สอนการบ้านทีไร ให้เขียน ให้สะกดคำ ไม่ยอมเขียน ไม่ยอมทำเลยคะ บอกเเค่ว่าทำไม่เป็น ทำไม่ได้ ก็นั่งร้องไห้ แล้วก็ไม่ยอมทำด้วยนะคะ บอกให้เขียนตามที่เรา
... ดูเพิ่ิ่มเติมหลานคนเล็กกำลังจะกลายเป็นเด็กอ้วน แล้วติดมือถือครับ
อยากถามคุณหมอว่า หลานผมคนเล็ก ตอนนี้กินเยอะ ติดติ๊กตอก ชอบกินพวกไก่กอด มันฝรั่งทอด ติดมือถือ แล้วเวลาห้ามก้อ ร้องไห้รุนแรง อยากถามคุณหมอว่า เราควรมีจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนพฤติกรรมนี่ อย่างไร เพื่อให้หลานคนนี้ ไม่กลายเป็นเด็กที่อ้วนมากเกินไปแล้ว เลิกติดมือถือครับ
1 ความเห็น
ล่าสุด
พอดีคุณอาไม่ได้บอกอายุน้องมา มีการจัดการต่างกันนิดหน่อยในเด็กเล็ก และเด็กโตจะเข้าวัยรุ่นค่ะ
หากเป็นเด็กวัย 5-9 ปี ก็เริ่มมีการเข้าใจเหตุผลแล้ว ทำข้อตกลงง่ายๆ ได้แล้ว ก็อาจจะตกลงกัน เช่น วันจันทร์-ศุกร์ เราจะทำกิจกรรมอื่นๆ นอกจากเล่น Tiktok เช่น ชวนกันขี่จักรยาน ไปว่ายน้ำ ช่วยกันปลูกต้นไม้ ทำอาหารด้วยกัน จะอนุญาตเล่น Tiktok ได้ แค่ช่วงวันหยุด อะไรแบบนี้นะคะ
การทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยกัน นอกจากน้องได้ออกกำลังกายแล้ว ยังเสริมความสัมพันธ์ และส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ดีด้วยค่ะ
ส่วนเรื่องอาหารการกิน ผู้ใหญ่ต้องเป็นตัวอย่างให้น้องด้วยค่ะ เพราะถ้าเด็กเล็ก มักทำอาหารเองไม่ได้ ต้องให้ผู้ปกครองจัดการ เพราะฉะนั้นอาหารทำให้หลากหลาย ครบโภชนาการ แต่หน้าตาต้องน่าทานด้วย เช่น แทนที่จะเป็นไก่ทอด ก็อาจทำอกไก่อบ หรือทำปลาทอดทานเอง โดยใส่น้ำมันไม่เยอะ อาหารประเภทต้ม ก็ช่วยควบคุมน้ำหนักได้ เช่นต้มจืดไข่น้ำ ใส่ผักสีสวยๆ ทานกับข้าวกล้อง ให้น้องช่วยทำด้วยก็ได้ค่ะ เค้าจะได้อยากทานของที่ทำเอง งดขนมกรุบกรอบ เน้นให้ทานผลไม้ไฟเบอร์สูงแทน ช่วยลดแคลอรี่ได้ค่ะ ลองอ่านโภชนาการสำหรับเด็ก ดูนะคะ
ส่วนเรื่องติดมือถือ เป็นปัญหาที่พบบ่อยมากค่ะ เพราะตอนนี้บางบ้านมีมือถือให้ทุกคนรวมถึงเด็กด้วย ถ้าเป็นไปได้ เด็กเล็ก ให้พกมือถือที่เอาไว้โทรหาคุณพ่อคุณแม่ก็พอค่ะ ไม่ควรเป็นแบบมี application มากมาย / กรณีน้องใช้ smart phone ไปแล้ว อันนี้จะห้ามยากนะคะ แนะนำให้ใช้การตกลงกัน ว่าในช่วงเวลากลับจากโรงเรียน ให้ทำการบ้าน และกิจกรรมต่างๆ ก่อน เช่น ทานข้าว ออกกำลังกาย ใช้เวลาร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ โดยปิดโทรศัพท์มือถือในระหว่างทำกิจกรรมต่างๆค่ะ (ผู้ใหญ่ก็ต้องเป็นตัวอย่างด้วยนะคะ)
กรณีน้องอายุ 10 ปีขึ้นไป มักเข้าช่วงวัยรุ่นแล้วค่ะ การจัดการอาจจะยากกว่านิดหน่อย ต้องใส่กติการเข้าไป โดยการตกลงกันให้ดี ทำสัญญาใจ วัยนี้มักเชื่อเพื่อนมากกว่าผู้ปกครอง ส่วนหนึ่งคือกลุ่มเพื่อนมักมีพฤติกรรมเดียวกัน เราจึงควรคุยกับวัยรุ่นแบบเปิดใจ รับฟัง หาจุดสมดุลที่น้องจะปฏิบัติตามได้โดยไม่อึดอัดใจ ไม่ใช้การบังคับ ใช้การชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสีย และให้น้องปรับพฤติกรรมตนเองโดยสมัครใจค่ะ
hellokhunmor.com