backup og meta

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 4

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 4

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 4 ทารกที่อยู่ในครรภ์มักมีขนาดเท่ากับเมล็ดงาขี้ม่อนหรือยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ในระยะตัวอ่อนนี้เซลล์กำลังพัฒนาอวัยวะต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสมอง หัวใจ ปอด อวัยวะภายใน รวมถึงแขนและขามักเริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น

[embed-health-tool-due-date]

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 4

ลูกจะเติบโตอย่างไร

เมื่อย่างเข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 ของ การตั้งครรภ์ ทารกที่อยู่ในครรภ์จะมีขนาดเท่ากับเมล็ดงาขี้ม่อนหรือประมาณ 2 มิลลิเมตร ในระยะตัวอ่อนนี้เซลล์จะพัฒนากลายเป็นอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสมอง หัวใจ ปวด อวัยวะภายในต่างๆ รวมถึงแขนและขาของตัวอ่อนก็จะเริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างขึ้น

นอกจากนี้ ถุงน้ำคร่ำก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นรอบ ๆ ตัวอ่อนและถุงไข่แดงเพื่อเป็นการปกป้องตัวอ่อนในครรภ์ ถุงไข่แดงจะทำหน้าที่ผลิตเลือดและช่วยเลี้ยงดูตัวอ่อนจนกว่ารกจะทำงานแทนได้ ตอนนี้ทารกมีจะมีสิ่งห่อหุ้มที่แตกต่างกันถึง 3 ชั้น ได้แก่

  • ชั้นในสุดที่เรียกว่า เอ็นโดเดิร์ม (Endoderm) ซึ่งจะกลายเป็นระบบย่อยอาหาร ตับ และปอด
  • ชั้นกลางที่เรียกว่า เมโซเดิร์ม (Mesoderm) ซึ่งจะกลายเป็นหัวใจ อวัยวะเพศ กระดูก ไต และกล้ามเนื้อ
  • ชั้นนอกสุดที่เรียกว่า เอ็กโทเดิร์ม (Ectoderm) ซึ่งจะกลายเป็นระบบประสาท เส้นผม ผิวหนัง และเล็บ

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต

ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

ในสัปดาห์นี้ตัวอ่อนจะอยู่ติดกับมดลูก ซึ่งเรียกว่าระยะการฝังตัวของไข่ เมื่อมีการฝังตัวของไข่ ทารกจะเริ่มทำการผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่าฮอร์โมนตั้งครรภ์ ซึ่งช่วยในการประคับประคองและรักษาเยื่อบุมดลูก นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังรังไข่ เพื่อหยุดการตกไข่ในแต่ละเดือนอีกด้วย ผู้หญิงบางคนอาจเป็นตะคริว และมีเลือดออกในช่วงสัปดาห์ที่มีการฝังตัวของไข่ ที่เรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก‘ ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีรอบเดือนตามปกติจนอาจเข้าใจผิดว่าเป็นประจำเดือนได้

HCG (Human Chorionic Gonadotropin) เป็นฮอร์โมนที่สามารถใช้ตรวจสอบ การตั้งครรภ์ ได้ การตรวจสอบการตั้งครรภ์ในสัปดาห์นี้จะทำให้รู้ได้ว่าตั้งครรภ์หรือไม่ โดยสัญญาณการตั้งครรภ์ที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ เหนื่อยล้า เสียวหรือเจ็บหน้าอก คลื่นไส้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วงรอบเดือน

ควรระมัดระวังอะไรบ้าง

สัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังตั้งครรภ์ ที่สามารถสังเกตได้

  • หน้าอกนิ่ม ปวดและบวม ผู้หญิงหลายคนจะรู้สึกปวดเหมือนตอนที่ปวดรอบเดือน แต่มีอาการที่รุนแรงกว่า
  • อ่อนเพลีย อาจมีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเข้มข้นขึ้น
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้น ทันทีที่ตั้งครรภ์ มักเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นจนน่าตกใจ
  • ไวต่อกลิ่นมากขึ้น ผู้หญิงตั้งครรภ์จำนวนมากจะรู้สึกแพ้กลิ่นต่างๆ มากมาย ทั้งที่อาจไม่เคยรู้สึกแพ้กลิ่นต่างๆ เหล่านั้นมาก่อน ซึ่งนี่เป็นผลข้างเคียงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว
  • เบื่ออาหาร  อาจรู้สึกไม่อยากกินอาหาร แม้จะเป็นอาหารที่เคยชอบ
  • คลื่นไส้และอาเจียน โดยปกติอาการแพ้ท้องจะไม่เกิดขึ้นในช่วงแรกของ การตั้งครรภ์ แต่หญิงตั้งครรภ์บางคนก็อาจรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน หรือแพ้ท้องในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ได้เช่นกัน
  • อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น หากอุณหภูมิสูงร่างกายสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 18 วัน อาจเป็นไปได้ว่าเกิดการตั้งครรภ์แล้ว
  • มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด ผู้หญิงบางคนจะสังเกตเห็นรอยเลือดสีแดงหรือน้ำตาลในช่วงรอบเดือน ถ้ามีอาการปวดขณะที่มีเลือดออก ควรไปพบคุณหมอ  เพราะอาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

หากมีอาการใดๆ ข้างต้น สามารถตรวจสอบให้แน่ใจได้โดยใช้เครื่องทดสอบ การตั้งครรภ์

การพบคุณหมอ

ควรปรึกษาแพทย์อย่างไรบ้าง

หากมีสัญญาณหรืออาการของ การตั้งครรภ์ ใด ๆ ควรแจ้งให้คุณหมอเฉพาะทางอย่างสูตินรีแพทย์ทราบ เพราะคุณหมอจะเป็นผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตั้งครรภ์รวมไปถึงการคลอด จึงไม่ควรละเลยการไปพบคุณหมอ เพื่อให้ได้คำแนะนำและข้อมูลที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และเหมาะสมกับสุขภาพและภาวะครรภ์มากที่สุด

การทดสอบตั้งครรภ์ด้วยตนเองที่ควรรู้

การทดสอบเดียวที่ควรรู้คือการทดสอบการตั้งครรภ์  สัปดาห์นี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง คุณอาจต้องทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองหลายครั้ง หรือเข้ารับการตรวจการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาล เพื่อให้ได้ผลตรวจที่แม่นยำ

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์

ผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถบริจาคเลือดได้ ในทางทฤษฎี การบริจาคเลือดระหว่าง การตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดภาวะขาดเลือดได้ นอกจากนี้ยังไม่มีหลักฐานบ่งบอกว่า การบริจาคเลือดนั้นมีความปลอดภัยต่อผู้หญิงตั้งครรภ์ ดังนั้นองค์กรที่รับบริจาคเลือดจึงไม่อนุญาตให้ผู้หญิงตั้งครรภ์บริจาคเลือด

นอกจากนี้ ผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตรก็ไม่ควรบริจาคเลือดด้วยเช่นกัน สภากาชาดแนะนำว่า ควรรอประมาณหกสัปดาห์หลังคลอด หลังจากนั้นคุณก็สามารถเข้าร่วมบริจาคได้ตามปกติถึงแม้จะจะอยู่ในช่วงให้นมบุตรก็ตาม

ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่มีบุตรสามารถบริจาคเลือดได้ แต่สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยง เลือดจากผู้หญิงตั้งครรภ์มักมีสารภูมิต้านทาน ที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับผู้รับบริจาคได้ ศูนย์บริจาคโลหิตอาจทำการทดสอบสารภูมิต้านทานของคุณ ก่อนที่คุณจะบริจาคเลือดได้

แล้วมาดูกันว่า ในสัปดาห์ต่อไป คุณแม่ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร และทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

You and your baby at 4 weeks pregnant. https://www.nhs.uk/pregnancy/week-by-week/1-to-12/4-weeks/. Accessed May 31, 2022.

Pregnancy Week 4. https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/week-by-week/4-weeks-pregnant/. Accessed May 31, 2022.

Your pregnancy – 4 weeks. http://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-4-weeks_1080.bc. Accessed May 31, 2022.

Pregnancy at weeks 1 to 4. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/pregnancy-at-week-1-4. Accessed May 31, 2022.

Pregnancy Calendar – week 4. http://kidshealth.org/parent/pregnancy_center/pregnancy_calendar/week4.html. Accessed May 31, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/06/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 5

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 7 ของการตั้งครรภ์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 01/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา