backup og meta

HbA1c คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับเบาหวาน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล · โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    HbA1c คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับเบาหวาน

    HbA1c คือ การตรวจเลือดแบบหนึ่ง อ่านว่าฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1C) มีจุดประสงค์เพื่อให้ทราบระดับน้ำตาลสะสมในรอบ 2-3 เดือน โดยอาศัยโปรตีนบนเม็ดเลือดแดง ซึ่งการตรวจ HbA1C สามารถระบุได้ว่าใครมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวาน หรือกำลังเป็นโรคเบาหวาน และยังเป็นวิธีหนึ่งซึ่งคุณหมอใช้ตรวจเพื่อประเมินว่าแผนการรักษาโรคเบาหวานในคนไข้ของตนได้ผลหรือไม่

    ฮีโมโกลบินคืออะไร

    ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin หรือHb) คือโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยปกติเซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 3 เดือน ฮีโมลโกลบินทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อน้ำตาลกลูโคสถูกนำเข้ามาในกระแสเลือด จะจับตัวกับฮีโมโกลบิน ซึ่งการตรวจ HbA1c คือการวัดปริมาณกลูโคสที่อยู่ในฮีโมโกลบินและบอกระดับน้ำตาลสะสมเฉลี่ยในช่วง 2-3 เดือนได้

    HbA1c ต่างจากการตรวจน้ำตาลทั่วไปอย่างไร

    การตรวจน้ำตาลแบบทั่วไป (Fasting Plasma Glucose หรือ FPG) คือ การตรวจระดับกลูโคสในเลือด ซึ่งต้องเตรียมการตรวจโดยการอดอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนตรวจ ซึ่งถ้าหากมีค่าเกิน 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร มักจะเข้าข่ายการเป็นโรคเบาหวาน

    การตรวจ HbA1c มีหลายชื่อ บางครั้งเรียกว่า Glycated hemoglobin หรือ Glycosylated hemoglobin โดยการตรวจ HbA1C จะเป็นน้ำตาลที่สะสมในโปรตีนของเม็ดเลือดแดง จึงสามารถบอกระดับน้ำตาลในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือน ที่ผ่านมาได้

    ขั้นตอนการตรวจ

    ก่อนการตรวจ HbA1c ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ในการตรวจ คุณหมอจะเจาะเลือดที่แขน เพื่อนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ โดยผลตรวจจะทราบได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

    ค่า HbA1c บอกอะไรบ้าง

    ผลตรวจ HbA1c จะแสดงค่า HbA1c เป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนี้

    • 5% หรือสูงกว่า หมายถึง เป็นโรคเบาหวาน
    • 6% หรือต่ำว่า หมายถึง ปกติ ไม่มีความเสี่ยงเบาหวาน
    • 6.4-7%  หมายถึง มีแนวโน้มเป็นเบาหวาน หรืออยู่ในภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes)

    ตามคำแนะนำของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยเบาหวาน ควรดูแลตัวเองให้ค่า HbA1c ไม่เกิน 7 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ จากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ความผิดปกติของจอตา โรคอัลไซเมอร์ โรคซึมเศร้า การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

    กรณีค่า HbA1c ของผู้ป่วยเบาหวานสูงกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ อาจหมายถึงผู้ป่วยเบาหวานขาดการรักษามาเป็นเวลานาน หรือวิธีการรักษาไม่ได้ผล หากเป็นอย่างหลัง คุณหมอจะปรับแผนการรักษา เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

    ส่วนในกรณีที่พบว่าตัวเองเสี่ยงเป็นเบาหวาน หรือเป็นเบาหวานจากการตรวจ HbA1c จำเป็นต้องรีบปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาทางรักษาหรือป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงกว่าเดิม

    ควรตรวจ HbA1c บ่อยแค่ไหน

    โดยปกติ คุณหมอจะให้คนไข้ตรวจ HbA1c เมื่อคุณหมอวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นเบาหวาน หรือมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานจะได้รับคำแนะนำให้ตรวจติดตามทุก 6 – 12 เดือน เพื่อให้ทราบถึงภาวะเบาหวานในร่างกาย

    อย่างไรก็ตาม ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า ชาย-หญิงอายุมากกว่า 45 ปี ควรเข้ารับการตรวจ HbA1c เพื่อประเมินว่าเสี่ยงเป็นเบาหวานหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากผลตรวจเป็นปกติ  ควรตรวจซ้ำทุก 3 ปี และหากพบว่าแนวโน้มเป็นโรคเบาหวาน ควรตรวจซ้ำทุก 1 หรือ 2 ปี หรือปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาวิธีลดความเสี่ยงเป็นเบาหวาน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    นายแพทย์กมล โฆษิตรังสิกุล

    โรคเบาหวาน · โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช


    เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 31/01/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา