backup og meta

ให้ลูกนอนห่มผ้า ได้ตอนไหน และห่มผ้าให้ลูกอย่างไรถึงจะปลอดภัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 26/05/2022

    ให้ลูกนอนห่มผ้า ได้ตอนไหน และห่มผ้าให้ลูกอย่างไรถึงจะปลอดภัย

    ในช่วงที่ทารกกำลังมีพัฒนาการต่าง ๆ เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องสังเกตพัฒนาการของพวกเขาเอาไว้ ลูกของพวกคุณจะเริ่มเรียนรู้ที่จะคลาน นอนหนุนหมอน รวมไปถึงนอนห่มผ้าห่ม ลูกนอนห่มผ้า ได้ตอนไหนอาจขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน

    ลูกนอนห่มผ้า ได้ตอนไหน

    สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (U.S. American Academy of Pediatrics; AAP) แนะนำให้เก็บของนุ่ม ๆ และผ้าปูที่นอนหลวม ๆ ออกจากที่นอนในช่วง 12 เดือนแรก โดยคำแนะนำนี้อ้างอิงจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตจากการนอนหลับของทารกและแนวทางในการลดความเสี่ยงโรคไหลตายในทารก (Sudden Infant Death Syndrome; SIDS)

    นอกเหนือจากคำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกาแล้ว เมื่อลูกน้อยของคุณโตขึ้น ปัจจัยอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาก็จะตามมา อย่างเช่น การมีผ้าห่มในเปลนั้นปลอดภัยหรือไม่ รวมถึงขนาด ความหนา ประเภทของผ้า และขอบของผ้าห่ม

    • ผ้าห่มที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวลูก อาจทำให้ผ้าห่มพันและทำให้ลูกน้อยหายใจไม่ออกได้ ซึ่งผ้าห่มผืนเล็กจะปลอดภัยกว่าแม้ว่าลูกของคุณจะอายุ 1 ขวบแล้วก็ตาม
    • เนื้อผ้าของผ้าห่มอาจมีผลต่อความปลอดภัยและเหมาะสมหรือไม่ที่จะใช้กับลูกน้อยของคุณ ผ้าห่มที่ทำจากผ้ามัสลินสามารถระบายอากาศได้เป็นอย่างดี ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเด็ก ๆ แต่สำหรับผ้าห่มหนา ๆ หรือผ้าห่มถ่วงน้ำหนักซึ่งบางครั้งจะใช้สำหรับเด็กโตที่มีปัญหาด้านประสาทสัมผัสนั้น มักไม่ปลอดภัยหากนำมาใช้กับทารก
    • แม้ว่าลูกของคุณจะโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่การเลือกผ้าห่มที่มีด้ายยาวตรงขอบหรือมีริบบิ้นที่ขอบก็อาจทำให้หายใจไม่ออก หรือพันรอบตัวลูกของคุณได้ ดังนั้น จึงไม่ปลอดภัยที่จะใช้มาเป็นผ้าห่มที่ใช้สำหรับห่มนอน

    หากคุณกำลังคิดที่จะเอาตุ๊กตาสัตว์หรือของเล่นอื่น ๆ ใส่ไว้ในเปลของลูกน้อยช่วยให้พวกเขานอนหลับ นอกจากควรปฏิบัติตามคำแนะนำของสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกาแล้ว สิ่งที่สำคัญคือต้องพิจารณาน้ำหนักของวัตถุ และวัสดุที่ใช้ในการทำ และตรวจดูให้ว่ามีชิ้นส่วนเล็ก ๆ อยู่ด้วยหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อลูกของคุณจากของเล่นในเปลนอนของเขาเอง

    หากคุณพบว่าลูกของคุณชอบโยกตัวไปมาบนเตียงในตอนกลางคืน ถุงนอนหรือชุดนอนแบบรัดเท้าอาจปลอดภัยกว่าการใช้ผ้าห่มจนกว่าลูกจะโดน หากคุณตัดสินใจแล้วว่าลูกของคุณพร้อมที่จะใช้ผ้าห่มแล้ว คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผ้าห่มนั้นต้องไม่สูงกว่าระดับอก และพยายามซุกไว้รอบ ๆ เปลจะเป็นการดีที่สุด

    เคล็ดลับในการนอนหลับอย่างปลอดภัยสำหรับลูกน้อย

    นอกจากการเก็บวัตถุอันตรายต่าง ๆ ให้ห่างจากเปล แล้ว ยังมีสิ่งอื่นที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องคำนึงถึง เพื่อจัดสภาพแวดล้อมการนอนที่ปลอดภัย เมื่อลูกน้อยของคุณเติบโต โดยเคล็ดลับที่จะทำให้ลูกน้อยนอนหลับได้อย่างปลอดภัยนั้น ได้แก่

    • การเก็บผ้าห่ม หมอน และของเล่นให้พ้นจากเปล

    นอกจากผ้าห่ม หมอน และของเล่น ยังหมายถึง การไม่ให้มีตัวกันกระแทก แม้ตัวกันกระแทกอาจจะดูน่ารักและเข้ากับการตกแต่งห้องนอนของลูกน้อย แต่ตัวกันกระแทกก็เสี่ยงต่อการทำให้เด็กหายใจไม่ออก เช่นเดียวกับของเล่น และเครื่องนอนที่หลวม แต่ตัวกันกระแทกนั้นมีประโยชน์สามารถใช้กับเด็กโต เพื่อกันไม่ให้พวกเขาปีนออกจากเปลได้

    • ไม่ควรกำหนดตำแหน่งหรือที่นอนตรงไหนเป็นพิเศษ

    สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกาแนะนำว่าไม่ควรกำหนดตำแหน่งนอนจุดใดเป็นพิเศษ เพื่อลดความเสี่ยงโรคไหลตายในทารก กลับกันการทำแบบนั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงเสียมากกว่า อย่างไรก็ตามมีหลายคนเชื่อว่า จุกนมหลอกจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคไหลตายในทารกได้ แต่ควรจะใช้ในช่วงเวลานอนหลับเท่านั้น

    • เปลเด็กควรตั้งอยู่ในห้องนอนของคุณพ่อคุณแม่

    เปลเด็กควรอยู่ในห้องเดียวกับพ่อแม่เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนถึง 1 ปีแรก แต่ไม่แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่นอนร่วมเตียงกับลูกน้อย และไม่ควรใช้เตียงร่วมกันอย่างยิ่งหากคุณสูบบุหรี่ นอนน้อยกว่า 1 ชั่วโมงในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา กำลังใช้ยาบางชนิด หรือหากลูกน้อยของคุณมีน้ำหนักตอนแรกเกิดน้อย ถ้าคุณต้องการที่จะนอนร่วมกับทารก คุณจำเป็นจะต้องนำผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน และหมอนทั้งหมด ออกจากบริเวณที่ทารกจะนอน

  • ในเวลานอนหรืองีบหลับ ให้สวมเสื้อให้ลูกน้อยมากกว่าที่ตัวคุณใส่
  • พยายามสังเกตดูว่าลูกน้อยของคุณอบอุ่นหรือเย็นเกินไปหรือไม่ พยายามสังเกตการเปลี่ยนแปลงจากการหายใจ และตรวจดูที่หลังคอ เพื่อดูว่าลูกน้อยมีเหงื่อออก ตัวเย็นหรือไม่ และพยายามสังเกตว่าแก้มของลูกน้อยนั้นแดงหรือไม่ โดยแนะนำให้จัดพื้นที่นอนของลูกน้อยในบริเวณที่เย็น เพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนที่สูงมากจนเกินไป

  • เมื่อลูกพยุงตัวเองได้ จะนอนคว่ำหน้าหรือนอนตะแคงก็ไม่เป็นไร
  • เมื่อกล้ามเนื้อของลูกน้อยมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะพยุงตัวเอง และความสามารถในการเคลื่อนตัวเข้าและออกจากตำแหน่งจะสามารถทำได้ดีขึ้น ในขณะที่ลูกน้อยของคุณเรียนรู้ที่จะกลิ้ง คุณอาจจะสังเกตเห็นว่า พวกเขาจะเริ่มกลิ้งเป็นนอนคว่ำก่อนที่จะหลับ ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องเข้าไปพลิกตัวของพวกเขา แต่คุณก็ยังควรวางเขาบนเปลด้วยท่านอนหงายตามปกติต่อไป

    • หยุดห่อตัวลูกเมื่อเขามีทีท่าจะเริ่มพลิกตัว

    ทางสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกาแนะนำให้เลิกใช้ผ้าห่อตัวลูกน้อยตอนอายุประมาณ 2 เดือน ก่อนที่ลูกของคุณจะเริ่มพลิกตัวจริง ๆ เนื่องจากลูกน้อยของคุณอาจจะเริ่มใช้มือเพื่อช่วยในการพลิกตัว

    • ไม่ควรปล่อยลูกน้อยไว้ทั้งคืนบนโซฟาหรือเก้าอี้นวม

    หากลูกน้อยของคุณหลับอยู่บนโซฟา เก้าอี้นวม หรือคาร์ซีท (Car seat) ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีผ้าห่ม คุณก็ไม่ควรปล่อยพวกเขาเอาไว้ทั้งคืนโดยที่ไม่มีคนดูแล หากลูกน้อยหลับไปในระหว่างที่คุณแม่กำลังให้นมอยู่ คุณควรย้ายลูกน้อยของคุณกลับไปที่เปลทันที่ที่คุณรู้สึกตัว

    • ให้บริเวณเหนือและข้างเปลปลอดจากโมบายแขวน หน้าต่าง

    เพื่อป้องกันสิ่งของเหล่านั้นจะตกลงมาใส่ลูกน้อย นอกจากนั้น พวกเขาอาจดึงสิ่งของเหล่านั้นลงมาหาตัวเองก็เป็นได้ การจัดวางตำแหน่งเปลอาจจะต้องมีการพิจารณาตั้งแต่ช่วงตกแต่งห้อง

    • เก็บห้องของเด็กไว้ให้เรียบร้อยเสมอ

    เพื่อป้องกันเวลาที่ลูกน้อยของคุณหนีออกจากเปล ซึ่งมันอาจจะทำให้คุณรู้สึกตกใจในครั้งแรกที่ลูกของคุณเรียนรู้ที่จะหนีออกจากเปล เมื่อเตรียมทุกอย่างเอาไว้พร้อมแล้ว คุณก็ไม่ต้องกังวลว่าพวกเขาจะได้รับอันตรายจากสภาพแวดล้อมในห้อง ก่อนที่คุณจะตื่นไปเจอพวกเขา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 26/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา