backup og meta

วัยรุ่น ทำร้ายตัวเอง มีสาเหตุจากอะไร ป้องกันได้อย่างไร

วัยรุ่น ทำร้ายตัวเอง มีสาเหตุจากอะไร ป้องกันได้อย่างไร

วัยรุ่น ทำร้ายตัวเอง ถือเป็นปัญหาสังคมที่ควรได้รับการเยียวยาแก้ไข ความรัก ความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจภายในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงวัยรุ่นทำร้ายตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง ควรให้ความใส่ใจ หมั่นสังเกต คอยพูดคุยสอบถาม และสอดส่องพฤติกรรมโดยเว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม เปิดใจรับฟังในทุกปัญหาและทุกเรื่องราวโดยไม่ต่อว่าหรือดุด่า เมื่อวัยรุ่นรู้สึกว่าเขามีครอบครัวเป็นที่พึ่ง โอกาสที่เขาจะทำร้ายตัวเองย่อมลดน้อยลง

[embed-health-tool-vaccination-tool]

วัยรุ่น ทำร้ายตัวเอง มีสาเหตุจากอะไร

วัยรุ่นทำร้ายตัวเองเกิดจากหลายสาเหตุ

  1. ขาดความรักและความใส่ใจ ต้องการให้มีใครสักคนให้เวลาและคอยรับฟังปัญหาด้วยความเข้าใจ
  2. มีความเครียดสะสมทางอารมณ์ หรือรู้สึกเศร้า กดดัน จากสิ่งต่าง ๆ และหาทางออกพื่อปลดปล่อยความรู้สึกด้วยการทำร้ายตัวเอง
  3. รู้สึกโกรธ และต้องการระบายความโกรธ เกลียดชัง ออกมาผ่านการทำร้ายตัวเอง
  4. เปลี่ยนความเจ็บปวดทางความรู้สึกให้กลายเป็นความเจ็บปวดทางร่างกายแทน
  5. ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ เพราะเมื่อทำร้ายตัวเอง อาจทำให้มีคนหยิบยื่นความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น

วิธีการที่วัยรุ่นใช้ทำร้ายตัวเอง

วัยรุ่นทำร้ายตัวเองสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  • ใช้มีดกรีด เกา สลักเครื่องหมายบนรางกาย
  • แกะสะเก็ดแผลจนแผลไม่หาย
  • ดึงผม หรือตัดผมให้แหว่ง
  • ใช้การเผาตัวเอง
  • กัดหรือตีตัวเองแรง ๆ หรือใช้อาวุธช่วย
  • กระแทกตัวเองเข้ากับสิ่งของ ของแข็ง หรือผนัง ประตูบ้าน

สัญญาณเตือนของ วัยรุ่นทำร้ายตัวเอง

เมื่อวัยรุ่นทำร้ายตัวเอง มักจะพยายามปิดบังสิ่งที่เกิดขึ้น เนื่องจากอาจรู้สึกละอายใจ กังวลว่าผู้อื่นจะโกรธ หรือไม่เข้าใจ สัญญาณเตือนว่าวัยรุ่นอาจมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ได้แก่

สัญญาณเตือนทางพฤติกรรม

  • วิถีการนอนหรือการรับประทานอาหารมีความเปลี่ยนแปลงไป
  • หมดความสนใจในกิจกรรมที่สนใจ หรือเลิกคบเพื่อน ไม่เข้าสังคม หลบหน้าหลบตาคนรอบตัว
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถเห็นขา แขน ลำตัว หรือสวมเสื้อผ้าที่คลุมแขนและขาได้
  • ไม่เข้าเรียนหรือผลการเรียนแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด
  • มีลับลมคมนัยชอบซ่อนของบางอย่าง เพื่อไว้สำหรับทำร้ายตัวเอง เช่น ใบมีดโกน มีด ไฟแช็ก และไม้ขีด

สัญญาณเตือนทางอารมณ์

  • อารมณ์แปรปรวน
  • หงุดหงิดบ่อย
  • มีอารมณ์ฉุนเฉียวอย่างต่อเนื่อง
  • รู้สึกเศร้า ว่างเปล่า หรือสิ้นหวัง
  • รู้สึกไร้ค่าหรือรู้สึกผิดมาก
  • ไม่สนใจดูแลสุขภาพตัวเอง

สัญญาณเตือนทางกาย

  • มีอาการบาดเจ็บ เช่น รอยกรีด รอยฟกช้ำ ตามร่างกาย
  • กระวนกระวายใจ
  • เหนื่อยล้า หมดเรี่ยวแรง

วิธีป้องกัน วัยรุ่นทำร้ายตัวเอง

หากพบว่าบุตรหลานมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง อาจป้องกันวัยรุ่นทำร้ายตัวเอง ได้ด้วยวิธีดังนี้

  • พูดคุยอย่างใจเย็นและเข้าใจ โดยการไม่ตัดสินกับการกระทำนั้น ๆ
  • หลีกเลี่ยงการเข้าหาด้วยความโกรธ การคุกคาม หรือใช้คำพูดบอกว่าลูกทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ
  • หากมีพฤติกรรมเก็บตัวอยู่แต่ในห้อง ควรยื่นเสนอความช่วยเหลืออย่างเป็นมิตรและจริงใจ
  • ปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีอาการบาดเจ็บ ปลอบโยนแทนการดุด่า และชี้ให้เห็นว่าร่างกายสำคัญมากแค่ไหน
  • พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับการทำร้ายตัวเอง ไม่ตัดสินและรับฟังโดยไม่โต้แย้ง
  • หากมีพฤติกรรมเสี่ยงฆ่าตัวตาย ควรพาไปพบกับคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ

คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองเมื่อวัยรุ่นทำร้ายตัวเอง  

เมื่อพบว่าวัยรุ่นทำร้ายตัวเอง คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองควรพูดคุยและรับฟังด้วยความเข้าใจ ไม่ตัดสิน และอาจให้คำแนะนำลูกดังต่อไปนี้

  • เมื่อพบเจอกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก เกินจะแก้ไขได้ด้วยตนเอง ควรขอความช่วยเหลือจากครอบครัว
  • หาเวลาว่างทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น การอ่านหนังสือ ดูรายการทีวี หรือเขียนระบายความรู้สึก
  • ออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่ชื่นชอบเพื่อเพิ่มพลังงานด้านบวกและเพิ่มความรู้สึกผ่อนคลาย

ที่สำคัญที่สุด คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความรัก ความใส่ใจ  ให้เวลากับวัยรุ่น รับฟัง ไม่ตัดสิน และหมั่นสังเกตความเป็นไปของวัยรุ่นโดยไม่เข้าไปยุ่งวุ่นวาย แต่ให้พวกเขาได้มีพื้นที่และได้เป็นตัวของตัวเอง และสร้างความมั่นใจให้ลูกรู้ว่า หากมีปัญหา ครอบครัวพร้อมที่จะสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในทุกเรื่อง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Mental Health Disorders in Adolescents. https://www.acog.org/clinical/clinical-guidance/committee-opinion/articles/2017/07/mental-health-disorders-in-adolescents. Accessed June 15, 2022.

Self-harm and teenagers. https://raisingchildren.net.au/teens/mental-health-physical-health/mental-health-disorders-concerns/self-harm. Accessed June 15, 2022.

Treating Self-Harm in Children and Adolescents. https://www.psychiatrictimes.com/view/treating-self-harm-children-and-adolescents. AAccessed June 15, 2022.

Adolescent Self-Harm. https://aamft.org/Consumer_Updates/Adolescent_Self_Harm.aspx. Accessed June 15, 2022.

Self-harm in young adolescents (12–16 years): onset and short-term continuation in a community sample. https://bmcpsychiatry.biomedcentral.com/articles/10.1186/1471-244X-13-328. Accessed June 15, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/08/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ

5 ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น ที่ควรเฝ้าระวัง ก่อนนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 08/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา