backup og meta

การสร้างกล้ามเนื้อ กับความเชื่อผิดๆ ที่เรามาไขให้กระจ่างแบบวิทยาศาสตร์

การสร้างกล้ามเนื้อ กับความเชื่อผิดๆ ที่เรามาไขให้กระจ่างแบบวิทยาศาสตร์

ในโรงยิมนั้นเต็มไปด้วยความเชื่อต่างๆ มากมาย และข้อมูลแย่ๆ หลายอย่างก็อาจมาจากครูฝึก โค้ช เทรนเนอร์ หรือใครก็ตามที่ดูมีประสบการณ์ และข้อมูลเหล่านั้นก็กลายมาเป็นความเชื่อ เพราะคนเรากลัวว่าจะทำให้ตัวเองดูไม่มีความรู้ หากต้องถามคำถามบางอย่าง ดังนั้นเพื่อความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรีของคุณ Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมความเชื่อผิดๆ ที่พบได้บ่อยที่สุดเกี่ยวกับ การสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อที่คุณจะได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปถามคำถามน่าเบื่อพวกนั้นเองให้เสียเวลา

ความเชื่อผิดๆ เรื่อง การสร้างกล้ามเนื้อ

ความเชื่อผิดๆ 1: การยกน้ำหนักอย่างช้าๆ ช่วยเพิ่มการสร้างกล้ามเนื้อให้ใหญ่โต

งานวิจัยได้พิสูจน์แล้วว่า การยกน้ำหนักอย่างช้าๆ ทำได้แค่ช่วยยืดเวลาการออกกำลังกายของคุณ และลดปริมาณการเผาผลาญแคลอรี่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญเผยว่าการเพิ่มความเร็วในขณะยกตุ้มน้ำหนัก เป็นหนทางที่ดีกว่าในการเพิ่มความแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ควรจะค่อยๆ ลดระดับของตุ้มน้ำหนักลงอย่างช้าๆ เพื่อที่คุณจะได้ควบคุมได้อย่างเต็มที่ และไม่ทำให้ตัวเองบาดเจ็บ

ความเชื่อผิดๆ 2: ยิ่งกินโปรตีนมากเท่าไหร่ ยิ่งมีกล้ามเนื้อมากเท่านั้น

เป็นความจริงเพียงบางส่วน แต่โปรตีนนั้น ไม่ใช่หัวใจสำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อ ขณะที่โปรตีนส่งเสริมกระบวนการสร้างกล้ามเนื้อ (การสังเคราะห์โปรตีน) แต่กระบวนการนี้ไม่ได้ต้องการให้คุณรับประทานโปรตีนเป็นตันๆ ต่อวัน โปรตีนส่วนเกินจะถูกย่อยสลายเป็นกรดอะมิโนและไนโตรเจน ซึ่งจะผ่านออกไปเป็นของเสีย หรือถูกเปลี่ยนเป็นคาร์โบไฮเดรต และเก็บสะสมไว้ สิ่งสำคัญคือคุณต้องรักษาความสมดุล ในการบริโภคโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตให้ถูกต้อง ปริมาณของเครื่องดื่มหลังการออกกำลังกายที่สมบูรณ์แบบ ควรประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 3/4 และโปรตีน 1/4

ความเชื่อผิดๆ 3: อย่าออกกำลังกายขณะปวดกล้ามเนื้อ

อาการปวดเป็นข้ออ้างที่พบกันบ่อยในการหยุดออกกำลังกาย ซึ่งถ้าหากคุณมีอาการปวดกล้ามเนื้อมาก จนคุณไม่สามารถขยับตัวได้อย่างถูกต้อง ก็จำเป็นต้องพักประมาณ 1-2 วัน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า คุณควรจะนอนเปื่อยอยู่เฉยๆ การพักผ่อนแบบกระฉับกระเฉงได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีประโยชน์มากกว่า การเต้นแอโรบิคเบาๆ การยืดเหยียดร่างกาย และยกน้ำหนักเบาๆ สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ เพราะมันทำให้เลือดไหลเวียนสู่กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น กำจัดของเสีย และเร่งเวลากระบวนการซ่อมแซมของร่างกาย

ความเชื่อผิดๆ 4: การยืดกล้ามเนื้อป้องกันการบาดเจ็บ

งานวิจัยได้แนะนำว่า การยืดกล้ามเนื้อในตอนวอร์มอัพ ไม่ได้ส่งผลอะไรเป็นพิเศษต่อการป้องกันอาการบาดเจ็บ การยืดกล้ามเนื้อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นได้ แต่สาเหตุของการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นภายในช่วงที่เคลื่อนไหว คนเรามักจะยืดกล้ามเนื้อในช่วงวอร์มอัพ ทำให้พวกเขาเกิดความเชื่อว่า มันมีประโยชน์ โดยที่ไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแบบวิทยาศาสตร์

ในความเป็นจริงแล้ว ฮีโร่ตัวจริงที่ช่วยป้องกันการบาดเจ็บคือ การวอร์มอัพ เมื่อคุณวอร์มอัพร่างกาย เลือดของคุณจะไหลเวียนไปสู่กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น และเตรียมความพร้อมสำหรับการออกกำลังกายที่จะตามมา ดังนั้น ทางดีที่สุดคือควรวอร์มอัพอย่างดี ก่อนเริ่มออกกำลังกาย

หากแม้จะกล่าวมาแบบนี้ แต่การยืดกล้ามเนื้อก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ การออกกำลังกายที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น คุณจะต้องมีกล้ามเนื้อที่ยืดหยุ่นในระดับปกติ หมายถึงว่าคุณต้องสามารถเอามือแตะปลายนิ้วเท้าได้โดยที่ไม่งอเข่า หากคุณยังไม่สามารถทำได้ การยืดกล้ามเนื้อจะเพิ่มความยืดหยุ่นในร่างกายของคุณ เมื่อร่างกายได้วอร์มอัพแล้ว

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Don’t Fall for Fitness Myths. https://www.webmd.com/fitness-exercise/news/20030731/dont-fall-for-fitness-myths. Accessed May 29, 2017.

Top 10 Most Common Fitness Myths. https://www.forbes.com/sites/jennagoudreau/2012/01/12/common-fitness-myths-health-well-being-lose-weight/#52a540b83450. Accessed May 29, 2017.

Top 10 Workout Myths. https://mayoclinichealthsystem.org/hometown-health/speaking-of-health/top-10-workout-myths. Accessed May 29, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/08/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

สาว น้ำหนักเกิน เริ่มออกกำลังกาย ยังไงดี

ลดน้ำหนักหลังคลอด ทำอย่างไรถึงจะได้ผล


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 20/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา