Precipitate labor คือ ภาวะคลอดเฉียบพลัน ซึ่งหมายถึงการคลอดที่เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ นับตั้งแต่การเจ็บครรภ์และคลอดทารกรวมเสร็จสิ้นภายใน 3 ชั่วโมง เป็นภาวะทางการแพทย์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อแม่และลูก แต่โดยปกติแล้วพบได้ค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรศึกษาหาข้อมูลเพื่อรับมือกับภาวะดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นได้
[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]
Precipitate labor คืออะไร
ถึงแม้ว่าผู้หญิงหลายคนผ่านประสบการณ์การคลอดลูกที่ต่างกัน แต่ขั้นตอนทั่วไปของการคลอด มีอยู่ 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะเริ่มต้น และปากมดลูกเปิด
- ระยะคลอด
- ระยะตัดสายรก
สำหรับ Precipitate labor คือ ภาวะคลอดเฉียบพลัน โดยเป็นการคลอดทารกที่ใช้เวลาน้อยกว่าปกติ โดยระยะเวลาของการคลอดทั่วไป ตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จนถึงคลอดทารกใช้เวลาเฉลี่ย 6-18 ชั่วโมง ภาวะคลอดเฉียบพลัน หรืออาจเรียกว่า ภาวะคลอดเร็ว หมายถึงการคลอดที่ใช้เวลาสั้นเพียง 3-5 ชั่วโมง
กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะคลอดเฉียบพลัน
Precipitate labor คือการคลอดเฉียบพลัน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
- มดลูกมีอาการหดตัวอย่างรุนแรง
- ช่องคลอดหย่อนยานมาก
- มีประสบการณ์การคลอดลูกเฉียบพลันมาก่อน
- ทารกในครรภ์ตัวเล็กกว่าปกติ
สัญญาณและอาการของภาวะคลอดเฉียบพลัน
การคลอดเฉียบพลัน มักเริ่มขึ้นด้วยการหดเกร็งอย่างรุนแรง ในเวลาที่กระชั้น ในระหว่างการเจ็บท้องแต่ละครั้ง จะรู้สึกว่าการหดเกร็งกินระยะเวลานาน มักจะรู้สึกถึงแรงกด และความรู้สึกต้องการเบ่งเพื่อขับถ่าย แต่ทั้งนี้ ในหลายกรณี ความรู้สึกอยากเบ่งไม่ได้มาพร้อมกับการหดเกร็ง อาจรู้สึกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
อันตรายของภาวะคลอดเฉียบพลัน
ภาวะคลอดเฉียบพลันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ที่จะคลอดไม่ได้เตรียมตัว จึงทำให้รู้สึกว่า ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ตำแหน่งที่จะเกิดการคลอด ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดความกังวล เมื่อหญิงตั้งครรภ์ทราบว่า การหดเกร็งแบบนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงการเจ็บครรภ์หลอก (Braxton Hicks contractions) และกำลังจะคลอดในไม่ช้า เวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาลจึงมีไม่มาก และวิธีการทุเลาความเจ็บปวดอาจไม่สามารถทำได้ในขณะนั้น
ผู้เป็นแม่หลายคนที่ประสบภาวะคลอดเฉียบพลัน มีปัญหากับความเสี่ยงของการเกิดการฉีกขาดของปากมดลูก และอวัยวะเพศ เลือดออกบริเวณมดลูกและอวัยวะเพศ ซึ่งใช้เวลานานในการเยียวยา นอกจากนี้ หากผู้เป็นแม่ไม่สามารถไปถึงโรงพยาบาลได้ทันเวลา อาจเสี่ยงกับการคลอดในพื้นที่ที่ไม่สะอาด ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจส่งผลต่อทารกที่กำลังจะเกิดมา และทำให้ทารกอาจสำลักน้ำคร่ำได้
สิ่งที่ควรปฏิบัติหากมีภาวะคลอดเฉียบพลัน
แม้ว่าผู้เป็นแม่ไม่สามารถชะลอเวลาในการคลอดได้ แต่มีข้อควรปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยในการคลอดเฉียบพลัน
- แจ้งเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์
- ใช้เทคนิคการควบคุมลมหายใจ
- อยู่ในบริเวณที่สะอาดจนกว่าจะมีคนมาช่วย
- นอนราบหรือนอนตะแคง