backup og meta

12 เคล็ดลับดี ๆ ป้องกัน กรดไหลย้อนตอนนอน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นบชุลี นวลอ่อน · แก้ไขล่าสุด 07/10/2020

    12 เคล็ดลับดี ๆ ป้องกัน กรดไหลย้อนตอนนอน

    คุณเคยสะดุ้งตื่นตอนกลางคืนเพราะมีอาการแสบร้อนกลางอกหรือไม่ อาการ กรดไหลย้อนตอนนอน อาจรบกวนการนอนหลับและทำให้ประสิทธิภาพในการเรียน หรือการทำงานในวันถัดไปของคุณแย่ลงได้ หากคุณมีอาการกรดไหลย้อนทุกวันและต้องการควบคุมการเกิดอาการเหล่านั้น เคล็ดลับต่อไปนี้จาก Hello คุณหมอ อาจช่วยคุณได้

    วิธีป้องกัน กรดไหลย้อนตอนนอน

    รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์

    หากคุณมีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน คุณควรควบคุมน้ำหนักด้วยการ รับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพ ควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน หากคุณไม่สามารถลดน้ำหนักได้ พยายามอย่าให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น เพราะอาจทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอาการ กรดไหลย้อนตอนนอน มากขึ้นได้

    ใส่ใจการนอนหลับด้วยการปรับเปลี่ยนท่าทางในการนอน

    จำไว้ว่า คุณควรนอนตะแคงซ้ายเพื่อยกร่างกายส่วนบนให้สูงขึ้นในระหว่างนอนหลับ การนอนหลับโดยไม่หนุนหมอน หรือหนุนหมอนเตี้ยทำให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลง เนื่องจากหลอดอาหารและกระเพาะอาหารของคุณอยู่ในระดับเดียวกัน ส่งผลให้กรดในกระเพาะไหลย้อนกลับไปยังหลอดอาหารได้อย่างง่ายดาย

    หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่คับ โดยเฉพาะบริเวณเอว

    การสวมใส่เสื้อผ้าคับ ๆ เป็นการเพิ่มแรงดันให้กับกระเพาะอาหาร นำไปสู่การเกิดกรดไหลย้อน การสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมหรือมีขนาดพอดีช่วยลดการสร้างแรงดันในกระเพาะอาหาร และทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น

    ควรหลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นกรดไหลย้อน

    แม้ว่าอาหารเหล่านี้จะให้ผลแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ก็ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลง อาหารเหล่านั้นได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม กาแฟ ชา อาหารรสจัด เช่น เปปเปอร์มิ้นต์ กระเทียม หัวหอม นม อาหารไขมันสูง อาหารเผ็ด อาหารที่มีรสชาติเลี่ยน หรืออาหารทอด และอาหารที่มีกรด เช่น ผลิตภัณฑ์จากส้ม มะเขือเทศ

    พยายามหลีกเลี่ยงอาหารมื้อดึกหรือมื้อใหญ่

    แพทย์มักแนะนำให้งดรับประทานอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพื่อลดการเกิดกรดในกระเพาะอาหาร และเพื่อให้กระเพาะมีเวลาในการย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไปก่อนเข้านอน นอกจากนี้ การรับประทานอาหารมื้อใหญ่เป็นการสร้างแรงดันภายในกระเพาะอาหาร คุณจึงควรรับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ ในระหว่างวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเย็นเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาการกรดไหลย้อนในเวลากลางคืน

    เคี้ยวหมากฝรั่ง

    การเคี้ยวหมากฝรั่งกระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำลาย ซึ่งช่วยลดการระคายเคืองในหลอดอาหารและชะล้างกรดลงสู่กระเพาะอาหาร

    ตอนรับประทานอาหาร พยายามอย่าเครียด

    การผ่อนคลายและไม่รับประทานอาหารอย่างเร่งรีบช่วยป้องกันไม่ให้กระเพาะอาหารสร้างกรดมากเกินไป

    อย่านอนหรือยืน รับประทานอาหาร

    ควรนั่งในท่วงท่าที่สบายในระหว่างรับประทานอาหาร เพื่อให้กระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น และหลีกเลี่ยงการสร้างแรงดันในขณะกลืนอาหาร

    พยายามอยู่เฉย ๆ หลังจาก รับประทานอาหาร

    เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดกรดไหลย้อน คุณควรหลีกเลี่ยงการก้มหรือยกของหนักในขณะที่กระเพาะอาหารกำลังทำงาน

    อย่าออกกำลังกายทันทีหลัง รับประทานอาหาร

    ควรรออย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเริ่มออกกำลังกาย ไม่เช่นนั้นอาจก่อให้เกิดแรงดันในกระเพาะอาหาร และทำให้การทำงานของกระเพาะอาหารผิดเพี้ยนไป ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดกรดไหลย้อน

    เลิกสูบบุหรี่

    การสูบบุหรี่ก่อให้เกิดอันตรายมากขึ้นหากคุณมีอาการกรดไหลย้อนร่วมด้วย ควันบุหรี่ไม่เพียงสร้างความระคายเคืองให้กับทางเดินอาหาร แต่ยังทำให้กล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะอาหารคลายตัว ก่อให้เกิดการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหาร

    หากรับประทานยาอยู่ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

    ยาบางชนิดอาจทำให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลงได้ เช่น ยาต้านอาการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยารักษาโรคกระดูกพรุนบางชนิด ยารักษาโรคหัวใจและความดันโลหิตบางชนิด ยาปรับสมดุลฮอร์โมนบางชนิด ยารักษาอาการภูมิแพ้ ยาต้าเศร้าบางชนิด ฉะนั้น หากคุณรับประทานยารักษาโรคใดอยู่ โดยเฉพาะยาที่กล่าวมาข้างต้น ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย

    กรดไหลย้อนอาจสร้างความรำคาญให้กับคุณได้บ่อยครั้ง บางครั้งการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตบางอย่างก็ช่วยป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย นบชุลี นวลอ่อน · แก้ไขล่าสุด 07/10/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา