พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 13 อยู่ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ช่วงนี้ทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์อาจมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น สายสะดือเคลื่อนที่ น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ส่วนทารกอาจเริ่มมีขนาดตัวใหญ่มากขึ้น และเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณแม่ยังควรระมัดระวังตัวและดูแลตัวเองให้ดีอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์
[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]
พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 13
ลูกจะเติบโตอย่างไร
ตอนนี้ตั้งครรภ์เป็นเวลา 13 สัปดาห์แล้ว ทารกที่อยู่ในครรภ์มีขนาดเท่ากับฝักถั่ว ซึ่งมีความสูงประมาณ 7 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า และหนักประมาณ 30 กรัม
ในสัปดาห์นี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในร่างกายของ รวมทั้งสายสะดือที่เคลื่อนตัวเข้าหากระเพาะอาหารของลูกน้อยด้วย สายสะดือนี้จะติดอยู่กับรกที่กำลังเติบโต เพื่อช่วยลำเลียงสารอาหารที่จำเป็นสำหรับลูกน้อย
รกที่เคยมีน้ำหนักประมาณ 30 กรัม ตอนนี้จะมีน้ำหนักมากขึ้นแล้ว เส้นเสียงของทารกก็กำลังก่อเป็นรูปเป็นร่างขึ้น แต่จะยังไม่ได้ยินเสียงอะไรในช่วงนี้ และเส้นเสียงจะทำงานเมื่อลูกน้อยคลอดออกมา ตอนนี้ลูกของสามารถแหย่นิ้วหัวคุณแม่มือเข้าไปอมในปากได้แล้ว
ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต
ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
อาการแพ้ท้องของจะลดลงหรือไม่เกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้ายังรู้สึกคลื่นไส้และอ่อนเพลีย การพักผ่อนอาจช่วยให้อาการดีขึ้น นอกจากนี้อาจมีอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น มีตกขาวมากขึ้น และตกขาวจะมีลักษณะคล้ายน้ำนมและไม่มีกลิ่น แต่ไม่ต้องตกใจไปนะ นี่เป็นอาการปกติที่มักเกิดขึ้น จากการมีฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับสูง ซึ่งเป็นฮอร์โมนการตั้งครรภ์อีกชนิดหนึ่ง
ด้วยความที่มีเลือดสูบฉีดไปหล่อเลี้ยงแถว ๆ กระดูกเชิงกรานมากขึ้น จึงทำให้มีตกขาวมากขึ้น เพื่อช่วยให้ทางผ่านของทารกเมื่อถึงเวลาคลอดไม่เกิดการติดเชื้อ ถ้าตกขาวเริ่มมีกลิ่นหรือเปลี่ยนสี ก็ควรบอกให้หมอทราบทันที เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อก็ได้
ควรระมัดระวังอะไรบ้าง
อาจมีความกังวลในเรื่องการออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ นี่คือสิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มการออกกำลังกาย รวมทั้งเคล็ดลับต่าง ๆ ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อด้วย
- ควรออกกำลังกายในระดับที่ยังสามารถพูดคุยได้โดยไม่ทำให้เหนื่อยหอบ
- เลือกออกกำลังกายแบบเบา ๆ และหยุดพักทันที ถ้าเริ่มรู้สึกเหนื่อยหอบ เหนื่อยมาก หรือหน้ามืด
- ปรับรูปแบบการออกกำลังกายของตามระยะเวลาของการตั้งครรภ์ จงจำไว้ว่าลูกน้อยจะเพิ่มน้ำหนักให้กับร่างกายของ ในการป้องกันอาการบาดเจ็บ ก็ควรสังเกตุอาการต่าง ๆ ในร่างกาย และควรรู้ตัวว่าสามารถออกแรงได้มากแค่ไหน
- ควรให้ความสนใจกับกับเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในร่างกาย และควรหยุดออกกำลังกายถ้ารู้สึกเหนื่อย หรือเจ็บปวดร่างกาย
การพบหมอ
ควรปรึกษาคุณหมออย่างไรบ้าง
ถ้ามีปัญหาในการหายใจก็ควรบอกให้คุณหมอทราบ อาการนี้อาจเกิดขึ้นเวลาที่เดินขึ้นบันไดในที่ทำงานหรือที่บ้าน แต่จะมีอาการแค่สองสามนาทีเท่านั้น
แต่ถ้าปัญหาการหายใจของมีอาการแย่ลง หรือทำให้รู้สึกเจ็บบริเวณหน้าอก ก็ควรรีบติดต่อคุณหมอเพื่อรักษาอาการทันที เวลาที่ไม่สามารถหายใจได้ ก็จะทำให้มีออกซิเจนในเลือดน้อยลง ซึ่งนั่นจะทำให้ลูกน้อยขาดออกซิเจนตามไปด้วย
การทดสอบที่ควรรู้
ในช่วงที่ไปพบหมอตามปกตินั้น หมอจะทำการตรวจคัดกรองตามปกติ ซึ่งรวมถึง
- การชั่งน้ำหนักและวัดความดันโลหิต
- เช็คระดับน้ำตาลและโปรตีนในปัสสาวะ
- ตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ
- ตรวจสอบขนาดของมดลูก โดยการตรวจคลำภายนอก
- วัดความสูงจากมดลูกด้านล่าง
- ตรวจสอบว่ามือและเท้าของบวมหรือเปล่า หรือมีเส้นเลือดขอดหรือไม่
สุขภาพและความปลอดภัย
ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์
เวลาที่ออกกำลังกายนั้น ความปลอดภัยนับเป็นเรื่องสำคัญ การทำให้หัวใจเต้นแรงนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ถ้าหัวใจของเต้นมากกว่านาทีละ 140 ครั้ง วิธีที่ดีที่สุดในการวัดความหนักในการออกกำลังกาย ก็คือสังเกตอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ถ้าเริ่มหายใจไม่ทัน หรือไม่สามารถพูดคุยในระหว่างออกกำลังกายได้ ก็หมายความว่าต้องหยุดพักแล้ว
เลือกกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายเบา ๆ อย่างเช่นการว่ายน้ำหรือการเดิน นอกจากนี้ก็อาจหยุดพักเป็นช่วงสั้น ๆ ในระหว่างออกกำลังกาย วิธีนี้จะช่วยให้มีเวลาพักหายใจ และช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับและลูกน้อย