backup og meta

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสที่สอง

เคล็ดลับการดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสที่สอง

การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสที่สอง เป็นสิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจ เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ โดยอาจให้ความสนใจกับการบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากการแพ้ท้อง การรับมือกับความอ่อนเพลีย และการควบคุมความเครียด ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การพักผ่อน และการเลือกรับประทานที่เหมาะสมกับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

การดูแลสุขภาพคนท้องไตรมาสที่สอง

ช่วงไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์เป็นจุดเปลี่ยนหลายอย่างของคุณแม่และทารกในครรภ์ จะมีการปรับตัวทำให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้น ส่วนทารกในครรภ์ช่วงนี้จะเปนช่วงของการพัฒนาอวัยวะและระบบทั้งหมดในร่างกาย รวมถึงขนาดและน้ำหนักของทารกที่จะเพิ่มขึ้น สายสะดือจะค่อย ๆ หนาขึ้น เพื่อใช้ในการลำเลียงอาหารไปยังทารกในครรภ์

การบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน

แน่นอนว่า อาการแพ้ท้องยังคงเกิดขึ้นอยู่กับคุณแม่บางคน เพื่อไม่ให้อาการคลื่นไส้อาเจียนรบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ สามรรถบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน กลิ่นของกาแฟ เครื่องดื่ม หรือกลิ่นของอาหารบางชนิดอาจส่งผลต่ออาการคลื่นไส้ของคุณแม่ที่มีปัญหาแพ้ท้องได้ จึงควรหลีกเลี่ยงกลิ่นหรือรสชาติอาหารต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาต่ออาการคลื่นไส้อาเจียน
  • รับประทานของว่างบ่อย ๆ แครกเกอร์และอาหารรสจืดอื่น ๆ สามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ หรืออาจรับประทานของว่างง่าย ๆ เช่น น้ำขิงหรือชาขิง ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส่ได้เช่นกัน

การรับมือกับความรู้สึกเมื่อยล้า

ในขณะที่ตั้งครรภ์อาจมีอาการเมื่อยล้าง่ายขึ้นเมื่อทำงานหรือทำกิจกรรมระหว่างวันอื่น ๆ จึงมีวิธีช่วยรับมือกับอาการเหล่านั้น ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กและโปรตีน อาการเหนื่อยล้าอาจเป็นสัญญาณของโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ดังนั้น จึงควรปรับอาหารให้เหมาะสม เช่น รับประทานเนื้อแดง สัตว์ปีก อาหารทะเล ผักใบเขียว ซีเรียล ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว เป็นต้น เพื่อเสริมธาตุเหล็ก และรับประทานแคลเซียมและแมกนีเซียมให้เพียงพอเพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและลดการเป็นตะคริว
  • หยุกพักบ่อย ๆ การละออกจากการทำงานที่กำลังทำอยู่ แล้วลูกขึ้นเดินไปรอบ ๆ ยืดเส้นยืดสายจะทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า หรือลองหลับตาซัก 2-3 นาที การยกเท้าขึ้นก็สามารถช่วยให้ผ่อนคลายจากอาการเมื่อยล้าได้
  • ดื่มน้ำปริมาณมาก พกน้ำติดตัวไว้ทุกที่เพื่อที่จะได้จิบน้ำตลอดทั้งวัน
  • งดกิจกรรมเพื่อพักผ่อน หลังจากเลิกงานหรือในวันหยุดลองงดกิจกรรมต่าง ๆ หรืออาจจ้างแม่บ้านมาช่วยทำงานบ้าน เพื่อจะได้ใช้เวลาตลอดทั้งวันในการพักผ่อน
  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกายสามารถช่วยเพิ่มระดับพลังงานให้ได้ โดยเฉพาะหากต้องนั่งโต๊ะทำงานทั้งวัน ดังนั้น การเดินเล่นหลังเลิกงานหรือออกกำลังกายเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนคลอดจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ
  • นอนหลับให้เพียงพอ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรนอนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน การนอนตะแคงซ้ายจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังทารกในครรภ์ และบรรเทาอาการบวม เพื่อเพิ่มความสบายยิ่งขึ้นควรวางหมอนไว้ระหว่างขาและใต้ท้อง

การทำร่างกายให้สบาย

กิจกรรมประจำวันของคุณแม่ตั้งครรภ์บางกิจกรรม อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ดังนั้น การปรับท่าทางหรือหาวิธีช่วยให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ สบายขึ้นอาจส่งผลดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

  • การนั่ง ลองเลือกเก้าอี้แบบปรับได้ที่มีส่วนรองรับหลังส่วนล่างจะทำให้การนั่งสบายยิ่งขึ้น หรือถ้าที่บ้านไม่มีเก้าอี้แบบปรับได้ให้ลองหาหมอนหรือเบาะขนาดเล็กเพื่อรองรับหลัง และควรนั่งยกขาขึ้นเพื่อลดอาการบวมด้วย
  • การยืน เลือกรองเท้าที่รองรับเท้าได้ดี สวมใส่สบาย หรือถ้าหากจะต้องยืนเป็นเวลานานให้ทำการพักขาทีละข้าง ด้วยการวางเท้าข้างหนึ่งไว้บนเก้าอี้เตี้ย หรือที่วางเท้า
  • ท่าทางการยก ท่าทางการยกของก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะท่าทางที่เหมาะสมสามารถช่วยรองรับหลังของคุณแม่ได้ โดยการชันเข่าขึ้นข้างหนึ่งแล้วค่อย ๆ ดันตัวลุกขึ้น ไม่บิดตัวขณะยก
  • การนอน นอนตะแคง โดยใช้ที่นอนที่ไม่นุ่มเกิน และใช้หมอนข้างเพื่อลดอาการปวดหลัง

การควบคุมความเครียด

ความเครียดสามารถบั่นทอนพลังงานของร่างกายที่ใช้ในการดูแลตัวเองและลูกน้อยได้ ดังนั้น วิธีควบคุมความเครียดสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ สามารถทำได้ดังนี้

  • ควบคุม จดบันทึกสิ่งที่ต้องทำประจำวันวัน โดยการจัดลำดับความสำคัญ
  • พูดคุย เมื่อรู้สึกเครียด หรือเป็นกังวลให้รู้จัดพูดคุยเพื่อแบ่งเบาความเครียดนั้น
  • ผ่อนคลาย ฝึกเทคนิคช่วยผ่อนคลาย โดยการหายใจช้า ๆ เล่นโยคะก่อนคลอด ทำจิตใจให้สงบ

ข้อควรระวัง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อาจมีข้อควรระวังหลายอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ เช่น การสัมผัสกับสารเคมีอันตราย การยืนนาน การยกของหนัก ปีนที่สูง มีเสียงรบกวนมากเกินไป การสั่นสะเทือนที่รุนแรง อุณหภูมิที่ร้อนหรือหนาวเกินไป ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวัง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

2nd Trimester. https://www.summahealth.org/medicalservices/womens/aboutourservices/maternity-services/pregnancy-overview/second-trimester. Accessed July 19, 2021

Pregnancy week by week. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/pregnancy/art-20047441. Accessed July 19, 2021

Second Trimester Tips. https://www.webmd.com/baby/second-trimester-tips. Accessed July 19, 2021

Second Trimester. https://www.webmd.com/baby/guide/health-baby-second-trimester. Accessed July 19, 2021

Prenatal care in your second trimester. https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000557.htm. Accessed July 19, 2021

Pregnancy week by week. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/prenatal-care/art-20044581. Accessed July 19, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/10/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารบำรุงมดลูก สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง

การตรวจอัลตราซาวด์ไตรมาส 2 มีความจำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา