ผู้หญิงบางรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ หรือมีความกลัวต่อการคลอดบุตรตามธรรมชาติ อาจเลือกวิธีคลอดบุตรโดยการผ่าคลอด อย่างไรก็ตาม การผ่าคลอดอาจมีความเสี่ยงมากกว่าการคลอดตามธรรมชาติ ยิ่งโดยเฉพาะหากผ่าคลอดซ้ำ ในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป โดยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าคลอดซ้ำ อาจมีทั้งการเกิดรอยแผลเป็น การบาดเจ็บที่กระเพาะปัสสาวะและลำไส้ การตกเลือด ปัญหาเกี่ยวกับรก ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงของการผ่าคลอดซ้ำ และปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาทางป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
[embed-health-tool-due-date]
ผลการศึกษาบอกอะไรเกี่ยวกับการ ผ่าคลอดซ้ำ
การศึกษาในออสเตรเลียในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ 2,345 ราย ซึ่งมีประสบการณ์การคลอดบุตรโดยการผ่าคลอดหนึ่งครั้ง และจัดเป็นกลุ่มที่มีโอกาสจะใช้การคลอดบุตรตามธรรมชาติ หลังจากที่เคยผ่าคลอดมาก่อน โดยผู้หญิง 1,108 ราย มีกำหนดคลอดโดยการผ่าคลอด ในขณะที่ผู้หญิงที่เหลืออีก 1,237 ราย เลือกการคลอดบุตรตามธรรมชาติ หลังจากที่เคยผ่าคลอดมาก่อน อย่างไรก็ดี ผู้หญิงจำนวนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้หญิงทั้งหมด ที่ใช้การคลอดตามธรรมชาติ ขณะที่ผู้หญิงจำนวนที่เหลือใช้ทางเลือกในการผ่าคลอด
อย่างเป็นที่น่าสังเกต ได้มีทารกเสียชีวิตในครรภ์ (stillbirth) โดยไม่ทราบสาเหตุจำนวนสองราย ในกลุ่มที่คลอดตามธรรมชาติ ในขณะที่ไม่มีทารกเสียชีวิตในการคลอดด้วยการผ่าคลอด อัตราการเสียชีวิตของทารก หรือภาวะเกี่ยวกับสุขภาพที่ร้ายแรงก่อนออกจากโรงพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 2.4 ในกลุ่มที่ใช้การคลอดบุตรตามธรรมชาติหลังจากที่เคยผ่าคลอดมาก่อน ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 0.9 ในกลุ่มที่ใช้การผ่าคลอดอย่างเดียว
โดยสรุปแล้ว นักวิจัยเชื่อว่าการใช้การผ่าคลอดซ้ำเป็นทางเลือกในการคลอด มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงอย่างมาก ทั้งสำหรับมารดาและบุตร
ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นของการ ผ่าคลอดซ้ำ
การผ่าคลอดซ้ำอาจมีความเสี่ยง ดังนี้
เนื้อเยื่อมดลูกและบริเวณใกล้เคียงมีรอยแผลเป็น
หลังจากการผ่าคลอดในแต่ละครั้ง จะมีแถบเนื้อเยื่อพังผืดคล้ายแผลเป็นก่อตัวขึ้น รอยแผลเป็นที่หนาส่งผลให้การคลอดเป็นไปได้ยาก และทำให้การคลอดใช้เวลานานขึ้น
บาดแผลที่กระเพาะปัสสาวะและลำไส้
เยื่อพังผืดที่ก่อตัวขึ้นหลังการผ่าคลอดครั้งก่อน สามารถเชื่อมกระเพาะปัสสาวะให้ติดกับมดลูกได้ อีกทั้งยังเป็นการขัดขวางการทำงานของลำไส้เล็กอีกด้วย
ภาวะตกเลือดอย่างรุนแรง
การผ่าคลอดซ้ำ อาจก่อให้เกิดภาวะตกเลือดอย่างรุนแรงในหญิงตั้งครรภ์ ส่งผลให้มีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นในการตัดมดลูกออก เพื่อยับยั้งภาวะตกเลือดอย่างรุนแรง จากการศึกษาหนึ่ง ความเสี่ยงในการตัดมดลูกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.65 หลังการผ่าคลอดครั้งแรก และร้อยละ 2.41 หลังการผ่าคลอดครั้งที่สี่