backup og meta

อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง รับมืออย่างไรดี

อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง รับมืออย่างไรดี

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจมี อาการแพ้ท้อง ซึ่งเป็นเรื่องปกติทั่วไปในไตรมาสแรก แต่ถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการคลื่นไส้อาเจียนที่รุนแรงผิดปกติ อาจเป็น อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์หรือมีแพลนที่จะตั้งครรภ์ควรระมัดระวังและอาจจะต้องทำความเข้าใจกับอาการเหล่านี้ เพื่อที่จะได้สังเกตตัวเองและไปหาคุณหมอได้อย่างทันท่วงที

[embed-health-tool-due-date]

อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง คืออะไร

อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง (Hyperemesis Gravidarum) เป็นอาการคลื่นไส้และอาเจียนรุนแรงต่อเนื่องที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ โดยจะเป็นหนักและนานกว่า อาการแพ้ท้อง ปกติ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้ อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงอาจมีอาการแตกต่างจาก อาการแพ้ท้อง ปกติ โดยสามารถพบได้ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ สำหรับอาการที่เกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้

  • อาเจียน คลื่นไส้มากกว่า 3-4 ครั้ง/วัน
  • อาเจียนขั้นรุนแรง จนไม่สามารถทำอะไรได้เลย
  • รู้สึกวิงเวียนและมึนศีรษะ
  • อ่อนเพลียง่าย เป็นลมบ่อย
  • มีอาการเบื่ออาหาร หรือไม่สามารถรับประทานอาหารใด ๆ ได้เลย
  • ปัสสาวะน้อย ท้องผูก
  • มีน้ำลายมากเกินปกติ
  • ภาวะดีซ่าน
  • ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • ภาวะขาดน้ำ เนื่องจากเสียน้ำออกจากร่างกายมาก
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • ผิวหนังขาดความชุ่มชื่น และยืดหยุ่น
  • น้ำหนักลดต่ำกว่าช่วงก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 5 เปอร์เซ็นต์

ปัจจัยที่ทำให้เกิด อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่า เพราะเหตุใดคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงมี อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง แต่อาจจะเป็นเพราะปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่

  • ระดับฮอร์โมนไทรอกซิน (Thyroxin) ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
  • ร่างกายขาดวิตามินบี 6 และสังกะสี
  • เคยมีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน
  • น้ำหนักเกิน หรือคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคอ้วน
  • ตั้งครรภ์มาหลายครั้ง (ตั้งครรภ์มากกว่า 1 ครั้ง)
  • เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
  • อายุของคุณแม่ตั้งครรภ์อายุยังน้อย หรืออายุยังไม่ถึง 35 ปี
  • อาจมีไขมันในเลือดสูง

วิธีรักษาอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง

ก่อนอื่นคุณหมอจะทำการวินิจฉัยด้วยการสอบถามประวัติสุขภาพ ประวัติการใช้ยา อาการที่เกิดขึ้น รวมถึงการตรวจร่างกายไม่ว่าจะเป็นการตรวจเลือด ปัสสาวะ และอื่น ๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยอาการ และทำการรักษาตามอาการของผู้ป่วย โดยวิธีรักษาอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง ได้แก่

  • การให้น้ำเกลือ เพื่อเพิ่มของเหลวในร่างกายหากมีภาวะขาดน้ำ เพิ่มสารอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) วิตามิน และสารอาหารต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย
  • การให้อาหารทางสายยาง เพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างสมดุล โดยให้สารอาหารผ่านท่อทางจมูก
  • การใช้ยา แพทย์อาจสั่งยาอย่างน้อยหนึ่งตัวเพื่อช่วยลดอาการอาเจียนและคลื่นไส้ เช่น ยาบำบัดอาการคลื่นไส้อาเจียน ยาต้านฮิสทามีน ยาลดอาการกรดไหลย้อน แต่ถ้าหากไม่สามารถรับประทานยาได้ แพทย์จะใช้วิธีให้ยาทางหลอดเลือดดำ

อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงป้องกันอย่างไร

แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีป้องกันอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงที่ได้ผลชัดเจน แต่วิธีเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาาการแพ้ท้องอย่างรุนแรงได้ เช่น

  • การแบ่งมื้ออาหารออกเป็นหลายมื้อแทน แล้วรับประทานทีละน้อย
  • รับประทานอาหารที่มีรสจืด แทนที่จะเป็นอาหารรสเผ็ด หรือรสจัด
  • รับประทานอาหารที่ธาตุเหล็กเพิ่ม หากอาการคลื่นไส้เริ่มดีขึ้น
  • รับประทานจำพวกวิตามินบี 6 รวมไปถึงสมุนไพร เช่น ขิง สะระแหน่
  • การนอนหลับพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายได้พัก แต่ก็ควรระวังการนอนมากเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบกับกล้ามเนื้อและน้ำหนักได้
  • การกดจุด หรือการฝังเข็ม ควรอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอ

อย่างไรก็ตามหากคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง ควรรีบไปหาคุณหมอ เพื่อทำการรักษา เพราะการแพ้ท้องของแต่ละคนนั้นมีอาการที่แตกต่างกันไป

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hyperemesis Gravidarum (Severe Nausea & Vomiting During Pregnancy). https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/12232-hyperemesis-gravidarum-severe-nausea–vomiting-during-pregnancy. Accessed May 10, 2022.

Hyperemesis Gravidarum. https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/pregnancy-complications/hyperemesis-gravidarum/. Accessed May 10, 2022.

Treatment of Hyperemesis Gravidarum. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3410506/. Accessed May 10, 2022.

What Is Hyperemesis Gravidarum?. https://www.webmd.com/baby/what-is-hyperemesis-gravidarum#1. Accessed May 10, 2022.

What Is Hyperemesis Gravidarum? Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatment, and Prevention. https://www.everydayhealth.com/hyperemesis-gravidarum/guide/. Accessed May 10, 2022.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/07/2022

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ขิง ช่วยลดอาการแพ้ท้องได้จริงหรือ

แพ้ท้องแทนเมีย เกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลนครพิงค์


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 29/07/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา