backup og meta

ปัญหาการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แก้ไขอย่างไรได้บ้าง

ปัญหาการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แก้ไขอย่างไรได้บ้าง

ปัญหาการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ มักมีปัญหานอนไม่หลับ หลับยาก ตื่นบ่อย หรือรู้สึกว่าร่างกายนอนไม่พอ เป็นผลมาจากการที่สรีระร่างกายและระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง รวมทั้งลองปรับท่านอนที่เหมาะสมอาจช่วยให้แก้ปัญหาการนอนให้ดีขึ้นได้

[embed-health-tool-due-date]

สาเหตุ ปัญหาการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

การมีปัญหาเรื่องการนอนหลับเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิงในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากปัจจัยในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

  • ระดับฮอร์โมนผันผวน
  • ในไตรมาสแรก คุณแม่ตั้งครรภ์อาจมีอาการแพ้ท้อง รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
  • ในไตรมาสที่ 3 ที่ท้องโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจจะเริ่มมีปัญหากับท่านอนมากขึ้น
  • ตื่นขึ้นมาปัสสาวะบ่อย หรือถี่ขึ้น
  • มีอาการปวดหลัง ปวดขา หรือขาเป็นตะคริว
  • โรคกรดไหลย้อน (GERD) ทำให้รู้สึกแสบร้อนในหลอดอาหาร  เป็นอีกสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ
  • อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น

ซึ่งอาการที่กล่าวข้างต้นเป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่หลีกหนีไม่พ้น ทั้งนี้ หากมีปัญหาการนอนระยะยาว อาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ ควรพยายามนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หรือปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำหากนอนไม่หลับ

วิธีการแก้ ปัญหาการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะเป็นเวลาที่ร่างกายได้ซ่อมแซมและช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อน วิธีลดปัญหาการนอน โดยเฉพาะอาการนอนไม่หลับ หรือหลับยาก สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีหลากหลายวิธี ได้แก่

  • ปรับตำแหน่งการนอนในท่าที่คุณแม่คิดว่าสบายที่สุดให้กับตนเอง
  • พยายามไม่เล่นโทรศัพท์ ดูโทรทัศน์ หรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ก่อนเข้านอน
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีน และการดื่มน้ำหลังจาก 18:00 น. ขึ้นไป
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด และอาหารมื้อหนักใกล้เวลานอน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคกรดไหลย้อน
  • ควรทำให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ด้วยการจัดบรรยากาศห้องนอนให้น่านอน ปิดไฟ และทำให้ห้องมีอากาศถ่ายเทสะดวก หรือไม่อยู่ในห้องที่อุณหภูมิสูงเกินไป

ท่านอนเพื่อแก้ปัญหาการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

ท่านอนที่เหมาะสมนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเมื่อท้องเริ่มโต อาจจะนอนในท่านอนหงายเหมือนในช่วงต้น ๆ ไม่ได้ ซึ่ง ท่านอนสำหรับการตั้งครรภ์ ที่อายุครรภ์ไม่เกิน 4 เดือน หรือ 16 สัปดาห์ หรือในไตรมาสแรก ยังสามารถนอนหงายได้ปกติ แต่ถ้าหากเกินกว่านั้นท้องคุณแม่อาจจะเริ่มโตขึ้นการนอนหงายอาจจะลำบาก ดังนั้น ควรนอนในท่าตะแคงซ้ายงอขาเล็กน้อย เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปที่หัวใจ ไต และมดลูก ทำให้การส่งออกซิเจนและสารอาหารไปยังทารกในครรภ์ดีขึ้น หรือจะนอนตะแคงขวาก็ได้ แต่แนะนำให้นอนตะแคงทางด้านซ้ายมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ควรนอนในท่าที่ทำให้นอนหลับสบายมากที่สุด ไม่ควรกังวลจนเกินไปนักว่าตนเองจะนอนท่าผิดและจะส่งผลต่อลูกน้อย เพราะท่าทางการนอนหลับอาจไม่สำคัญเท่าคุณภาพการนอนหลับของคุณแม่ตั้งครรภ์

เคล็ดลับดูแล ปัญหาการนอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีปัญหาการนอนหลับ อาจลองปฏิบัติตามเคล็ดลับเหล่านี้ที่อาจช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นได้

  • คุณแม่ควรหาหมอนเสริมเอาไว้หนุนท้อง และหลัง รวมไปถึงระหว่างขา หรือเป็นหมอนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ
  • ดื่มนมอุ่น ๆ สักแก้วก่อนนอนก็อาจช่วยให้คุณแม่นอนหลับสบายเพิ่มขึ้น
  • การผ่อนคลาย ทำจิตใจให้สงบและผ่อนคลายกล้ามเนื้อไม่ให้ตึงมากจนเกินไป โดยอาจออกกำลังกายหรือยืดเส้นสายเบา ๆ ก่อนเข้านอน เช่น โยคะ การนวด ยืดเส้นยืดสาย
  • การออกกำลังกายเป็นประจำระหว่างตั้งครรภ์ จะช่วยให้เลือดหมุนเวียนและร่างกายไม่ตึงเครียดจนเกินไป

หากคุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกมีปัญหาการนอนหลับมากผิดปกติ สามารถปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม และคำแนะนำจากคุณหมอที่อาจช่วยทำให้หลับได้ดีขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sleep Problems in Pregnancy. https://www.webmd.com/sleep-disorders/pregnancy-insomnia. Accessed May 11, 2022.

Pregnancy and Sleep. https://www.sleepfoundation.org/pregnancy. Accessed May 11, 2022.

Sleep Deprivation during Pregnancy and Maternal and Fetal Outcomes: Is There a Relationship?. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2824023/. Accessed May 11, 2022.

Get a Good Night’s Sleep During Pregnancy. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/staying-healthy-during-pregnancy/get-a-good-nights-sleep-during-pregnancy. Accessed May 11, 2022.

Sleeping Positions During Pregnancy. https://www.whattoexpect.com/pregnancy/sleep-solutions/pregnancy-sleep-positions/. Accessed May 11, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/10/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

คนท้องปวดหลัง สาเหตุ และวิธีบรรเทาอาการ

ลักษณะท้องของคนท้อง เป็นอย่างไร บอกอะไรได้บ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 31/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา