พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 11 เป็นช่วงที่ทารกพัฒนาจากตัวอ่อนมาเป็นทารกในครรภ์ เริ่มมีลักษณะรูปร่างคล้ายกับมนุษย์ อีกทั้งยังเริ่มมีการพัฒนาของอวัยวะเพศ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจเริ่มมีอาการแพ้ท้องลดลง แต่อาจมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น อาการท้องผูก อาการอ่อนเพลีย ดังนั้น จึงควรดูตัวเองให้ดี เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]
พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 11
ลูกจะเติบโตอย่างไร
ตอนนี้ลูกของคุณแม่มีขนาดเท่ามะเดื่อฝรั่ง หรือลูกฟิก และยาว 3 เซนติเมตรจากศีรษะถึงปลายเท้า และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับการเจริญเติบโตของทารก เส้นเลือดในรกจะเพิ่มมากขึ้นทั้งขนาดและจำนวน เพื่อส่งสารอาหารจำนวนมากให้กับทารกผ่านทางเลือดของคุณแม่
ตอนนี้ลูกของคุณแม่ไม่ใช่เซลล์ขนาดเล็กอีกต่อไปแล้ว สามารถเรียกว่าทารกได้อย่างเต็มปากแล้ว อย่างไรก็ตาม ศีรษะของทารกยังต้องมีการพัฒนาต่อไป และโดยปกติจะมีขนาดครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว แต่ร่างกายจะเติบโตอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่สัปดาห์ต่อจากนี้
ภายในปลายสัปดาห์นี้ อวัยวะเพศชายหรืออวัยวะเพศหญิงก็จะเริ่มพัฒนาขึ้น และจะพัฒนาต่อไปอีกสองสามสัปดาห์ แต่จะยังตรวจด้วยอัลตราซาวด์ไม่พบ จนกว่าจะถึงประมาณสัปดาห์ที่ 18 ถึง 20
ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต
ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
ตอนนี้คุณแม่รู้สึกมีพลังขึ้นมาบ้างนิดหน่อยแล้ว และอาการคลื่นไส้ก็เริ่มลดลง แต่โชคร้ายหน่อยตรงที่มีอาการอย่างอื่นเข้ามาแทน หนึ่งในอาการเหล่านั้นก็คืออาการท้องผูก ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากคุณแม่อุจจาระลำบาก หรือไม่ได้อุจจาระมานานกว่า 3 วัน ซึ่งต้นเหตุก็มาจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ โดยฮอร์โมนนี้จะทำให้กระเพาะและหลอดอาหารเกิดการคลายตัว ทำให้การย่อยอาหารช้าลง นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอาหารไม่ย่อยและท้องอืดอีกด้วย
ในการจัดการกับอาการท้องผูกนั้น คุณแม่ควรดื่มน้ำให้มาก และกินไฟเบอร์หรือกากใยให้มากขึ้นด้วย อาหารที่อุดมไปด้วยกากใยก็ได้แก่ผลไม้สดต่าง ๆ เช่น มะละกอ เมล่อน และกล้วย ผักสด และขนมปัง
นอกจากนี้ก็ควรกินแบบแบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ ซึ่งจะช่วยลดแก๊สในระบบทางเดินอาหาร และอาการท้องอืดได้ คุณแม่ควรเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการนั่งเป็นเวลานาน ๆ เพราะจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายย่อยอาหารได้เร็วขึ้น
ควรระมัดระวังอะไรบ้าง
อาการท้องผูกอาจไม่สามารถเยียวยาด้วยตัวเองได้ ซึ่งอาจต้องใช้การรักษาที่เข้มข้นกว่านั้น โดยอาจใช้อาหารเสริมที่เป็นไฟเบอร์ และยาระบายอ่อน ๆ อย่างเช่น ยาด็อกคูเสท (Docusate) แต่เพื่อความปลอดภัยทั้งสำหรับตัวคุณแม่เองและลูกน้อย ก่อนที่คุณแม่กินยาใด ๆ ก็ควรปรึกษาหมอก่อนทุกครั้ง ยาระบายบางชนิดอาจมีฤทธิ์แรงเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย และทำให้ร่างกายขาดน้ำได้
การพบคุณหมอ
ควรปรึกษาคุณหมออย่างไรบ้าง
สัปดาห์ต่อจากนี้ คุณหมออาจนัดให้ตรวจอัลตราซาวด์ คุณแม่จะรู้สึกอบอุ่นที่จะได้เห็นลูกของคุณแม่เป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม การตรวจจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคุณหมอ คุณแม่สามารถทำอัลตราซาวด์ได้ทุกเมื่อตั้งแต่กลางสัปดาห์ที่ 11 ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 20 และเมื่อทำอัลตราซาวด์ในระหว่างสัปดาห์ที่ 20 คุณแม่ก็อาจได้รู้เพศของลูกคุณแม่
การทดสอบใดที่ควรรู้
ในช่วงสัปดาห์นี้ คุณหมออาจแนะนำให้คุณแม่ทำการตรวจคัดกรองก่อนคลอด เพื่อตรวจหาความผิดปกติทางด้านโครโมโซมต่าง ๆ ซึ่งความผิดปกติอย่างหนึ่งก็คืออาการดาวน์ ซินโดรม (Down Syndrome) อาการผิดปกตินี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีโครโมโซมคู่ที่ 21 ซ้ำขึ้นมาอีกหนึ่งคู่ โดยปกติแล้วลูกน้อยของคุณแม่จะมีโครโมโซมอยู่ 23 คู่ ซึ่งครื่งหนึ่งถ่ายทอดมาจากคุณแม่ และอีกครึ่งหนึ่งถ่ายทอดมาจากคู่รักของคุณแม่ ในช่วงที่มีการแบ่งเซลล์นั้น ก็เกิดความผิดพลาดจนทำให้มีโครโมโซมคู่พิเศษขึ้นมา ถ้าอยากรู้ก็มีอยู่วิธีเดียวคือต้องทำการทดสอบ
การตรวจคัดกรองก่อนคลอดจะมีการทดสอบอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือการตรวจคัดกรอง และการตรวจวินิจฉัย ในช่วงที่ทำการตรวจคัดกรองนั้น คุณแม่จำเป็นต้องทำการตรวจเลือด เพราะหาโปรตีนในพลาสม่าที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ รวมทั้งการทำอัลตร้าซาวน์ เพื่อวัดความหนาของคอเด็ก ซึ่งการตรวจคัดกรองนี้จะสามารถตรวจพบความผิดปกติได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีการทดสอบอื่น ๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยด้วย
การผลการตัวคัดกรองระบุว่ามีความเสี่ยงที่โครโมโซมข้อควรรู้ถึงความเสี่ยงของการ ตั้งครรภ์ตอนแก่ ที่อาจกระทบต่อสุขภาพทารกจะมีอาการผิดปกติ คุณแม่ก็จำเป็นต้องทำการตรวจวินิจฉัย อย่างเช่น การดูดเอาตัวอย่างของรกเด็กมาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม หรือการเจาะน้ำคร่ำไปตรวจ ถึงแม้ผลการตรวจคัดกรองจะเป็นบวก คุณแม่ก็อาจมีผลการตรวจวินิจฉัยเป็นปกติอยู่ดี
สุขภาพและความปลอดภัย
ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัย
คุณแม่อาจรู้สึกปวดท้องหรือเป็นตะคริวหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่ต้องตกใจ นี่เป็นอาการปกติ เหตุผลที่เป็นอย่างนี้ก็เนื่องจากมีเลือดไหลเวียนบริเวณเชิงกรานมากขึ้น แล้วอาจมีการหดตัวของมดลูกตามมา ซึ่งอาการปวดมักจะเป็นไม่มากนัก และจะหายไปเองภายใน 2-3 นาที แต่ถ้าอาการเจ็บปวดและตะคริวไม่หายไป ก็ควรบอกให้คุณหมอทราบทันที
โดยปกติแล้ว การมีเพศสัมพันธ์นั้นมีความปลอดภัยในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ แต่คุณแม่ก็ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้ ถ้าคุณแม่กลัวว่าการมีเพศสัมพันธ์จะทำให้ลูกของคุณแม่รู้สึกเจ็บ ไม่ต้องกลุ้มใจหรอกนะ ลูกของคุณแม่มีถุงน้ำคร่ำซึ่งเต็มไปด้วยของเหลวปกป้องอยู่ ลูกของคุณแม่จึงปลอดภัย