backup og meta

ไฟไหม้ อันตรายต่อลูกน้อย ป้องกันได้อย่างไร

ไฟไหม้ อันตรายต่อลูกน้อย ป้องกันได้อย่างไร

ด้วยช่วงวัยที่มาพร้อมกับความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก ๆ ทำให้พวกเขาชอบที่จะเล่นสนุกสนานไปกับวัตถุหรือสิ่งรอบตัว ในบางครั้งการเล่นสนุกของพวกเขาอาจนำไปสู่อุบัติเหตุ หรือแม้แต่การบาดเจ็บสาหัสจากการถูก ไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกได้ มากไปกว่านั้นแล้ว เด็กยังมีผิวหนังที่บอบบางกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเรียนรู้วิธีที่จะ ป้องกันลูกน้อยจากการถูกไฟไหม้ เอาไว้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ไฟไหม้ ป้องกันได้อย่างไร

ทุกวันมีเด็กมากกว่า 300 คนที่ได้รับการรักษาในห้องฉุกเฉิน เนื่องจากได้รับความบาดเจ็บจากการถูกไฟไหม้ ดังนั้น คุณจึงควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมากที่จะปกป้องลูกน้อยจากการถูกไฟไหม้ ซึ่ง การปกป้องลูกน้อยจากการถูกไฟไหม้ คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ดังนี้

โดยทั่วไป

  • ป้องกันไฟไหม้บ้านด้วยการทำให้แน่ใจว่า คุณมีสัญญาณเตือนควันในทุกจุดของบ้านและในแต่ละห้องนอน พยายามตรวจสอบทุกเดือนว่าสัญญาณเตือนยังทำงานได้ดีอยู่หรือไม่และพยายามเปลี่ยนแบตเตอรี่ปีละ 2 ครั้ง หากคุณไม่มีสัญญาเตือนควัน ให้สอบถามจากบริษัทดับเพลิงท้องถิ่น เกี่ยวกับวิธีการรับมือกับเหตุ ไฟไหม้
  • เปลี่ยนสัญญาเตือนควันที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  • จัดทำแผนหนีไฟ 2 ทาง ซึ่งได้แก่ จากบ้านและเลือกสถานที่นัดพบเมื่อคุณออกจากบ้านมาเรียบร้อยแล้ว และฝึกซ้อมแผนหนีไฟเป็นประจำ
  • ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ควรเก็บบันไดฉุกเฉินไว้ที่ชั้นบนของบ้าน นอกจากนั้นยังควรเก็บบันไดเอาไว้ให้ใกล้กับห้องของผู้ใหญ่หรือเด็กโตที่รู้วิธีการใช้งานบันไดฉุกเฉิน
  • ติดตั้งเครื่องดับเพลิงเอาไว้ในห้องครัว และเรียนรู้วิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง
  • หากคุณเป็นคนที่สูบบุหรี่ อย่าสูบบุหรี่ในบ้าน โดยเฉพาะเมื่อคุณมีอาการเหนื่อยจากการทานยาที่อาจทำให้คุณง่วงนอน และไม่ควรสูบบุหรี่เมื่อคุณอยู่บนเตียงนอน
  • เก็บเชื้อเพลิงหรือวัตถุไวไฟ เช่น ไม้ขีดไฟ สารเคมี และเทียนไข ให้พ้นจากมือเด็ก

ห้องนั่งเล่น

  • หากบ้านมีเตาผิง วางเตาผิงและเตาเผาไหม้ (Wood-burning stove) ให้อยู่ห่างจากเด็ก 3 ฟุต นอกจากนั้นพวกหม้อน้ำ อุปกรณ์ทำความร้อนด้วยไฟฟ้า ก็อาจจะต้องมีการป้องกัน
  • สอนเด็กๆ ว่าอย่าใส่อะไรลงไปในเตาผิงเมื่อมันกำลังมีไฟติดอยู่ นอกจานี้ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขารู้ว่าประตูของเตาผิงนั้นอาจร้อนมาก และอาจก่อให้เกิดไฟไหม้ได้
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ได้ตรวจสอบปล่องไฟทั้งหมดภายในบ้านและทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

ห้องนอน

  • เลือกชุดนอนที่มีป้ายกำกับว่าเป็นผ้ากันไฟ (Flame Retardant) อย่าง โพลีเอสเตอร์หรือฝ้าย เสื้อสเวตเตอร์หรือกางเกงขายาวที่ไม่ได้ถูกระบุว่าเป็นชุดนอนนั้นมักจะไม่ทนไฟ ถ้าคุณใช้ชุดนอนผ้าฝ้าย ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณภาพของเสื้อผ้านั้นมีมาตรฐาน
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่า โคมสำหรับจุดนอนไม่ได้มีการสัมผัสกับผ้า เช่น ผ้าคลุมเตียง หรือผ้าม่าน
  • วางเครื่องทำความร้อนให้ห่างจากเด็กอย่างน้อย 3 ฟุต และหากจากเตียง ผ้าม่าน หรือสิ่งของที่ติดไฟได้
  • หากคุณใช้เครื่องเพิ่มความชื้นหรือไอน้ำ ให้เลือกใช้แบบที่เป็นละอองเย็น (Cool-mist) แทนการใช้ไอน้ำร้อน

ห้องน้ำ

  • ตั้งค่าตัวควบคุมอุณหภูมิในเครื่องทำน้ำอุ่นเอาไว้ที่ 49 องศาเซลเซียส หรือใช้การตั้งค่าแบบต่ำถึงปานกลาง เพราะเด็กสามารถถูกน้ำร้อนลวกได้ภายในเวลา 5 วินาที หากตั้งอุณหภูมิเอาไว้ที่ 60 องศาเซลเซียส แต่ถ้าหากคุณไม่สามารถควบคุมมอุณหภูมิของน้ำได้ ให้ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำร้อนลวกเอาไว้ โดยถามจากช่างประปา มันเป็นอุปกรณ์ที่ราคาไม่แพงและสามารถติดตั้งได้ง่าย
  • ทดสอบน้ำที่จะใช้อาบโดยใช้ข้อศอกหรือด้านในของข้อมือก่อนที่จะอาบน้ำให้ลูก
  • เปิดน้ำเย็นก่อนเสมอ และปิดก๊อกน้ำให้แน่นเมื่อมีน้ำไหลออกมาจากในอ่างอาบน้ำหรืออ่าง
  • ในอ่างอาบน้ำ ควรให้เด็กอยู่ห่างจากวาล์วหรือก๊อกน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาเปิดเล่นหรือเปิดน้ำร้อนโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีการต่อสายในห้องน้ำกับเบรกเกอร์ที่ใช้ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า รวมถึงระบบตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟรั่ว
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเด็กโตมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ เมื่อต้องใช้เตารีดหรือที่หนีบผม หลังการใช้งานเสร็จแล้วควรถอดปลั๊กให้เรียบร้อย และเมื่ออุปกรณ์เหล่านี้เย็นลง ก็ควรเก็บให้พ้นจากมือของเด็กเล็ก

ห้องครัวหรือห้องรับประทานอาหาร

  • จำกัดโซนไม่ให้เด็กๆ เข้ามาเล่นโดยมีบริเวณประมาณ 3 ฟุตรอบๆ เตา ซึ่งเด็กๆ จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาเก็บของเล่นที่กลิ้งเข้าไปในบริเวณต้องห้าม หรือนำของเล่นออกไปจากห้องครัว
  • เก็บเครื่องดื่มและอาหารที่มีความร้อนให้พ้นมือเด็ก
  • อย่าดื่มของเหลวที่มีความร้อนหรือกินซุปร้อนๆ เมื่อมีเด็กนั่งอยู่บนตักของคุณ รวมถึงอย่าวางของเหลวหรือจานร้อนๆ เอาไว้ใกล้เด็ก หากคุณจะต้องเดินไปในครัวโดยที่มีของร้อนๆ อยู่ในมือ เช่น หม้อซุปหรือแก้วกาแฟ คุณต้องดูให้แน่ใจก่อนว่าเด็กๆ อยู่ที่ไหน เพื่อคุณจะได้ไม่ต้องเดินสะดุดล้มใส่พวกเขา
  • อย่าอุ้มทารกหรือเด็กเล็กในขณะที่ทำอาหาร
  • หมุนที่ด้ามจับหมอไปยังด้านหลังของเตาทุกครั้งที่คุณทำอาหาร
  • กีดกั้นการเข้าถึงเตาให้มากที่สุด ขอแนะนำให้ติดตั้งตัวล็อกเตาและตัวล็อกลูกบิดเตา
  • อย่าอุ่นขวดนมในไมโครเวฟ เพราะของเหลวอาจให้ความร้อนที่ไม่สม่ำเสมอ และสร้างกระเป๋าเก็บนมร้อนเพื่อป้องกันการลวกปากทารก
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผ้าปูโต๊ะ หรือแผ่นรองจานขนาดใหญ่ เพราะเด็กๆ จะสามารถดึงมันและทำให้เครื่องดื่มร้อนๆ หรืออาหารที่ร้อนคว่ำใส่ตัวเองได้
  • ถอดปลั๊กเครื่องครัวทั้งหมดเมื่อไม่ได้ใช้งาน และพยายามเก็บสายไฟให้ห่างจากมือของเด็กๆ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ใช้กุญแจล็อกตู้ล็อกตู้ที่เก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถทำให้เกิดแผลไฟไหม้ได้ ควรเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเอาไว้ในบรรจุภัณฑ์เดิมของมัน ไม่ควรเอามาใส่ในเหยือกพลาสติก

อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

  • ใส่ฝาครอบป้องกันไฟสำหรับเด็กเอาไว้ที่เต้าเสียบปลั๊กไฟทั้งหมด
  • กำจัดอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสายไฟเก่า สายไฟชำรุด หรือสายไฟที่ดูแล้วมีความเสียหาย
  • ผูกสายไฟเสริมจากหลอดไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ด้วยเกลียว เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการที่เด็กอาจเคี้ยวสายไฟ นอกจากนั้นคุณยังสามารถซื้อตัวยึดหรือแกนหมุนที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อซ่อนสายไฟ
  • วางทีวีหรืออุปกรณ์สเตอริโอให้ห่างจากผนังเพียงระยะประมาณฝ่ามือเล็กๆ เพื่อไม่ให้เด็กๆ สามารถเข้าถึงด้านหลังหรือสายไฟได้ ทางที่ดีควรติดทีวีเอาไว้กับผนังจะเป็นการดีที่สุด
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายไฟทั้งหมดได้รับการหุ้มฉนวนอย่างเหมาะสม ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายไฟไม่ได้ขาดหรือมีรอยเปิด มัดสายไฟเพิ่มด้วยเกลียวบิด และถอดปลั๊กไฟทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน
  • ตรวจสอบของเล่นอิเล็กทรอนิกส์บ่อยๆ เพื่อหาความสึกหรอที่อาจเกิดขึ้น ทิ้งหรือซ่อมแซมวัตถุต่างๆ ที่เกิดประกายไฟ รู้สึกร้อน หรือมีกลิ่นแปลกๆ และพยายามเปลี่ยนแบตเตอรี่ในของเล่นอิเล็กทรอนิกส์เป็นประจำ และมองหาสัญญาณของการกัดกร่อนบนของเล่น
  • ทำความสะอาดเครื่องอบผ้าหลังจากใช้งานเสร็จทุกครั้ง
  • อย่าเอาสายไฟไว้ใต้ผ้าห่มชนิดหนาหรือพรม
  • อย่าเสียปลั๊กไฟเยอะเกินพิกัด
  • วางของตกแต่งให้ห่างจากหน้าต่าง ประตู และเพดาน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกสิ่งที่อยู่ใต้เพดานไม่ได้ปิดกั้นสปริงเกอร์สำหรับดับไฟที่คุณอาจติดตั้งไว้

ข้างนอกและในรถยนต์

  • หลีกเลี่ยงการจุดดอกไม้ไฟหรือการสร้างประกายไฟ
  • ใช้อุปกรณ์สนามเด็กเล่นอย่างระมัดระวัง ถ้าอากาศข้างนอกร้อนมากให้ใช้อุปกรณ์สนามเด็กเล็กเฉพาะตอนเช้าเท่านั้น หลังจากนั้นค่อยกลับไปใช้อีกครั้งในช่วงที่อุปกรณ์เย็นลงแล้ว หรือในตอนกลางคืน
  • ถอดคาร์ซีทหรือเอารถเข็มออกจากบริเวณที่มีแดดร้อนเมื่อไม่ได้ใช้งาน เพราะเด็กๆ อาจถูกเผาไหม้จากไวนิลร้อนและโลหะ แต่ถ้าหากคุณต้องทิ้งคาร์ซีทหรือรถเข็นเด็กเอาไว้กลางแดด ก็ควรจะหาผ้าห่มหรือผ้าขนหนูมาคลุมเอาไว้
  • ก่อนจะออกจากรถที่จอดไว้ในวันที่อากาศร้อน ให้คุณซ่อนแผ่นสลักของเข็มขัดนิรภัยเอาไว้ในที่นั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ดวงอาทิตย์ส่องโดนพวกมันโดยตรง
  • อย่าลืมทาครีมกันแดดเมื่อต้องออกไปข้างนอก โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF 15 หรือสูงกว่า ทาครีมกันแดด 20-30 นาทีก่อนออกไปข้างนอกและทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมงหรือบ่อยกว่านั้นหากอยู่ในน้ำ
  • อย่าให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนออกแดด

แม้จะมีวิธีการป้องกันลูกน้อยจากการถูก ไฟไหม้ ในสถานที่ต่างๆ แต่เด็กๆ ก็ยังสามารถได้รับบาดเจ็บและเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับพวกเขาได้ ซึ่งการคุณควรจะต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอ เพื่อจะได้ช่วยพวกเขาได้อย่างรวดเร็วและมั่นใจหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Burn safety: Protect your child from burns. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/child-safety/art-20044027. Accessed August 10, 2020

Burn Prevention. https://www.cdc.gov/safechild/burns/index.html. Accessed August 10, 2020

Keeping Kids Safe from Burns. https://www.parents.com/health/injuries/safety/keeping-kids-safe-from-burns/. Accessed August 10, 2020

Household Safety: Preventing Burns, Shocks, and Fires. https://kidshealth.org/en/parents/safety-burns.html. Accessed August 10, 2020

BURNS AND SCALDS. https://www.safekids.org/safetytips/field_risks/burns-and-scalds. Accessed August 10, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2022

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคนิคการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงเร็วขึ้น

แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก การดูแลตัวเองที่บ้านอย่างถูกวิธี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา