backup og meta

ขาโก่ง ในเด็กใช่สัญญาณสะท้อนปัญหาสุขภาพกระดูกหรือไม่

ขาโก่ง ในเด็กใช่สัญญาณสะท้อนปัญหาสุขภาพกระดูกหรือไม่

ขาโก่ง เป็นอาการเกี่ยวกับกระดูกขาที่พบได้ในวัยทารก และมักสร้างความวิตกกังวลใจให้คุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก เนื่องจากความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณ ทำให้หลายครอบครัวเลือกวิธีแก้อาการขาโก่งด้วยตัวเองแทนการปรึกษาคุณหมอ แท้ที่จริงแล้วอาการขาโก่งนั้นร้ายแรงหรือไม่ จะป้องกันได้ไหม มีวิธีการรักษาอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาอาการขาโก่งให้เข้าใจมากขึ้น เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ขาโก่ง คืออะไร

ขาโก่ง (Bowlegs)  คือ ลักษณะอาการเมื่อยืนเท้าชิดกันแต่ช่วงหัวเข่าจะโค้งแยกออกจากกัน ส่วนใหญ่มักพบในวัยทารกและจะหายได้เองตามธรรมชาติเมื่อเด็กเริ่มมีอายุระหว่าง 12-18 เดือน ขาเด็กจะเริ่มเหยียดตรงเป็นปกติ ไม่จำเป็นต้องรับการรักษา

อย่างไรก็ตาม ลักษณะอาการดังกล่าวนี้อาจเป็นสัญญาณของอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคกระดูกอ่อน โรคข้ออักเสบในหัวเข่าและสะโพก

ขาโก่ง ตรวจสอบได้อย่างไร

อาการขาโก่งของลูกอาจเกิดจากธรรมชาติ หรืออาจเกิดความผิดปกติจากอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ โดยอาจสังเกตได้ ดังนี้

อาการขาโก่งตามธรรมชาติ

  • เมื่อเด็กทารกคลอดออกมาใหม่ ๆ คุณแม่จะสังเกตได้ว่าเข่าทั้ง 2 ข้างของลูกจะห่างกัน แม้ว่าข้อเท้าจะชิดกัน ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเป็นเรื่องปกติในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 เดือน อย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยมีอาการขาโก่งจนถึงอายุ 3 ขวบ นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม

อาการขาโก่งแบบผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติจากอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ

หากเด็กมีอาการขาโก่ง อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • โรคเบล้าท์ (Blount’s Disease) เป็นความผิดปกติของการเจริญเติบโตของกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในเด็กที่มีภาวะอ้วน
  • กระดูกพัฒนาผิดรูป
  • กระดูกหัก แล้วได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง
  • โรคกระดูกอ่อน (Rickets) กระดูกเปราะบางเนื่องจากร่างกายขาดวิตามินดี

คุณหมอมีคำตอบ

อาการขาโก่งในทารกอาจหายได้เองตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องได้รับการรักษา แต่หากเกิดจากอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ อาจต้องได้รับการผ่าตัด โดยคุณหมอจะแก้ไขความผิดปกติเพื่อปรับแต่งให้กระดูกขาให้ได้รูป

การป้องกันอาการขาโก่ง

วิธีลดความเสี่ยงในการเกิดอาการขาโก่งอาจป้องกันได้ ดังนี้

  • ให้ลูกรับประทานอาหารและสัมผัสกับแสงแดดในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดวิตามินดี
  • หากพบว่าลูกน้อยมีอาการขาโก่งจนกระทั่งลูกอายุมากกว่า 2 ปี ควรพาลูกไปปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษา

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Rickets. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rickets/symptoms-causes/syc-20351943. Accessed November 9, 2021.

Bowlegs. http://www.childrenshospital.org/conditions-and-treatments/conditions/b/bowlegs. Accessed November 9, 2021.

Bowlegs. https://medlineplus.gov/ency/article/001585.htm. Accessed November 9, 2021.

Bowlegged Baby: Common Occurrence or a Cause for Concern?. https://flo.health/being-a-mom/your-baby/baby-health-and-safety/bowlegged-baby. Accessed November 9, 2021.

Bow Legs (Genu Varum). https://kidshealth.org/en/parents/bow-legs.html. Accessed November 9, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/10/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เด็กขาดวิตามินดี ส่งผลเสียอย่างไรบ้าง

โรคกระดูกอ่อนในเด็ก อาการ สาเหตุ และการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 12/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา