backup og meta

โยคะคนท้อง ประโยชน์สุขภาพ และข้อควรระวัง

โยคะคนท้อง ประโยชน์สุขภาพ และข้อควรระวัง

เมื่อคนท้องฝึกโยคะอาจช่วยเสริมสร้างความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด กระตุ้นการทำงานของระบบหายใจ และระบบประสาท ช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น ช่วยให้ผ่อนคลาย ทั้งยังอาจช่วยเรื่องการคลอดและการเลี้ยงลูกด้วย อย่างไรก็ตาม การฝึกโยคะคนท้อง ควรและอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญและคุณหมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์

โยคะคนท้อง คืออะไร

โยคะ เป็นกระบวนการฝึกฝนร่างกายและจิตใจที่อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะหากฝึกอย่างถูกต้อง อาจส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยทั่วไปแล้ว การฝึกโยคะคนท้องก็เหมือนกับการฝึกโยคะปกติ เพียงแต่อาจต้องปรับเปลี่ยนท่าทาง และเลือกประเภทของโยคะให้เหมาะสมกับคนท้องมากขึ้น เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารกในครรภ์

เล่นโยคะตอนท้องดีอย่างไร

การฝึกโยคะคนท้องอย่างน้อยวันละ 30 นาที อาจมีประโยชน์ต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ ดังนี้

  • ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องใช้พลังงานและความแข็งแรงของร่างกายมากขึ้น การฝึกโยคะคนท้องจะช่วยให้สะโพก แขน หลังและไหล่แข็งแรงขึ้น จึงสามารถรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้
  • ช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ในช่วงตั้งครรภ์ กล้ามเนื้อบริเวณคอ ไหล่ หน้าอก หลังส่วนบน และหลังส่วนล่างของคุณแม่อาจตึงและแอ่นมากขึ้น น้ำหนักและแรงกดของทารกในครรภ์อาจทำให้สะโพกและหลังส่วนล่างตึงตัว ส่วนขนาดหน้าอกที่เพิ่มขึ้น ก็อาจทำให้หลังส่วนบน คอ และไหล่ตึงได้ การฝึกโยคะเป็นประจำ จึงอาจช่วยให้ยืด และทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวผ่อนคลายขึ้่นได้
  • ช่วยให้จิตใจสงบ เมื่อฝึกโยคะ คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องหายใจให้ลึกขึ้น ซึ่งจะทำให้ระบบประสาทเข้าสู่โหมดพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ซึ่งเป็นระบบประสาทที่ทำงานในสภาวะพักของร่างกาย เมื่อร่างกายอยู่ในโหมดนี้อาจทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี นอนหลับสนิทขึ้น ทั้งยังอาจช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ด้วย
  • ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด การยืดร่างกายด้วยท่าโยคะอาจช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย จึงลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปสู่อวัยวะส่วนต่าง ๆ รวมถึงทารกในครรภ์ได้ดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาที่ดี เหมาะสมกับวัย
  • ช่วยเตรียมความพร้อมในการคลอด การฝึกโยคะคนท้องจะช่วยให้ผ่อนคลาย ช่วยในการควบคุมอารมณ์ ทั้งยังอาจช่วยลดความเจ็บปวดและความวิตกกังวลในขณะคลอดบุตรได้ด้วย

ข้อควรระวังในการฝึกโยคะคนท้อง

การปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถดูแลสุขภาพกายใจด้วยการฝึกโยคะได้อย่างปลอดภัยขึ้น

  • หลีกเลี่ยงท่าที่ต้องยืดกล้ามเนื้อท้องมาก หรือท่านอนราบ

ท่าในกลุ่มโยคะอาสนะ เช่น ท่าภูเขา ท่างู ท่าอูฐ ท่าไม้กระดาน ท่าคันธนู ถือเป็นท่าที่ไม่เหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะเป็นท่าที่ต้องยืดกล้ามเนื้อมากเกินไป โดยเฉพาะบริเวณท้อง จึงอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ และอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

  • หลีกเลี่ยงโยคะร้อน หรือการเล่นโยคะในที่ร้อน

เพราะโยคะร้อนอาจกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ หรือทำให้ตื่นเต้นเกินไป และความร้อนที่สูงเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วย

  • ใช้อุปกรณ์เสริม

หากฝึกโยคะคนท้องในท่าที่ต้องก้มหรือโค้งตัวลงมา ซึ่งอาจเพิ่มแรงกดทับหรือแรงบีบที่หน้าท้อง ควรใช้ผ้าเช็ดตัวหรือยางยืดโยคะช่วยในการเคลื่อนไหว

  • ระมัดระวัง และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอและผู้เชี่ยวชาญ

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฝึกโยคะอย่างระมัดระวังภายใต้การดูแลของคุณหมอและผู้เชี่ยวชาญ หากทำท่าไหนแล้วรู้สึกไม่สบายควรหยุดทันที และควรปรับเปลี่ยนท่าฝึกโยคะไปตามช่วงอายุครรภ์ เพื่อให้ส่งผลดีต่อสุขภาพและปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ที่สุด

[embed-health-tool-due-date]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Prenatal yoga : what you need to know. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/prenatal-yoga/art-20047193. Accessed November 28, 2018

Yoga in Pregnancy. https://pjn.sbvjournals.com/doi/PJN/pdf/10.5005/jp-journals-10084-12158. Accessed October 26, 2021

Benefits of Yoga During Pregnancy. https://www.webmd.com/baby/benefits-yoga-during-pregnancy#1. Accessed October 26, 2021

Systematic Review of Yoga for Pregnant Women: Current Status and Future Directions. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3424788/. Accessed October 26, 2021

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25652267/

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/10/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีคลายกล้ามเนื้อหลังการฝึกโยคะ ช่วยลดความปวดลงได้

ท่าโยคะแก้ปวดหลัง แบบง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 26/10/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา