backup og meta

ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง มียาอะไรบ้าง?

ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง มียาอะไรบ้าง?

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมาทำความรู้จักกับ ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ให้มากขึ้นกันค่ะ  เนื่องจากแต่ละตัวยาจะมีประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันไป โดยผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาเพื่อรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงเท่านั้น แต่จะมียาอะไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ

ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง มียาอะไรบ้าง?

ในเบื้องต้นแพทยืมักจะแนะนำให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงปรัยเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการใช้ยาเพื่อช่วยลดระดับความดันโลหิต โดยแต่ละตัวยาจะมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

นอกจากที่รู้จักกันในชื่อของยาขับน้ำแล้ว ยาขับปัสสาวะนั้นยังสามารถลดความดันโลหิตของคุณได้ด้วยการช่วยให้ไตกำจัดน้ำและเกลือ ยาขับปัสสาวะมักจะเพิ่มปริมาณของปัสสาวะ

ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ทำงานโดยการขยายหลอดเลือด ลดอัตราการเต้นของหัวใจ และทำให้ลดการทำงานของหัวใจ ยาอะซีบูโทลอล (Acebutolol) อย่าง เซคทรัล (Sectral) และยาอะทีโนลอล (atenolol) อย่าง เทนอร์มิน (Tenormin) เป็นยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ที่พบได้มากที่สุด ควรสั่งยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ร่วมกับยาอื่น เพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพสูงสุด

  • ยาในกลุ่มยับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติง (Angiotensin-converting enzyme inhibitors)

ยานี้จะช่วยป้องกันการอุดตันภายในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยาย ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง จำเป็นต้องใช้ยายับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติง

  • ยาในกลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ (Angiotensin II receptor blockers)

ยาในกลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์นั้น ทำหน้าที่เช่นเดียวกันกับยายับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติง หากผู้ป่วยไม่มีการตอบสนองต่อยายับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติง ก็มักจะใช้ยาในกลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์มาทดแทน

  • ยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers)

ยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์นั้น จะขยายหลอดเลือด ทำให้ลดแรงดันภายในหลอดเลือด ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นก็คือ อาการไมเกรน ข้อต่อบวม และท้องผูก ไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับการรับประทานน้ำเกรฟฟรุต เนื่องจากอาจทำให้ความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น

  • ตัวยับยั้งเรนิน (Renin inhibitors)

ตัวยับยั้งเรนินนั้นจะขัดขวางการผลิตเรนิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ไม่ควรใช้ตัวยับยั้งเรนินร่วมกับยายับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติง หรือยาในกลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง นอกเหนือจากยาที่กล่าวมาด้านบนแล้ว คุณอาจจะสามารถใช้ยาชนิดอื่นเพื่อให้ได้ระดับของความดันโลหิตที่คุณต้องการ เช่น

  • ยาในกลุ่มอัลฟ่า-บล็อกเกอร์ (Alpha blockers) เพื่อลดกระแสประสาท
  • ยาในกลุ่มอัลฟ่า-เบต้าบล็อกเกอร์ (Alpha-beta blockers) เพื่อลดอัตราการเต้นของหัวใจและปริมาณของเลือดที่ไหลเข้าสู่หลอดเลือด
  • ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง (Central-acting agents) เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบประสาทไปเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ
  • ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilators) เพื่อป้องกันการหดเกร็งของผนังหลอดเลือด
  • ยาอัลดอสเตอโรน แอนตาโกนิสต์ (Aldosterone antagonists) เพื่อลดการสะสมน้ำและเกลือ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความเสี่ยงความดันโลหิตสูง

ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงนั้น จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งมีวิธีง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

ภาวะความดันโลหิตสูงนั้นเป็นสภาวะที่สามารถจัดการได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และรับประทานยา สามารถช่วยให้คุณรักษาสุขภาพที่ดีไว้ได้ และควรไปหาแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามผลเป็นประจำ แม้ว่าระดับความดันโลหิตของคุณนั้น จะลงมาอยู่ระดับที่ต้องการแล้วก็ตาม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

High blood pressure (hypertension). http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/basics/treatment/con-20019580. Assessed October 8, 2016.

Treatments for high blood pressure (hypertension). http://www.nhs.uk/Conditions/Blood-pressure-(high)/Pages/Treatment.aspx. Assessed October 8, 2016.

High blood pressure (hypertension). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/symptoms-causes/syc-20373410. Accessed October 30, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/04/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 เรื่องของความดันโลหิตสูง ที่คุณคิดว่ารู้ แต่จริงๆ เข้าใจผิดทั้งเพ!

ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ด้วย 7 วิธีง่าย ๆ ก่อนจะสายเกินแก้!


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 20/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา