backup og meta

การวิ่งบน ลู่วิ่งไฟฟ้า อาจส่งผลดีต่อสุขภาพไม่แพ้ การวิ่งกลางแจ้ง

การวิ่งบน ลู่วิ่งไฟฟ้า อาจส่งผลดีต่อสุขภาพไม่แพ้ การวิ่งกลางแจ้ง

ถึงแม้คุณจะรักในการออกกำลังกายอย่างการวิ่งมากแค่ไหน แต่เมื่อใดก็ตามพบว่าสภาพอากาศไม่เป็นไปดั่งใจหวัง ทั้งแดดจัด ฝนตก และฝุ่นควัน มลภาวะมากมาย คงต้องเป็นท้อแน่นอน และถ้าหากคุณกำลังคิดหาทางแก้ไขด้วยการซื้อ ลู่วิ่งไฟฟ้า อยู่ละก็ ลองอ่านบทความของ Hello คุณหมอ นี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจกันก่อนได้เลยค่ะ

ลู่วิ่งไฟฟ้า ส่งผลดีต่อสุขภาพของเรา อย่างไรบ้าง

ในเมื่อสภาวะทางอากาศไม่เป็นใจให้เราต้องออกไปกำลังกายกลางแจ้ง การมีอีกหนึ่งตัวเลือกอย่างลู่วิ่งไฟฟ้า ไว้ติดบ้าน ก็ถือว่าไม่ได้เป็นความคิดที่แย่สักเท่าไรนัก เพราะนอกจากจะมีการใช้งานที่ง่าย และสะดวกแล้ว ยังสามารถส่งผลดีให้แก่สุขภาพของเราได้มากมาย ดังนี้

การวิ่งบนลู่วิ่งเป็นประจำอาจสามารถช่วยปรับความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวบริเวณข้อต่อของคุณให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพราะเนื่องจากลู่วิ่งไฟฟ้า สามารถปรับระดับต่าง ๆ ให้เข้ากับการวิ่งของคุณได้อย่างลงตัว  ที่สำคัญความยืดหยุ่นนี้อาจเป็นการช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคกระดูกเสื่อม และโรคข้ออักเสบในยามที่คุณเข้าสู่ช่วงสูงวัยได้อีกด้วย

  • ส่งเสริมการลดน้ำหนัก

เนื่องจากลู่วิ่งไฟฟ้ามีระบบการเพิ่มความหน่วง และระบบการปรับความเร็วให้ ดังนั้นการวิ่งของคุณในแต่ละครั้งอาจเผาผลาญแคลอรี่ไปได้ถึง 100 แคลอรี่ ต่อไมล์ ซึ่งถ้าหากคุณวิ่งตามโปรแกรมที่เหมาะสม โดยใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 1 ชั่วโมง ก็อาจช่วยให้คุณนั้นมีการการเผลาผลาญแคลอรี่ได้อีกเป็นจำนวนมาก อย่างน้อย 600 แคลอรี่เลยทีเดียว

การวิ่งด้วยลู่วิ่งไฟฟ้า ส่วนใหญ่นั้นมักมาพร้อมกับเครื่องอัตราการเต้นของหัวใจที่จะเอื้ออำนวยความสะดวกให้คุณติดตามการเต้นของหัวใจของคุณได้อย่างใกล้ชิดได้ในขณะวิ่ง ซึ่งคุณจะสามารถรู้ได้ทันทีเลยว่าวิ่งระดับไหนจึงจะพอเหมาะและไม่หักโหมจนเกินไป เพราะถ้าหากคุณวิ่งในระดับที่พอดีอย่างเป็นประจำต่อเนื่อง ก็อาจเป็นการเพิ่มระบบการไหลเวียนของเลือดนั้นให้ได้รับออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้มากขึ้น พร้อมกับช่วยลดความดันโลหิต ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจวายได้

  • ฟื้นฟูสุขภาพจิตใจ

สิ่งสำคัญอีกอย่างที่คุณอาจได้รับประโยชน์จากการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้านั่นก็คือการปรับปรุงจิตใจ และอารมณ์ให้คุณนั้นรู้สึกดีขึ้นได้ เนื่องจากการออกกำลังกายด้วยการวิ่งระดับเบาจะทำให้สมองของคุณมีการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุขออกมา เพื่อนำไปบรรเทาอาการวิตกกังวลจากเรื่องราวต่าง ๆ ที่ประสบในแต่ละวัน รวมไปถึงบำบัดผู้ที่กำลังตกอยู่ใน ภาวะซึมเศร้า (Depression) โดยตรงได้อีกด้วยเช่นเดียวกัน

ข้อเสียของการใช้ ลู่วิ่งไฟฟ้า ออกกำลังกาย

แน่นอนว่าลู่วิ่งไฟฟ้าไม่ได้มีข้อดีเพียงอย่างเดียวเสมอไป แต่ยังมีข้อเสียบางประการ ที่คุณควรรู้และสามารถนำไปประกอบการพิจารณาก่อนการซื้อมาไว้ที่บ้านในระยะยาวได้ ดังต่อไปนี้

  1. อาจมีราคาที่ค่อนข้างแพงในบางรุ่น และแต่ความเหมาะสมทางสุขภาพผู้ใช้
  2. พื้นผิวที่รองรอบแรงกระแทกขณะวิ่งในบางรุ่น อาจมีผลกระทบต่อหลัง สะโพก หัวเข่า ข้อต่อ และข้อเท้ามากเกินไป ดังนั้นก่อนการตัดสินใจซื้อทุกครั้งคุณควรได้ลองวิ่งสักเล็กน้อยเสียก่อน
  3. ลู่วิ่งไฟฟ้าบางรุ่นมีขนาดค่อนข้างใหญ่ คุณจึงควรจัดสรรหาพื้นที่ในการจัดวางให้ดี
  4. เนื่องจากลู่วิ่งไฟฟ้ามีเขตพื้นที่จำกัด อาจทำให้ขณะที่คุณวิ่งเกิดรู้สึกเบื่อหน่ายได้
  5. บางรุ่นของลู่วิ่งไฟฟ้ามักมีเทคโนโลยีที่อาจเยอะกว่ารุ่นเก่า ๆ จึงทำให้บางครั้งจำเป็นที่ต้องได้รับการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วย เพื่อเป็นการออกโปรแกรมการวิ่งให้คุณ และนำไประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อว่าตนเองเหมาะกับรุ่นใด

สิ่งที่คุณควรรู้ ก่อนเริ่มวิ่งบน ลู่วิ่งไฟฟ้า

ในก่อนการเริ่มวิ่งทุกครั้งคุณควรมีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อนเพราะบางครั้ง ลู่วิ่งไฟฟ้าอาจไม่เหมาะกับสภาวะสุขภาพที่คุณกำลังประสบอยู่ก็เป็นได้ แต่หากกรณีที่ได้รับการอนุญาตแล้วนั้นลำดับถัดไปคุณควรศึกษาถึงการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าอย่างถูกต้องจากวิธีเหล่านี้

  1. การก้าวเข้าสู่บนลู่วิ่งไฟฟ้า

คุณไม่ควรก้าวขึ้นสู่สายพาน หรือบนลู่วิ่งในขณะที่เครื่องยังคงทำงาน โปรดเริ่มต้นการก้าวเท้าของคุณเข้าไปหลังจากที่สายพานนิ่งแล้วเท่านั้น และโปรดสังเกตปุ่มหยุดฉุกเฉินบนเครื่องเอาไว้ หากมีกรณีที่ผิดพลาดใดขึ้นมา คุณจะได้สามารถกดปุ่มหยุดได้เท่าทัน อีกทั้งการเริ่มต้นการวิ่งควรปรับให้อยู่ในระดับต่ำเสียก่อนเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมร่างกายแล้วค่อยเร่งเพิ่มระดับขึ้นตามความต้องการ

  1. อย่าจับราว หรือคอนโซล

โปรดงดการจับราวบนลู่วิ่งไฟฟ้า เพราะการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง และเดินบนลู่วิ่งไฟฟ้านั้น ต้องเป็นไปอย่างท่าที่ธรรมชาติ เสมือนการวิ่งด้านนอก เว้นเสียแต่ว่าคุณจะมีอาการบาดเจ็บ หรืออยู่ในโปรแกรมการบำบัดของนักกายภาพบำบัดที่ออกโปรแกรมให้คุณฟื้นฟูร่างกายเท่านั้น

  1. งดการเอาชนะตนเอง หรืออยากข้ามผ่านขีดจำกัด

การกระทำเช่นนี้ เรียกได้ว่าอาจสร้างอันตรายให้แก่ข้อเท้าคุณอย่างมาก และอาจเสี่ยงก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เพราะการวิ่งที่ดีไม่จำเป็นต้องปรับระดับความไวให้อยู่สูงสุด แต่เป็นการปรับระดับให้พอดีกับกำลัง และสุขภาพของตนเอง พร้อมกับกำหนดเวลาที่เหมาะสมในการวิ่งให้นาน หรือน้อยจนเกินไป

  1. ไม่ควรโน้มตัวไปด้านหน้า หรือห่อไหล่

นอกจากการออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงให้สุขภาพแล้ว การวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้ายังอาจเป็นการส่งเสริมบุคลิกภาพไปในตัวได้อีกด้วย เพราะถ้าคุณเผลอมีการงอหลัง หรืออยู่ในท่าทางที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้คุณมีอาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ รวมไปถึงกระดูกสันหลังผิดรูปได้มากกว่าเดิม

ซึ่งในท่าทางที่ดีเบื้องต้นในการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า คุณอาจเริ่มได้จากการยกศีรษะขึ้น และมองออกไปด้านหน้า พร้อมกับสังเกตไหล่ตนเองว่าโน้มไปข้างหน้าหรือไม่ หากมีการโน้มไปให้คุณพยายามยกไหล่ของคุณออกไปด้านหลัง ให้รู้สึกถึงหน้าอกผายไหล่ผึ่ง ถึงอย่างไรก็ตามคุณสามารถปรึกษาเทรนเนอร์ได้อีกครั้งถึงท่าทางที่ถูกต้องในการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า เพื่อที่ร่างกายของคุณจะได้รับประโยชน์จากการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

10 Treadmill Walking Mistakes to Avoid https://www.verywellfit.com/treadmill-walking-mistakes-to-avoid-3436655 Accessed August 28, 2020

11 Benefits of Treadmills That Will Make You Want To Run More https://www.fitandme.com/benefits-of-treadmill/ Accessed August 28, 2020

7 BENEFITS OF RUNNING ON A TREADMILL https://healthandfitnessohio.com/7-benefits-of-running-on-a-treadmill/ Accessed August 28, 2020

Advantages and Disadvantages of Treadmill Use for Exercise and Pain Relief https://www.spine-health.com/wellness/exercise/advantages-and-disadvantages-treadmill-use-exercise-and-pain-relief Accessed August 28, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/09/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

เจ็บเท้าหลังวิ่งออกกำลังกาย บรรเทาอาการได้อย่างไร

วิธีหายใจตอนวิ่ง ที่ช่วยให้คุณหายใจคล่องขึ้น วิ่งได้อึดขึ้น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/09/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา