backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โลหิตจาง อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 27/10/2021

โลหิตจาง อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

โลหิตจาง (Anemia) คือ ภาวะขาดฮีโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในเซลล์เม็ดเลือดแดง ส่วนใหญ่เกิดจากร่างกายขาดธาตุเหล็ก เมื่อมีฮีโมโกลบินน้อยเกินไปจึงทำให้เลือดไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ และอาจปวดศีรษะหรือหายใจถี่ได้ด้วย

คำจำกัดความ

โลหิตจาง คืออะไร

โลหิตจาง (Anemia) คือ ภาวะที่ร่างกายขาดฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์และเนื่อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อขาดฮีโมโกลบิน ร่างกายจึงได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จนอาจทำงานผิดปกติได้

โลหิตจาง แบ่งตามสาเหตุการเกิดได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  1. โลหิตจางเนื่องจากร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงได้น้อยลง เช่น
  • โลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก
  • โลหิตจางจากภาวะขาดวิตามินบี
  • โลหิตจางจากภาวะขาดโฟเลต
  • โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ
  • โลหิตจางเนื่องจากร่างกายทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไป เช่น
    1. โรคธาลัสซีเมีย
    2. โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกง่าย
    3. โลหิตจางจากโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
  • โลหิตจางจากการเสียเลือดอย่างฉับพลัน เช่น
    1. โลหิตจางจากการตกเลือด
    2. โลหิตจางจางการเกิดอุบัติเหตุ
  • อาการ

    อาการของโลหิตจาง

    อาการของโลหิตจางอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุ อย่างไรก็ตาม อาการที่อาจพบได้ เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ผิวซีด ตัวเย็น หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจลำบาก เวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก มือและเท้าเย็น และปวดศีรษะ อาการของโลหิตจางอาจสังเกตไม่ได้ในระยะแรก แต่จะรุนแรงขึ้นเมื่อโรคลุกลาม

    ควรไปพบหมอเมื่อใด

    หากมีอาการข้างต้นโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง แนะนำให้เข้าพบคุณหมอทันที

    สาเหตุ

    สาเหตุโลหิตจาง

    สาเหตุหลักของภาวะโลหิตจาง คือ การขาดฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง มักเกิดจาก

    • ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงได้น้อยลง เนื่องจากขาดวิตามินและแร่ธาตุอย่างธาตุเหล็ก วิตามินบี หรือเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก เป็นต้น
    • ร่างกายทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไป เนื่องจากโรคบางชนิด เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
    • ร่างกายเสียเลือดอย่างฉับพลันจากอุบัติเหตุ การตกเลือด เป็นต้น

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงโลหิตจาง

    หากมีภาวะเหล่านี้ อาจทำให้ความเสี่ยงในการเกิดภาวะโลหิตจางสูงขึ้น

    • บริโภคธาตุเหล็ก โฟเลต และวิตามินบี 12 ไม่เพียงพอ
    • ลำไส้ผิดปกติ จนส่งผลต่อความสามารถในการดูดซึมสารอาหารไปใช้
    • เป็นผู้หญิงวัยมีประจำเดือน
    • ตั้งครรภ์
    • มีภาวะสุขภาพที่อาจทำให้โลหิตจาง เช่น โรคธาลัสซีเมีย

    การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยโลหิตจาง

    หากมีอาการของภาวะโลหิตจาง ควรไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เนื่องจากภาวะโลหิตจางอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ของโรคที่รุนแรงกว่าได้

    สำหรับการตรวจวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง คุณหมออาจซักประวัติสุขภาพ ตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโลหิตจาง อาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาโรคประจำตัว

    การรักษาโลหิตจาง

    วิธีรักษาภาวะโลหิตจางอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น หากโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กหรือวิตามิน อาจรักษากด้วยการรับประทานอาหารเสริมเพื่อทดแทนสารอาหารที่ขาดไป อย่างไรก็ดี หากมีโรคประจำตัวอื่น ๆ คุณหมออาจมุ่งเน้นในการรักษาโรคประจำตัวนั้น ควบคู่ไปกับการสั่งจ่ายยาที่ช่วยบรรเทาอาการของโลหิตจาง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อรับมือกับโลหิตจาง

    การใช้ยาที่เหมาะสม และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะสารอาหารที่สำคัญต่อการผลิตฮีโมโกลบิน อาจช่วยป้องกัน ช่วยลดความเสี่ยง หรือช่วยให้ภาวะโลหิตจางที่เป็นอยู่ดีขึ้นได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 27/10/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา