backup og meta

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ภาวะความดันลูกตาสูง

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ภาวะความดันลูกตาสูง

ภาวะความดันลูกตาสูง (Ocular Hypertension) เป็นภาวะที่มีความดันตา (intraocular pressure) สูงกว่าระดับปกติ  ความดันลูกตามีหน่วยเป็น มิลลิเมตรปรอท (mmHg)โดยระดับความดันตาปกติจะอยู่ที่ 10-21 มิลลิเมตรปรอท ภาวะความดันลูกตาสูงเกิดขึ้นเมื่อความดันตาสูงกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท

การวัดความดันตามีหลายวิธี โดยทั่วไปในคลินิกหรือโรงพยาบาล จะใช้การเครื่องมือที่เรียกว่า Noncontact tonometer ซึ่งเป็นการวัดความดันตา โดยการเป่าลมไปที่กระจกตาของผู้ป่วย เป็นการ screening เเละไม่มีส่วนของเครื่องมือมาสัมผัสตา ซึ่งลดโอกาสติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม การวัดความดันตาที่เป็นวิธีมาตรฐาน เรียกว่า Goldmann applanation จะวัดโดยจักษุเพทย์ บทความดังต่อไปนี้ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะนี้

สาเหตุของภาวะความดันลูกตาสูง      

ภาวะสมดุลของความดันตา เกิดจากการที่ลูกตาสร้างของเหลวใส (aqueous humor)ในช่องหน้าลูกตา สมดุลกับการไหลเวียนออกนอกตา ในภาวะความดันลูกตาสูง เกิดจากการความผิดปกติของการไหลเวียนออกของน้ำในลูกตา ทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น นอกจากนี้อาจเกิดจากอุบัติเหตุ โรคตาบางประเภท หรือการใช้ยาบางอย่าง เช่น สเตียรอยด์ ถ้าความดันตาสูงกว่าภาวะปกติมาก หรือคงอยู่นาน จะส่งผลให้มีความผิดปกติของเส้นประสาทตา เเละกลายเป็นโรคต้อหินได้

อาการของภาวะความดันลูกตาสูง

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะความดันลูกตาสูง อาจไม่เกิดอาการใดๆ จึงเป็นสาเหตุที่ต้องเข้ารับการตรวจตาจากจักษุแพทย์ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของเส้นประสาทจากความดันสูง

เหนือสิ่งอื่นใด การตรวจตาเป็นสิ่งที่สำคัญเร่งด่วนสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุและคนผิวสี

  • สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการและอายุต่ำกว่า 40 ปี ควรตรวจตาอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกๆ สามถึงห้าปี
  • สำหรับคนผิวสีหรืออายุมากกว่า 40 ปี ควรตรวจตาทุกปี
  • สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับอาการต้อหิน เช่น มีคนในครอบครัวเป็นต้อหิน ควรตรวจตาอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาภาวะความดันลูกตาสูง

เมื่อมีภาวะความดันตาสูง จักษุเพทย์จะเเนะนำให้ตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การวัดความหนากระจกตา การตรวจลานสายตา เเละการตรวจวัดความหนาเเน่นเส้นประสาทตา เพื่อตรวจว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นต้อหินหรือไม่ ถ้าพบว่าลานสายตา เเละ/หรือ ความหนาเน่นเส้นประสาทตาผิดปกติ เข้าได้กับการวินิจฉัยต้อหิน จะทำการรักษาโดยการหยอดยาลดความดันตา

ถ้าในกรณีของภาวะความดันตาสูงเพียงอย่างเดียวเเละยังไม่เป็นต้อหิน จักษุแพทย์จะทำทำการตรวจติดตามอาการ หรือรักษานั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของจักษุเพทย์ โดยพิจารณาเป็นรายๆ ไป (ส่วนใหญ่นั้นพิจารณาจากค่าระดับความดันตาว่า สูงมากน้อยเท่าไหร่ ถ้าสูงมากกว่า 25 mmHg มีเเนวโน้มให้ยาหยอดตา เพื่อลดความดันตา เเละความสามารถของผู่ป่วยที่จะติดตามการรักษา ตามที่จักษุเเพทย์นัดหมาย)

จุดประสงค์หลักของการรักษาคือ การลดความดันตาลงก่อนจะกลายเป็นต้อหิน กล่าวคือสูญเสียการมองเห็น ผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับเส้นประสาทตาเสื่อม หรือมีความเสี่ยงสูงในการเกิดต้อหิน จำเป็นต้องรับการรักษาทางการแพทย์

คุณสามารถเข้ารับการรักษาอาการจากจักษุแพทย์ แพทย์จะทำการสั่งยาตามอาการของคุณ หลังจากปรึกษาแพทย์แล้ว แพทย์จะตัดสินใจถึงข้อดีและข้อเสียของวิธีการรักษา และเฝ้าติดตามอาการของคุณ

การป้องกันการเกิดภาวะความดันลูกตาสูง

ภาวะความดันลูกตาสูงไม่สามารถป้องกันได้ แต่เมื่อมีการตรวจตาโดยจักษุแพทย์แล้ว การดำเนินของอาการต้อหินสามารถป้องกันได้

ภาวะความดันลูกตาสูงถือเป็นความเสี่ยง หากคุณไม่ป้องกันดวงตา จากปัจจัยที่ทำให้เกิดอันตราย ข้อมูลข้างต้น จะช่วยให้คุณเข้าใจและรับมือกับภาวะนี้ได้

ข้อคิดจากคุณหมอ

ต้อหินเป็นโรคที่ทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร เเต่สามารถป้องกันได้โดยการใส่ใจสุขภาพตา วัดความดันตาทุกปี ภาวะความดันตาสูงเป็นภาวะเสี่ยงของต้อหิน ควรติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิดโดยจักษุเพทย์

 

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Ocular Hypertension. http://www.webmd.com/eye-health/occular-hypertension#1 Accessed on March 14, 2017

Medical interventions for primary open angle glaucoma and ocular hypertension. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0011862/ Accessed on March 14, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงฉันทกา สุปิยพันธุ์

อัปเดตโดย: pimruethai


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตาแพ้แสง อาการ สาเหตุ การรักษา

ดวงตา ความสำคัญและโรคที่ควรระวัง


เขียนโดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงฉันทกา สุปิยพันธุ์

จักษุวิทยา · คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช


แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา