backup og meta

อาการท้องอืด ของคนท้อง เกิดจากอะไร และรักษาได้อย่างไร

อาการท้องอืด ของคนท้อง เกิดจากอะไร และรักษาได้อย่างไร

อาการท้องอืดของคนท้อง มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และอาการอาจแย่ลงในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 29 ของการตั้งครรภ์ โดย อาการท้องอืด ที่เกิดขึ้นอาจมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ ที่อาจทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานช้าลง นอกจากนี้ การรับประทานอาหารบางชนิดก็อาจทำให้เกิดอาการท้องอีดในคนท้องได้เช่นกัน

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

อาการท้องอืดของคนท้อง เกิดจากอะไร

อาการท้องอืดที่เกิดขึ้นในคนท้อง มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอรโมนการตั้งครรภ์ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่ทำให้มดลูกผ่อนคลาย และกล้ามเนื้อที่ใช้ในการย่อยอาหารผ่อนคลาย ส่งผลให้การย่อยอาหารช้าลง ซึ่งมักทำให้เกิดอาการท้องผูกและอาจส่งผลให้คนท้องมีอาการท้องอืดได้ด้วย

อาการท้องอืดของคนท้อง มักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และอาการอาจแย่ลงในช่วงไตรมาสที่ 3 ซึ่งเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 29 ของการตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกในท้องใช้พื้นที่มากขึ้นทำให้มดลูกขยายใหญ่ขึ้นและกดทับอวัยวะรอบข้าง สำหรับคนท้องที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome หรือ IBS) ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ อาการของโรคอาจแย่ลงระหว่างตั้งครรภ์ และอาจทำให้ปวดท้องบ่อย ท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด เกิดขึ้นด้วย

นอกจากนี้ การรับประทานอาหารบางชนิดก็อาจส่งผลให้คนท้องมีอาการท้องอืดเกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งอาหารที่อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด มีดังนี้

  • ถั่ว เมล็ดธัญพืช และผักบางชนิด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว บร็อคโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง
  • แป้งบางชนิด เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนม
  • อาหารบางชนิดที่มีฟรุกโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ผลไม้แห้ง ซอสมะเขือเทศ ลูกแพร์ แอปเปิล น้ำผึ้ง ข้าวสาลี น้ำผลไม้ อาหารแปรรูป
  • อาหารที่มีกากใยสูง เช่น รำข้าวโอ๊ต ถั่ว ถั่วลันเตา
  • อาหารไขมันสูงและของทอด

การดูแลตัวเองสำหรับคนท้องที่มี อาการท้องอืด

การดูแลตัวเองเพื่อลดแก๊สในกระเพาะและบรรเทาอาการท้องอืดที่เกิดขึ้นสำหรับคนท้องอาจทำได้ ดังนี้

  • เคี้ยวอาหารให้นานกว่าปกติและเคี้ยวให้ละเอียด รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการพูดคุยขณะรับประทานอาหาร
  • ดื่มน้ำจากแก้ว เพื่อจำกัดปริมาณการดื่มน้ำในแต่ละครั้ง
  • ควรนั่งขณะรับประทานอาหาร ของว่าง หรือดื่มน้ำ ไม่ควรนอนหรือเดิน
  • พยายามเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอระหว่างวัน เพื่อช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้
  • ไม่ควรรับประทานอาหารมื้อใหญ่ แต่ควรเป็นแบ่งมื้อเล็ก ๆ หลาย ๆ มื้อแทน
  • หลีกเลี่ยงการดื่นน้ำในปริมาณมาก ๆ เพียงครั้งเดียวในระหว่างมื้ออาหาร เปลี่ยนมาเป็นดื่มน้ำตลอดทั้งวันแทน
  • งดสูบบุหรี่
  • งดดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลม รวมถึงเครื่องดื่มที่ปรุงแต่งด้วยสารให้ความหวาน
  • งดเคี้ยวหมากฝรั่งหรือดูดลูกอมแข็ง ๆ

หากอาการท้องอืดของคนท้องไม่ดีขึ้น หรือหากโรคลำไส้แปรปรวนที่เป็นอยู่มีอาการแย่ลง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Bloating and gas during pregnancy. https://www.babycenter.com/pregnancy/your-body/gas-and-bloating-during-pregnancy_247. Accessed April 18, 2023

Pregnancy Gas. https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/pregnancy-health-wellness/gas-during-pregnancy/. Accessed April 18, 2023

Bloating And Gas During Pregnancy: Causes And Home Remedies. https://www.momjunction.com/articles/remedies-bloating-pregnancy_0075362/. Accessed April 18, 2023

Gas (Entonox). https://www.pregnancybirthbaby.org.au/gas-entonox. Accessed April 18, 2023

What Can I Do to Stop Passing Gas During My Pregnancy?. https://www.hopkinsallchildrens.org/Patients-Families/Health-Library/HealthDocNew/What-Can-I-Do-to-Stop-Passing-Gas-During-My-Pregna. Accessed April 18, 2023

Experiencing Bloating and Gas During Pregnancy?. https://www.cloudninecare.com/blog/experiencing-bloating-and-gas-during-pregnancy. Accessed April 18, 2023

IBS in Women. https://aboutibs.org/what-is-ibs/ibs-in-women/. Accessed April 18, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/08/2023

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อห้ามคนท้อง 1-3 เดือน มีอะไรบ้าง และควรดูแลสุขภาพอย่างไร

ผลไม้ที่คนท้องควรกิน มีอะไรบ้าง และควรกินอย่างไรให้ปลอดภัย


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 29/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา