backup og meta

DM คือ อะไร การรักษา และการป้องกัน

DM คือ อะไร การรักษา และการป้องกัน
DM คือ อะไร การรักษา และการป้องกัน

DM หรือ โรคเบาหวาน จัดเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย หิวน้ำมาก หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด แผลหายช้า ตาพร่ามั่ว และติดเชื้อง่ายขึ้น ซึ่งหากไม่ควบคุมให้ดี โรคเบาหวานอาจลุกลามและรุนแรงจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้น การดูแลตัวเองจึงอาจเป็นวิธีช่วยป้องกันและบรรเทาอาการของโรคเบาหวานได้

[embed-health-tool-bmi]

DM คืออะไร

Diabetes Mellitus (DM) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ โรคเบาหวาน นับเป็นภาวะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ที่เป็นจะมีระดับน้ำตาลเลือดสูงกว่าปกติหรือตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป (เมื่อตรวจขณะที่อดอาหารมาแล้ว อย่างน้อย 8 ชั่วโมง) มีสาเหตุเนื่องมาจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาเพื่อจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้เพียงพอ ส่งผลให้น้ำตาลสะสมอยู่ในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ โรคเบาหวานยังสามารถเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินเป็นปกติ แต่เซลล์ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่องไป จึงทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักเพื่อผลิตอินซูลินออกมาเพิ่มมากขึ้น เพื่อยังคงให้เซลล์ยังสามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างเพียงพอ จนสุดท้ายตับอ่อนเกิดความเสียหายและเกิดเป็นโรคเบาหวานในที่สุด

DM มีกี่ชนิด

โรคเบาหวานอาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นโรคเบาหวานที่มักได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงช่วงวัยรุ่น สาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติไป สร้างภูมิไปทำลายเนื้อเยื่อตับของตนเอง จึงส่งผลให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักได้รับการวินิจฉัยในวัยผู้ใหญ่ โดยทั่วไปพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นี้เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน  อีกทั้งยังเป็นโรคเบาหวานที่พบได้มากที่สุดอีกด้วย โดยมีปัจจัยมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่ถูกต้อง เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูงบ่อย ๆ
  • ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นได้ในช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์เป็นต้นไป  ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากฮอร์โมนฮิวแมนพลาเซ็นตัลแลคโทเจน (Human Placental Pactogen หรือ HPL) ที่ผลิตขึ้นมาจากรกนั้นมีฤทธิ์ต้านกับฮอร์โมนอินซูลิน จึงส่งผลให้ร่างกายคุณแม่ไม่จัดการกับนำ้ตาลได้ตามปกติ ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักหายได้เองหลังคลอด แต่ยังคงอาจมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่มีอายุเท่า ๆ กันที่คุณแม่จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต

การป้องกัน DM

แม้ว่าโรคบาหวานชนิดที่ 1 จะไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติไป แต่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจป้องกันได้ ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นรับประทานผัก ผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ธัญพืช และอาหารที่มีเส้นใยสูง รวมถึงอาหารที่มีไขมันดี หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแปรรูป และอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันและน้ำตาลสูงซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูงได้ 
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยแนะนำให้ออกกำลังกายที่ความเหนื่อยระดับปานกลางประมาณอย่างน้อย 30 นาที/วัน เป็นระยะเวลา 5 วัน/สัปดาห์ หรือตั้งเป้าหมายให้ได้อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ เช่น เต้นแอโรบิก เดินเร็ว ว่ายน้ำ วิ่งเหยาะ ๆ เพื่อช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกินและลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ ยังช่วยส่งเสริมให้สุขภาพแข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย
  • ควบคุมน้ำหนักด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยควรมีค่าดัชนีมวลกายไม่ให้เกิน 22.9 และควบคุมมิให้ไขมันหน้าท้องสะสมมากเกินไป คือ รอบเอวไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตรในผู้ชาย และ 80 เซนติเมตรในผู้หญิง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะดื้ออินซูลินและการเกิดเบาหวานได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/symptoms-causes/syc-20371444#:~:text=Diabetes%20mellitus%20refers%20to%20a,of%20diabetes%20varies%20by%20type. Accessed March 9, 2023

Hyperglycemia in diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyperglycemia/diagnosis-treatment/drc-20373635. Accessed March 9, 2023

Diabetes Mellitus (DM). https://www.msdmanuals.com/home/hormonal-and-metabolic-disorders/diabetes-mellitus-dm-and-disorders-of-blood-sugar-metabolism/diabetes-mellitus-dm. Accessed March 9, 2023

Diabetes Mellitus. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK551501/. Accessed March 9, 2023

Types of Diabetes Mellitus. https://www.webmd.com/diabetes/guide/types-of-diabetes-mellitus. Accessed March 9, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/06/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยา ทา แผล เบาหวาน มีอะไรบ้าง และควรดูแลแผลเบาหวานอย่างไร

เป็น เบาหวาน ตอน ตั้ง ครรภ์ คลอด เอง ได้ ไหม


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 14/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา