backup og meta

สะดือจุ่น เป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็กหรือไม่

สะดือจุ่น เป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็กหรือไม่

สะดือจุ่น หรือภาวะไส้เลื่อนบริเวณสะดือ (Umbilical hernia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด อาจเกิดจากกล้ามเนื้อท้องบริเวณสะดือไม่ประสานกันหลังจากตัดสายสะดือ จึงส่งผลให้มีรูเล็ก ๆ บริเวณสะดือที่ลำไส้เล็กสามารถโผล่ออกมาได้ โดยทั่วไป สะดือจุ่นมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี แต่บางรายอาจมีภาวะสะดือจุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่และอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

สะดือจุ่น คืออะไร

สะดือจุ่น เป็นคำที่นิยมใช้เรียกภาวะไส้เลื่อนที่บริเวณสะดือ (Umbilical hernia) ซึ่งอาจเกิดจากกล้ามเนื้อท้องใกล้ ๆ สะดือไม่ประสานกันหลังจากตัดสายสะดือ และส่งผลให้ลำไส้เล็กบางส่วนโผล่ออกมาได้ ภาวะนี้พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด และมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุ 1-2 ปี แต่ในบางกรณีก็อาจมีภาวะสะดือจุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงบางประการ เช่น การมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน การเกร็งหน้าท้องตอนยกของหนัก การไอเรื้อรัง การท้องลูกแฝด ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะสะดือจุ่นในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน

คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นได้ว่าลูกมีภาวะสะดือจุ่นเมื่อเด็กร้องไห้ ไอ จาม หรือท้องตึง ส่วนใหญ่มักไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วดแต่อย่างใด แต่เด็กบางคนอาจมีอาการปวดท้อง ท้องบวม คลื่นไส้ แต่หากผู้ใหญ่มีภาวะสะดือจุ่น อาจก่อให้เกิดอาการไม่สบายท้องได้

วิธีรักษา สะดือจุ่น

ภาวะสะดือจุ่นในเด็กมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุได้ 1-2 ปี แต่หากเด็กมีอาการปวดท้องเรื้อรัง อาเจียน ผิวหนังบริเวณสะดือบวม กดแล้วเจ็บ ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ลำไส้เล็กหรือเนื้อเยื่อบริเวณท้องที่ยื่นออกมาไม่สามารถกลับเข้าไปในช่องท้องได้ จนส่งผลให้เลือดไม่ไหลเวียนและเนื้อเยื่อส่วนนั้นตาย นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อกระจายทั่วช่องท้องจนเสี่ยงเสียชีวิตได้ด้วย

หากจำเป็น คุณหมอจะต้องรักษาภาวะสะดือจุ่นด้วยการผ่าตัดเพื่อดันลำไส้เล็กที่ยื่นออกมากลับเข้าไปในช่องท้อง และทำให้ผนังช่องท้องแข็งแรงขึ้น ในเด็กอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาสะดือจุ่นหากสะดือจุ่นมีขนาดใหญ่ หรือไม่หายไปเองแม้เด็กจะอายุได้ 4-5 ปีแล้ว

หลังเข้ารับการผ่าตัด คุณหมอจะแนะนำให้งดทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงเยอะ หรือต้องเกร็งหน้าท้องอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้แผลผ่าตัดหายสนิท และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Umbilical Hernia. https://www.cincinnatichildrens.org/health/u/umbilical-hernia. Accessed October 9, 2019

What Are Umbilical Hernias?. https://www.webmd.com/parenting/baby/what-are-umbilical-hernias#1. Accessed October 9, 2019

Umbilical Hernia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/umbilical-hernia/symptoms-causes/syc-20378685#:~:text=An%20umbilical%20hernia%20occurs%20when,can%20affect%20adults%20as%20well. Accessed July 14, 2022

Umbilical hernia repair. https://www.nhs.uk/conditions/umbilical-hernia-repair/. Accessed July 14, 2022

Umbilical Hernia. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/hernias/umbilical-hernia. Accessed July 14, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/07/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีลดไข้ทารกแรกเกิด และการป้องกันลูกเป็นไข้

เคล็ดลับในการเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อ ดูแลผิวทารก มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 14/07/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา