะที่อาจก่อให้เกิดโรคเบาหวานขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Type 2 Diabetes.https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/what-is-diabetes/type-2-diabetes.Accessed August 26, 2021

Diabetes and Erectile Dysfunction.https://www.diabetes.co.uk/diabetes-erectile-dysfunction.html.Accessed August 26, 2021

Men and Type 2 Diabetes.https://www.webmd.com/men/guide/diabetes-men.Accessed August 26, 2021

How diabetes affects men vs. women.https://www.medicalnewstoday.com/articles/diabetes-affects-men-women.Accessed August 26, 2021

Diabetes Early Symptoms and Signs in Men.https://www.medicinenet.com/diabetes_symptoms_in_men/article.htm.Accessed August 26, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/08/2024

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ธัญพืชสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีอะไรบ้าง

กัญชารักษาเบาหวาน ได้จริงหรือไม่


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 21/08/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา