backup og meta

สายสะดือ มีหน้าที่อะไร และวิธีดูแลสายสะดือที่ถูกต้อง

สายสะดือ มีหน้าที่อะไร และวิธีดูแลสายสะดือที่ถูกต้อง

สายสะดือ ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารและออกซิเจน เพื่อช่วยให้ลูกน้อยได้มีพัฒนาการในการเจริญเติบโตตอนที่ยังอยู่ในครรภ์ แต่หลังจากที่ทารกคลอดออกมา สายสะดือก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป สายสะดือจึงถูกตัดและรัดเอาไว้จนกลายเป็นตอสั้น ๆ ซึ่งถ้าดูแลไม่ดี ก็อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อจนทำให้เลือดไหลออกมา มีไข้ มีหนองไหลอกมาได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

สายสะดือ คืออะไร

สายสะดือ เป็นสายที่ต่อมาจากช่องท้องของทารก แล้วเชื่อมต่อกับรก ทำหน้าที่ในการลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนผ่านทางรกที่ติดอยู่กับผนังมดลูกด้านในของคุณแม่ หลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว สายสะดือจะถูกรัดและตัดให้ชิดอยู่กลางลำตัวของร่างกายเด็ก ทำให้เกิดเป็นตอสะดือ ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่ทำให้ทารกรู้สึกเจ็บปวด สายสะดือจะแห้งและหลุดออกภายใน 7-21 วัน เหลือไว้แต่แผลเล็ก ๆ ที่อาจหายได้เองภายใน 2-3 วัน

วิธีดูแลสายสะดือ

สายสะดือจะแห้งและหลุดออกไปในที่สุด ซึ่งโดยปกติจะหลุดออกภายใน 1-3 สัปดาห์หลังคลอด ซึ่งในระหว่างนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ควรดูแลสายสะดือให้เด็กทารก ด้วยวิธีการต่อไปนี้

  • รักษาความสะอาดและทำให้สายสะดือแห้งอยู่เสมอ พับผ้าอ้อมไม่ให้ไปกดทับในบริเวณสายสะดือ (หรือซื้อผ้าอ้อมสำหรับเด็กแรกเกิดที่ทำรอยเว้าเอาไว้สำหรับสายสะดือ) วิธีนี้อาจช่วยให้สายสะดือโดนลม และช่วยป้องกันไม่ได้โดนปัสสาวะของเด็กด้วย
  • อาบน้ำให้ลูกน้อยด้วยการใช้ฟองน้ำ ชุบน้ำเช็ดตามเนื้อตัวให้ลูกน้อย แทนการจับลูกน้อยลงไปนอนแช่ในอ่างน้ำ
  • เลือกเสื้อผ้าที่โปร่งสบายให้ลูกน้อย ถ้าสภาพอากาศอบอุ่นสบาย ก็ให้ลูกน้อยใส่แค่ผ้าอ้อมและเสื้อยืดหลวม ๆ เพื่อช่วยให้เกิดอากาศถ่ายเท ซึ่งจะทำให้แผลแห้งได้เร็วขึ้น
  • อย่าสวมเสื้อผ้ารัดแน่นให้ลูกน้อย หลีกเลี่ยงการสวมกางเกงหรือบอดี้สูทให้ลูกน้อย
  • อย่าพยายามแกะแผลสายสะดือ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การไม่ไปแตะต้องกับแผลบริเวณสะดือเลย จะช่วยให้แผลแห้งได้เร็วกว่า และไม่ต้องเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ 

สัญญาณที่บ่งบอกว่าสายสะดือเกิดการติดเชื้อ

ถึงแม้แผลสายสะดือจะเกิดอาการติดเชื้อได้ยาก แต่ถ้าลูกน้อยมีอาการต่อไปนี้ ก็ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที

  • ลูกน้อยร้องไห้เวลาที่คุณพ่อคุณแม่สัมผัสกับสายสะดือหรือผิวหนังในบริเวณที่อยู่ใกล้เคียง
  • ผิวหนังรอบ ๆ ฐานสายสะดือเป็นสีแดง
  • สายสะดือมีกลิ่นเหม็นหรือมีหนองสีเหลือง ๆ

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อสายสะดือหลุดออก

  • การมีเลือด 2-3 หยดติดอยู่บนผ้าอ้อมถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้ามีเลือดออกมากและแผลบริเวณสายสะดือแยกออกจากกัน ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที
  • ถ้าสายสะดือไม่หลุดออกหลังผ่านไป 3 สัปดาห์ ควรทำให้บริเวณที่เป็นแผลแห้งอยู่ตลอดเวลา และอย่าให้ผ้าอ้อมไปกดทับในบริเวณที่เป็นแผล ถ้าผ่านไป 6 สัปดาห์แล้วสายสะดือยังไม่หลุดออก หรือสังเกตเห็นสัญญาณของการมีไข้หรือติดเชื้อ ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที
  • เมื่อสายสะดือหลุดออก คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลรอยแผลในบริเวณนั้นให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ อาจมีของเหลวเหนียว ๆ สีเหลือง ๆ ไหลออกมาถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งบางครั้งก็อาจเกิดขึ้นหลังสายสะดือหลุดไปแล้ว ซึ่งนั่นไม่ใช่หนอง และไม่ใช่อาการติดเชื้อ
  • นอกจากนี้คุณอาจเห็นแผลตกสะเก็ดบริเวณสะดือ นี่ก็ถือเป็นเรื่องปกติเหมือนกัน แต่ถ้าท้องของลูกน้อยมีสีแดง ๆ มีไข้ หรือมีหนองไหลออกมา ควรรีบพาไปพบคุณหมอทันที
  • บางครั้งเนื้อเยื่อแผลเป็นเล็ก ๆ อาจก่อตัวขึ้นมาเป็นตุ่มแดง ๆ กลางสะดือ ซึ่งถ้าหนึ่งสัปดาห์ผ่านไปแล้วยังไม่หายไป ควรแจ้งให้คุณหมอทราบ ซึ่งคุณหมออาจทาสารซิลเวอร์ไนเตรทลงบนตุ่มแดง ซึ่งอาจทำให้ที่ทาสารไหม้และแห้งขึ้นได้ แต่สายสะดือไม่มีเส้นประสาท ฉะนั้น ไม่ต้องกังวลว่าลูกน้อยจะเจ็บปวด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Caring for your newborn’s umbilical cord stump. https://www.babycenter.com/0_caring-for-your-newborns-umbilical-cord-stump_127.bc. Accessed on August 1, 2018

Umbilical cord care: Do’s and don’ts for parents. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/umbilical-cord/art-20048250. Accessed on August 1, 2018

Umbilical Cord Care. https://americanpregnancy.org/first-year-of-life/umbilical-cord/. Accessed 21 October 2019

Umbilical Cord Care. https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-umbilical-cord#1. Accessed June 28, 2021.

Umbilical care. https://raisingchildren.net.au/newborns/health-daily-care/hygiene-keeping-clean/umbilical-care. Accessed June 28, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/04/2023

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฉี่รดที่นอน ในเด็ก สาเหตุและวิธีแก้ปัญหา

ทารกท้องอืด แก๊สในกระเพาะอาหารเยอะ รับมือได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 04/04/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา