เครื่องมือเพื่อสุขภาพ
เครื่องมือค้นหา วัคซีนผู้ใหญ่ ออนไลน์
แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งตับ ออนไลน์
แบบทดสอบ คุมโรคเบาหวาน ออนไลน์ - Hello คุณหมอ
แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งรังไข่ ออนไลน์ - Hello คุณหมอ
แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งปอด ออนไลน์ - Hello คุณหมอ
แบบประเมินความเสี่ยง มะเร็งมะเร็งลำไส้ใหญ่ ออนไลน์ - Hello คุณหมอ
บทความโดดเด่น
ดูเพิ่มเติมเครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพนี้ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์แต่อย่างใด แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ อย่าละเลยคำแนะนำของแพทย์เพียงเพราะสิ่งที่คุณได้อ่านใน Hello คุณหมอ เท่านั้น หากคุณเป็นโรคการกินผิดปกติ ก็ไม่สามารถใช้เครื่องคำนวณ BMI เพื่อตรวจเช็กสุขภาพได้ โปรดรับคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ดัชนีมวลกาย (BMI) คือ ค่าที่ได้จากการประเมินน้ำหนักตัวและส่วนสูง โดยอาจได้จากการใช้ เครื่องคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย นับเป็นเครื่องมือในการประเมินค่าไขมันในร่างกายและน้ำหนักตัวของแต่ละบุคคลว่า น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ น้ำหนักตามเกณฑ์ น้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วน
คุณสามารถตรวจสอบค่าดัชนีมวลกายของคุณได้ด้วยการคำนวณน้ำหนักตัวและส่วนสูง สำหรับผู้ใหญ่ ให้ใช้น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (ตารางเมตร) ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือดัชนีมวลกายของคุณ
ดัชนีมวลกายผู้ใหญ่
การทราบค่าดัชนีมวลกายของตัวเอง จะช่วยให้คุณรักษาสัดส่วนไขมันในร่างกายให้อยู่เกณฑ์ที่เหมาะสมกับส่วนสูงของคุณได้ อีกทั้ง ดัชนีมวลกาย ยังเปรียบเสมือนสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งบอกได้ว่า คุณเสี่ยงเกิดโรค เช่น ภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือไม่ การมีค่าดัชนีมวลกายตามเกณฑ์เป็นหนทางสู่การมีสุขภาพดีขึ้น และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขขึ้น
การสังเกตค่าดัชนีมวลกายของคุณเป็นประจำ จะช่วยให้คุณและผู้ดูแลสุขภาพของคุณสามารถคัดสรรวิธีดูแลสุขภาพได้เหมาะสมกับคุณที่สุด
ดัชนีมวลกาย จัดเป็นเครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพรูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยให้ผู้ดูแลสุขภาพประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของคุณในเบื้องต้น และทำการวินิจฉัยโรคตามขั้นตอนทางการแพทย์ต่อไปได้
เราไม่สามารถใช้ค่าดัชนีมวลกายเป็นตัวตัดสินได้ว่าแต่ละคนอ้วน ผอม หรือสุขภาพดีเพียงใด ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จะต้องประเมินปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การวัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง การประเมินรูปแบบการรับประทานและการออกกำลังกาย ประวัติสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว
หากคุณมี ดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 30.0 ขึ้นไป นั่นหมายถึง คุณเข้าข่ายเป็นโรคอ้วน ซึ่งสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากมาย ผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เป็นโรคอ้วน ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมากมาย เช่น
หากคุณมีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 นั่นหมายถึง คุณมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์สุขภาพดี มักก่อให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้มากมาย ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้ที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เช่น
ถึงแม้ค่าดัชนีมวลกายจะเชื่อมโยงกับสัดส่วนไขมันในร่างกาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนที่มีค่าดัชนีมวลกายเท่ากัน จะต้องมีสัดส่วนไขมันในร่างเท่ากันเสมอไป
สัดส่วนไขมันในร่างกายของคนเราจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ลักษณะโครงสร้างหรือประเภทของรูปร่าง อายุ เพศ มวลกล้ามเนื้อในร่างกาย แม้ดัชนีมวลกายจะเท่ากัน แต่หากเป็นนักกีฬาก็จะมีไขมันในร่างกายน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นนักกีฬา ผู้สูงอายุจะมีไขมันในร่างกายมากกว่าคนวัยอื่น และผู้หญิงมักมีไขมันในร่างกายมากกว่าผู้ชาย
ผู้ดูแลสุขภาพที่ผ่านการฝึกอบรมจะทราบดีว่า การประเมินสภาวะสุขภาพหรือความเสี่ยงด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล ควรอาศัยวิธีที่เหมาะสมกับบุคคลนั้น ๆ
What is the body mass index (BMI)? https://www.nhs.uk/common-health-questions/lifestyle/what-is-the-body-mass-index-bmi/. Accessed July 12, 2021.
About Adult BMI. https://www.cdc.gov/healthyweight/assessing/bmi/adult_bmi/index.html#Used. Accessed July 12, 2021.
About Child & Teen BMI. https://www.cdc.gov/healthyweight/assessing/bmi/childrens_bmi/about_childrens_bmi.html. Accessed July 12, 2021.
ภาวะนํ้าหนักเกินในเด็กไทย. https://med.mahidol.ac.th/nursing/jns/DocumentLink/2555/issue_03/02.pdf. Accessed July 12, 2021.
Obesity. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/obesity/symptoms-causes/syc-20375742. Accessed July 12, 2021.