backup og meta

น้ำมันปลา (Fish Oil)

น้ำมันปลา (Fish Oil)

ข้อบ่งใช้ น้ำมันปลา

น้ำมันปลา ใช้สำหรับ

น้ำมันปลา (Fish Oil) สามารถรับได้จากการบริโภคปลา หรือรับประทานอาหารเสริม โดยน้ำมันปลามักจะใช้เพื่อประโยชน์ต่ออาการทางสุขภาพ ดังต่อไปนี้

  • อาการระดับไตรกลีเซอไรด์สูง
  • โรคหัวใจ
  • ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด หลังจากการผ่าตัดขยายเส้นเลือด (Angioplasty) ซึ่งเป็นกระบวนการเพื่อเปิดหลอดเลือดที่อุดตันอยู่
  • การแท้งในผู้หญิงตั้งครรภ์ ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune disease) ที่เรียกว่า กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (antiphospholipid syndrome)
  • โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder) ในเด็ก
  • โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder)
  • น้ำหนักลดที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง
  • การผ่าตัดหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (Coronary artery bypass surgery)
  • ความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุมาจากยาไซโคลสปอริน (Cyclosporin)
  • ไตเสียหายเนื่องจากยาไซโคลสปอริน (Cyclosporin)
  • ความบกพร่องในการประสานสัมพันธ์ของร่างกาย (Developmental Coordination Disorder)
  • อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea)
  • การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หรือโรคสมองกับกล้ามเนื้อไม่สัมพันธ์กัน (dyspraxia)
  • มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • หัวใจล้มเหลว
  • การปลูกถ่ายหัวใจ
  • คอเลสเตอรอลผิดปกติเนื่องจากการรักษาเอชไอวี/เอดส์
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคไตบางชนิดที่เรียกว่าโรคไตอักเสบชนิดไอจีเอ (IgA Nephropathy)
  • กระดูกอ่อนแอ หรือโรคกระดูกพรุน (osteoporosis)
  • โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
  • โรคจิต (Psychosis)
  • คอเลสเตอรอลผิดปกติหลังจากปลูกถ่ายไต
  • โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

การทำงานของ น้ำมันปลา

ยังไม่มีงานวิจัยเพียงพอเกี่ยวกับการทำงานของอาหารเสริมชนิดนี้ โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชิ้นได้แสดงให้เห็นว่า

  • ประโยชน์ของน้ำมันปลา มาจากส่วนประกอบที่เป็นกรดไขมันโอเมก้า 3 เรื่องที่น่าประหลาดใจก็คือ ร่างกายของเราไม่สามารถผลิตกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้เอง และไม่สามารถผลิตกรดไขมันโอเมก้า 3 จากกรดไขมันโอเมก้า 6 ซึ่งพบได้มากในอาหารทางฝั่งตะวันตก
  • กรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยลดอาการปวดและบวม ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมน้ำมันปลาถึงได้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคสะเก็ดเงินและตาแห้ง กรดไขมันเหล่านี้ยังช่วยป้องกันการก่อตัวของลิ่มเลือด ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้น้ำมันปลามีประโยชน์สำหรับอาการโรคหัวใจบางชนิด

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ น้ำมันปลา

ปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรในกรณีดังต่อไปนี้

  • หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร คุณควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมไปถึงยาที่คุณกำลังใช้ ซึ่งสามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • หากคุณมีอาการแพ้สารใดๆ ในน้ำมันปลา ยาอื่นๆ หรือสมุนไพรอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการเจ็บป่วยอื่นใด มีความผิดปกติ หรือมีอาการโรคใดๆ
  • หากคุณมีอาการภูมิแพ้อื่นๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์

ข้อบังคับในการใช้อาหารเสริมนั้น มีเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับในการใช้ยา ยังต้องการงานวิจัยอีกมากเพื่อบ่งชี้ความปลอดภัย ประโยชน์ของอาหารเสริมนี้จะต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนที่จะใช้งาน โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยของน้ำมันปลา

น้ำมันปลานั้นปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ หากรับประทานในขนาดต่ำ (3 กรัมต่อวัน หรือน้อยกว่านั้น) และมีความกังวลบางประการในเรื่องความปลอดภัย หากรับประทานน้ำมันปลาในปริมาณสูง ซึ่งการรับประทานน้ำมันปลาในปริมาณสูงอาจช่วยลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ลดความสามารถในการต่อสู้กับการติดเชื้อของร่างกาย มีความกังวลเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่รับประทานยานี้ เพื่อลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายอวัยวะ) และผู้สูงอายุ

  • การรับประทานน้ำมันปลาในปริมาณสูงนั้นควรทำภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
  • น้ำมันปลาจะปลอดภัยหากฉีดเข้าทางหลอดเลือดในระยะเวลาสั้นๆ มีการใช้สารละลายน้ำมันปลา หรือกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างปลอดภัย ในระยะเวลาประมาณ 1 ถึง 4 สัปดาห์
  • เด็ก: น้ำมันปลาจะปลอดภัยหากเป็นการรับประทาน
  • ผู้ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร: น้ำมันปลานั้นจะปลอดภัยหากเป็นการรับประทาน

การบริโภคน้ำมันปลาในปริมาณมาก จากแหล่งของสารอาหารนั้นอาจจะไม่ปลอดภัยได้ เนื้อปลาบางชนิด (โดยเฉพาะ ฉลาม ปลาคิงแมกเคอเรล และปลาแซลมอนแบบเลี้ยงในฟาร์ม) อาจปนเปื้อนสารปรอทและสารเคมีจากอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม อาหารเสริมน้ำมันปลามักจะไม่มีสารปนเปื้อนเหล่านี้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้น้ำมันปลา

ผลข้างเคียงจากการรับประทานน้ำมันปลาที่สามารถสังเกตได้ชัดเจน อาจมีดังนี้

การรับประทานอาหารเสริมน้ำมันปลาพร้อมกับอาหาร หรือแช่แข็งยาก่อนรับประทาน มักจะสามารถลดผลข้างเคียงเหล่านี้ได้

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยาต่อน้ำมันปลา

ยานี้อาจมีปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้ หรืออาการทางโรคอื่นๆ ของคุณ ควรปรึกษากับแพทย์สมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้ยา

สภาวะโรคต่อไปนี้อาจมีปฏิกิริยาต่อยาตัวนี้ เช่น

  • โรคอารมณ์สองขั้ว
  • โรคตับ
  • โรคซึมเศร้า
  • โรคเบาหวาน
  • โรคมะเร็งจากการมีติ่งเนื้อมากในลำไส้ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Familial adenomatous polyposis)
  • ความดันโลหิตสูง
  • เอชไอวี/เอดส์ และโรคอื่นๆ ที่การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
  • เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า (implanted defibrillator) การผ่าตัดฝังอุปกรณ์ เพื่อป้องกันหัวใจเต้นผิดปกติ
  • โรคภูมิแพ้ปลาและอาหารทะเล

ยาที่อาจมีปฏิกิริยาต่อยาตัวนี้คือ

  • ยาเม็ดคุมกำเนิด อาจลดประสิทธิภาพของน้ำมันปลาโดยการลดระดับของไขมันเหล่านี้ในเลือด ตัวอย่างของยาเม็ดคุมกำเนิดบางชนิด เช่น ยาเอทินิล เอสตร้าไดออล (ethinyl estradiol) และลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) อย่างเช่นไทรฟาซิล(Triphasil) ยาเอทินิล เอสตร้าไดออล (ethinyl estradiol) และนอร์อิทิสเตอโรน (norethindrone) อย่างเช่นออโธโนวุม 1/35 (Ortho-Novum 1/35) ออโธโนวุม 7/7/7 (Ortho-Novum 7/7/7) และอื่นๆ
  • น้ำมันปลาอาจจะลดระดับความดันโลหิต การรับประทานน้ำมันปลาคู่กับยาสำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้ระดับความดันโลหิตต่ำเกินไป ตัวอย่างยารักษาความดันโลหิตเช่น ยาแคปโตพริล (captopril) อย่างเช่นคาโพเทน (Capoten) ยาอีนาลาพริล (enalapril) อย่างเช่นวาโซเทค (Vasotec) ยาลอซาร์แทน (losartan) อย่างเช่นโคซาร์ (Cozaar) ยาวาลซาร์แทน (valsartan) อย่างเช่นดิโอแวน (Diovan) ยาดิลไทอะเซม (diltiazem) อย่างเช่นคาร์ดิเซม (Cardizem) ยาแอมโลดิปีน (Amlodipine) อย่างเช่นนอร์แวคส์ (Norvasc) ยาไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (hydrochlorothiazide) อย่างเช่นไฮโดรดิริล (HydroDiuril) ยาฟูโรซีไมด์ (furosemide) อย่างเช่นลาซิกซ์ (Lasix) และอื่นๆ อีกมากมาย
  • ยาออริสแตท (orlistat) อย่างเช่นเซนิคาล (Xenical) หรืออัลลิ (Alli) อาจจะลดการดูดซึมน้ำมันปลา หากรับประทานร่วมกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาที่อาจจะเกิดขึ้นควรรับประทานยาออริสแตท ห่างกับน้ำมันปลา อย่างน้อย 2 ชั่วโมง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนการใช้ยานี้

ขนาดปกติของการใช้น้ำมันปลา

ขนาดที่แนะนำคือ อาหารจานปลาที่มีไขมันสูง 2 มื้อ ต่อสัปดาห์ เป็นอย่างน้อย

  • อาหารเสริมน้ำมันปลาของกรดไขมันโอเมก้า 3 คือ 1 กรัม/วัน สำหรับโรคหัวใจ และหากมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง รับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3 ขั้นต่ำที่ 2 กรัม/วัน สูงสุดที่ 4 กรัม/วัน
  • การรับประทานมากกว่า 3 กรัมต่อวันอาจขัดขวางกระบวนการแข็งตัวของเลือด และเพิ่มโอกาสของเลือดออก

รูปแบบของน้ำมันปลา

อาหารเสริมน้ำมันปลานั้นมีรูปแบบดังนี้

  • น้ำมันปลา 1000 มก. รูปแบบซอฟต์เจล

Hello Health Groupม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Fish oils. https://www.drugs.com/npc/fish-oils.html. Accessed Mar 23, 2017

Fish oils. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-993-fish%20oil.aspx?activeingredientid=993&. Accessed Mar 23, 2017

Fish Oil 1000 mg Liquid Softgels. http://www.naturemade.com/fish-oil-and-omegas/fish-oil-and-omega-3/fish-oil-1000-mg#zyfpUHApK0ZTlCs5.97. Accessed Mar 23, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/02/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

บรรเทาความเครียด เสริมสร้างความสุข ด้วยน้ำมันหอมระเหย

น้ำมันงาขี้ม้อน แหล่งรวมโอเมก้า 3 และคุณประโยชน์ยกกำลังสาม


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา