backup og meta

สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ

สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ

สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น อาจแสดงออกทางร่างกายไม่ว่าจะเป็นอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หงุดหงิด เกิดปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจในการสื่อสาร รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด สูบบุหรี่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตสัญญาณเหล่านี้ เพื่อเตรียมการรับมือ และเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่นรอไม่ได้อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาได้

สุขภาพจิตวัยรุ่น สิ่งที่ไม่ควรละเลย

วัยรุ่น คือ ช่วงอายุตั้งแต่ 10-19 ปี เป็นช่วงอายุที่มีการพัฒนาในหลายด้านทั้งทางร่างกาย อารมณ์และสังคม รวมถึงการเผชิญหน้ากับสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การล่วงละเมิด ความรุนแรง ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตวัยรุ่น การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่นอาจส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว และยังส่งผลดีต่อปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคตเมื่อวัยรุ่นเหล่านั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่

สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น

สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่น อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความผิดปกติของจิตใจ สถานการณ์ และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งทำให้ส่งผลต่ออารมณ์ ความคิด พฤติกรรม และนี่คือตัวอย่าง สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น ที่อาจพบได้บ่อย

สัญญาณวิตกกังวลทั่วไป

  • รู้สึกกระสับกระส่าย
  • เหนื่อยง่าย มีปัญหาการนอนหลับ หลับยาก หลับไม่สนิท
  • ความคิดสับสน หรือสมาธิสั้นลง
  • มีอาการหงุดหงิด
  • รู้สึกตึงกล้ามเนื้อ
  • มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ มีอารมณ์โกรธ ความเกลียดชัง ความรุนแรงมากขึ้น
  • ไม่สามารถรับมือกับปัญหาและความเครียดได้
  • เกิดปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจในการสื่อสาร
  • ปัญหาการใช้ยาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
  • กลัวว่าน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นหรือกังวลเรื่องรูปร่างอย่างรุนแรง

สัญญาณวิตกกังวลทางสังคม

  • วิตกกังวลเมื่อต้องอยู่กับคนอื่น และเข้ากับคนยาก
  • ประหม่า กลัวความอับอาย กลัวการถูกปฏิเสธ หรือกลัวทำให้คนอื่นไม่พอใจอย่างสุดขีด
  • กลัวการถูกตัดสินจากผู้อื่น
  • พยายามดิ้นรนให้คนรอบตัวสนใจ หรือรักใคร่
  • มีอาการหน้าแดง เหงื่อออก ตัวสั่นเมื่ออยู่ใกล้คนอื่น
  • มีอาการคลื่นไส้เมื่ออยู่กับคนอื่น
  • เก็บตัวอยู่คนเดียว ออกห่างจากเพื่อน ไม่ร่วมกิจกรรม
  • อารมณ์ทางเพศลดลง

สัญญาณซึมเศร้า

  • รู้สึกเศร้า
  • มีความกลัว ความกังวล เกิดความรู้สึกผิดที่มากเกินไป
  • รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย
  • รู้สึกผิด ไร้ค่า
  • ไม่รู้สึกสนุกกับชีวิต ไม่สนใจกับงานอดิเรกที่เคยชอบ
  • รู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา
  • เคลื่อนไหวช้า พูดช้ากว่าปกติ
  • สมาธิสั้น ขาดการตัดสินใจ
  • นิสัยการกินเปลี่ยนไป เช่น มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น
  • คิดฆ่าตัวตาย
  • ปัญหาสุขภาพจิตอาจส่งผลต่อร่างกาย เช่น ปวดท้อง ปวดหลัง ปวดหัว ปวดเมื่อยร่างกายโดยไม่มีสาเหตุ

สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่น ขั้นไหนควรพบคุณหมอ

หากลูกมีสัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น ควรรีบเข้าพบคุณหมอทันทีเพื่อทำการรักษาเพราะปัญหาสุขภาพจิตไม่สามารถหายได้เองตามกาลเวลา และหากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้อาการแย่ลงและก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาในอนาคตได้ เพื่อรับมือกับสุขภาพจิตวัยรุ่นในระหว่างการรักษาคุณพ่อคุณแม่จำที่จะต้องดูแลลูกอย่างใกล้ชิด ด้วยวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้

  • ให้รู้จักเรียนรู้ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น
  • สมาชิกในครอบครัวทุกคนควรมีส่วนร่วมในการรักษา
  • ขอคำแนะนำในการจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่นและวิธีรับมือกับพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้น
  • เข้าร่วมการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  • เรียนรู้วิธีการจัดการกับความเครียด
  • หาวิธีผ่อนคลายความเครียด ทำกิจกรรม พูดคุยกับครอบครัวและเพื่อน
  • ชื่นชมยินดีกับความสามารถของลูก หรือให้กำลังใจเพื่อให้ลูกรู้สึกภูมิใจในตนเอง
  • ร่วมทำกิจกรรมกับลูก แม้จะเป็นกิจกรรมที่โรงเรียนก็ตาม

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Adolescent mental health. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-mental-health. Accessed July 4, 2021

Mental illness. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/mental-illness/symptoms-causes/syc-20374968. Accessed July 4, 2021

Warning Signs and Symptoms. https://www.nami.org/About-Mental-Illness/Warning-Signs-and-Symptoms. Accessed July 4, 2021

Mental Health and Teens: Watch for Danger Signs. https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/teen/Pages/Mental-Health-and-Teens-Watch-for-Danger-Signs.aspx. Accessed July 4, 2021

Children’s health. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/childrens-health/in-depth/mental-illness-in-children/art-20046577. Accessed July 4, 2021

Mental Health. https://www.cdc.gov/healthyyouth/mental-health/index.htm. Accessed June 07, 2022

Child and Adolescent Mental Health. https://www.nimh.nih.gov/health/topics/child-and-adolescent-mental-health. Accessed June 07, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/06/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความรุนแรงในโรงเรียน คืออะไร และควรป้องกันอย่างไร

เคล็ดลับ การดูแลสุขภาพวัยรุ่น


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 07/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา