backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 เป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มรู้จักมองดูสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และมักจะชอบดูดนิ้ว คุณแม่จึงควรดูแลความสะอาดมือและนิ้วมือของลูกเป็นประจำ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ อาจใช้จุกนมหลอกเพื่อช่วยป้องกันลูกดูดนิ้ว และควรพาลูกน้อยเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี และตรวจร่างกาย

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4

ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

เมื่อลูกอายุครบ 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน มักจะชอบดูดนิ้ว หรือสิ่งที่อยู่ใกล้ปาก แต่การดูดนิ้วก็อาจทำให้ลูกเสี่ยงได้รับเชื้อโรคจากนิ้วมือได้ คุณแม่อาจให้ลูกดูดจุกนมแทน และควรดูแลมือของลูกให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

เมื่ออายุ 4 สัปดาห์ ลูกอาจเพ่งมองไปที่วัตถุไกล ๆ ได้ในระยะ 20-35 เซนติเมตร

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

พยายามจ้องมองหน้าลูกบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกพยายามยกหัวขึ้นมามองตอบคุณพ่อคุณแม่ สามารถใช้ผ้าม้วนหรือผ้าห่มยัดเอาไว้ใต้อก เพื่อช่วยให้ลูกเริ่มดันตัวขึ้นได้ง่าย และอาจช่วยในการพัฒนาระบบประสาทและการควบคุมกล้ามเนื้อของลูกได้

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

คุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอตามนัด โดยคุณหมออาจตรวจร่างกายลูกน้อย ดังนี้

  • การเจาะเอาเลือดตัวอย่างจากข้อเท้าไปตรวจดูว่าลูกมีโรคต่าง ๆ เช่น โรคทางเดินปัสสาวะ โรคฟีนิลคีโตนูเรีย ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ปัญหาความผิดปกติของระบบเผาผลาญ หรือไม่ ทั้งนี้ คุณหมออาจแนะนำให้ทำการทดสอบในเชิงลึก เพื่อตรวจหาความผิดปกติหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ด้วย หากลูกมีภาวะเสี่ยง
  • หากคุณแม่มีไวรัสตับอักเสบบี ลูกอาจต้องได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีภายใน 2 เดือนแรก หรือคุณหมออาจให้วัคซีนสังเคราะห์สำหรับโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เมื่อเด็กมีอายุได้ 2 เดือน ทั้งนี้ ควรปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมกับลูกน้อยที่สุด
  • การทดสอบการได้ยิน คุณหมอจะตรวจสอบว่าลูกมีการบกพร่องทางการได้ยินหรือไม่

สิ่งที่ควรรู้

ในช่วงเดือนแรก ๆ นั้น ลูกน้อยจะร้องไห้บ่อยมาก โดยมักจะร้องไห้ในช่วงอายุ 3-6 สัปดาห์ และมักจะเกิดขึ้นแบบปุบปับในช่วงกลางคืน เด็กหลายคนจะร้องไห้อย่างหนักหน่วงชนิดกล่อมยังไงก็ไม่ยอมหยุด โดยจะกำมือและงอขาแน่น แต่โรคนี้จะค่อย ๆหายไปเองใน 3 เดือน

เด็กบางคนอาจเป็นโรคโคลิค ซึ่งพบมากในเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 3 เดือน เด็กที่เป็นโคลิกจะร้องไห้มากที่สุดในช่วง 3 เดือนแรก แต่อาการของโรคโคลิคนั้นจะต่างออกไป เด็กที่มีอาการของโรคนี้จะร้องไห้ครั้งละ 3 ชั่วโมง สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 ครั้ง เป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ติดต่อกัน

โรคโคลิคอาจเกิดจากระบบย่อยอาหารของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ เกิดจากการแพ้อาหาร หรือระบบประสาทมีการพัฒนาอยู่ตลอด ทำให้อารมณ์ของเด็กยังถูกกระตุ้นได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเป็นโรคโคลิคอาจรู้สึกเป็นกังวล แต่ส่วนใหญ่แล้ว ภาวะนี้เป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น มักไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว

ลูกร้องไห้บ่อย หรือเป็นโคลิค รับมืออย่างไรดี

  • พยายามสร้างสภาพแวดล้อมให้อบอุ่นและเงียบสงบ เหมือนตอนที่ลูกยังอยู่ในมดลูก โดยใช้ผ้าห่มต่อตัวลูกไว้ให้มิดชิด แกว่งไกวลูกในอ้อมแขน หรือจะให้นอนในเปลก็ได้
  • บางครั้ง เสียงที่มีรูปแบบชัดเจน สม่ำเสมอ เช่น เสียงเครื่องดูดฝุ่น เสียงเครื่องล้างจาน เสียงเครื่องอบผ้า ก็อาจช่วยให้ลูกสงบลงได้ หรือคุณแม่อาจลองวางขวดน้ำหรือผ้าอุ่น ๆ ไว้บนหน้าท้องของลูก หรือให้ลูกดูดจุกนมหลอกก็ได้
  • อาการของโรคโคลิคอาจดีขึ้น เมื่อให้ลูกใช้ยาไซเมทิโคน (Simethicone) ซึ่งเป็นยาลดกรดในลำไส้ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ทั้งนี้ ควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนให้ลูกอายุ 4 สัปดาห์ (1 เดือน) ใช้ยาทุกครั้ง
  • การได้ยินเสียงเด็กร้องไห้ อาจทำให้รู้สึกหงุดหงิดและเหนื่อยหน่ายได้ จึงควรมีคนมาสลับเปลี่ยนในการดูแลลูกน้อย และต้องแน่ใจว่า ลูกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยด้วย
  • ควรบอกให้คุณหมอทราบ ถ้าลูกกรีดร้องด้วยความเจ็บปวด ถ้าลูกน้ำหนักตัวไม่ยอมขึ้น มีไข้ หรือยังมีอาการของโรคโคลิคอยู่ เมื่อเลย 3 เดือนไปแล้ว เพราะอาการพวกนี้อาจบ่งบอกถึงปัญหาทางสุขภาพก็ได้

สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

ในช่วงนี้ควรใส่ใจในเรื่องสุขภาพของลูกน้อยและการสูบบุหรี่ให้มาก คุณพ่อคุณแม่ และคนอื่น ๆ ที่ใกล้ชิดลูก ควรเลิกสูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่อาจเป็นอันตรายต่อลูกได้ ดังนี้

  • ควันบุหรี่จะทำให้ปอดของลูกอ่อนแอ จนอาจนำไปสู่โรคระบบทางเดินหายใจ และทำให้ติดเชื้อที่หูได้ง่าย
  • ควันบุหรี่ทำให้การหายใจของเด็กผิดปกติ จนทำให้เกิดการกรนในขณะนอนหลับได้ โดยมีหลักฐานยืนยันว่า ควันบุหรี่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ พฤติกรรม และการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งยังอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตเฉียบพลันในเด็กได้ถึง 2 เท่า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

4 week old. https://www.babycentre.co.uk/s1001642/4-week-old. Accessed December 30, 2022

Stanford Children’s Health. Infant sleep. Accessed December 30, 2022

American Academy of Pediatrics. Developmental milestones: 1 month. Accessed December 30, 2022

U.S. National Library of Medicine. Colic and crying – self-care. Accessed December 30, 2022

Nemours KidsHealth. Your newborn’s growth. Accessed December 30, 2022

Stanford Children’s Health. The growing child: 1 to 3 months. Accessed December 30, 2022

Nemours KidsHealth. Your child’s checkup: 1 month. Accessed December 30, 2022

American Academy of Pediatrics. Back to sleep, tummy to play. Accessed December 30, 2022

American Academy of Pediatrics. Checkup checklist: 1 month old. Accessed December 30, 2022

American Academy of Pediatrics. Rear-facing car seats for infants & toddlers. Accessed December 30, 2022

American Academy of Pediatrics. Common diaper rashes and treatments. Accessed December 30, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/05/2023

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเชื่อผิด ๆ เรื่อง โรคภูมิแพ้อาหาร เชื่อแบบนี้อาจเป็นอันตรายได้!

กินอย่างไรเมื่อ ระบบย่อยอาหาร มีปัญหา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 01/05/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา