พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 หรือประมาณ 2 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยอาจเริ่มมีการตอบสนองต่อเสียงรอบตัว เช่น เสียงกริ่ง เสียงพูดคุย และอาจจ้องมองด้วยความสงสัยใคร่รู้ ในช่วงนี้ลูกน้อยอาจใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนหลับ คุณพ่อคุณแม่ควรทำกิจวัตรก่อนเข้านอนด้วยการอาบน้ำอุ่นหรือเล่านิทานให้ลูก เพื่อสร้างนิสัยในการนอนที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก
[embed-health-tool-vaccination-tool]
การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6
ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร
การยิ้ม คือ ภาษาสากล ฉะนั้นคุณแม่เตรียมตัวรอรับรอยยิ้มที่มองไม่เห็นฟันจากลูกเป็นรางวัลได้เลย รอยยิ้มนี้อาจทำให้หัวใจละลายได้ ในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนแรก ลูกน้อยอาจอาจแสดงอาการตอบสนองบางอย่างต่อเสียงกดกริ่งได้แล้ว อย่างเช่น การจ้องมอง ร้องไห้ หรือนิ่งเงียบ
ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร
ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับส่วนใหญ่ แนะนำให้พาลูกเข้านอนในขณะที่ยังตื่นอยู่แต่มีอาการงัวเงีย วิธีนี้จะช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้ที่จะกล่อมตัวเองให้นอนหลับได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากเวลาที่ลูกตื่นขึ้นมากลางดึก
ทั้งนี้ การสร้างนิสัยการนอนที่ดีให้ลูกตั้งแต่ยังเด็กสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การทำกิจวัตรก่อนเข้านอนด้วยการอาบน้ำอุ่นให้สบาย นวดเนื้อนวดตัวหรือเล่านิทานให้ลูกน้อยฟัง
สุขภาพและความปลอดภัยของพัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6
ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร
หมออาจอาจทำการตรวจสอบร่างกายในด้านต่าง ๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประวัติสุขภาพของลูกว่าเป็นอย่างไร ถ้ามีนัดไปพบหมอในช่วงสัปดาห์นี้ ก็ควรปรึกษากับหมอในเรื่องต่อไปนี้
- ถ้าลูกน้อยมีน้ำหนักตัวขึ้นช้า พัฒนาการช้า การตอบสนองต่าง ๆ
- ถ้ารู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ พฤติกรรม การนอนหลับ และการป้อนนมให้แก่ลูกน้อย ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
สิ่งที่ควรรู้
- อาหารสำหรับเด็ก
ไม่ต้องเป็นกังวลถ้าไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน เด็กที่กินนมจากขวดก็สามารถมีสุขภาพดี มีความสุข และทำน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม ถ้าได้รับน้ำนมอย่างพอเพียง
ถ้าให้นมมากไปอาจกลายเป็นเด็กอ้วน และอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ได้ ถ้าลูกน้อยบ้วนนมทิ้ง ปวดท้อง หรือมีน้ำหนักตัวมากเกิน อาจหมายถึงได้รับนมในปริมาณที่มากเกินไป อาจปรึกษาคุณหมอว่าควรจะให้นมลูกแต่ละครั้งในปริมาณเท่าไร นอกจากนี้ ในเด็กบางรายที่สุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีโรคประจำตัว คุณหมออาจแนะนำให้ลูกน้อยกินอาหารเสริมและวิตามินต่าง ๆ เช่น วิตามินดี ธาตุเหล็ก
- ท่าทางการนอนหลับ
การนอนหงาย คือ ท่าทางการนอนที่เหมาะที่สุด เด็กที่นอนหงายจะเป็นไข้น้อยกว่า มีปัญหาทางระบบทางเดินหายใจน้อยกว่า มีอาการติดเชื้อในหูน้อยกว่า และไม่มีแนวโน้มจะอาเจียนในช่วงกลางคืน ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกน้อยนอนหงาย
- การหายใจของทารก
อัตราการหายใจของทารกแรกเกิดจะอยู่ที่ 40 ครั้งต่อนาทีในเวลาตื่น ส่วนในเวลาที่ลูกหลับอยู่นั้น การหายใจอาจช้าลงถึง 20 ครั้งต่อนาที แต่สิ่งที่ต้องระวังให้ดีก็คือ จังหวะการหายใจที่ผิดปกติในขณะนอนหลับ เช่น หายใจมีเสียงครืดคราด หายใจถี่ และควรตรวจสอบที่นอนลูกว่าไม่มีสิ่งของไปอุดกั้นการหายใจ
ลูกน้อยอาจหายใจเร็ว โดยหายใจเร็วเป็นช่วงสั้น ๆ 15 ถึง 20 วินาทีแล้วหยุดในช่วยระยะเวลาไม่เกิน 10 วินาที แล้วหายใจอีกครั้ง การหายใจในรูปแบบนี้เรียกว่าการหายใจเร็ว อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจ จริง ๆ แล้วมีสาเหตุมาจากศูนย์ควบคุมการหายใจในสมองยังพัฒนาไม่เต็มที่ เมื่อลูกน้อยโตขึ้น อาการเหล่านี้จะหายไป
- สุขอนามัยของสะดือ
การติดเชื้อในสะดือนั้นพบได้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าดูแลความสะอาด และทำให้สะดือของลูกน้อยแห้งอยู่เสมอ โดยปกติแล้ว สายสะดือจะแห้งและหลุดออกเองภายในหนึ่งหรือสองสัปดาห์หลังคลอด เมื่อสายสะดือหลุดออก อาจสังเกตเห็นเลือดไหลออกมาเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดามาก และไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลอะไร แต่ถ้าสะดือไม่ปิดสนิทและไม่แห้งภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากที่สายสะดือหลุดออกไปแล้ว ก็ควรพาลูกน้อยไปพบหมอ เพื่อจะได้รับการดูแลและความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที รวมทั้งถ้าสังเกตเห็นผิวหนังโดยรอบหรือสายสะดือมีอาการแดงขึ้น หรือมีของเหลวไหลออกจากส่วนล่างของสายสะดือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสะดือมีกลิ่นเหม็นควรพาไปพบหมอเช่นกัน
สิ่งที่ต้องเป็นกังวล
การนอนของทารก
ในช่วงพัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 ของลูกน้อย อาจใช้วิธีพาลูกเข้านอนดังนี้
- ควรให้ลูกนอนในเตียงหรือรถเข็นเด็ก หรือเปลนอนชนิดเข็นได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถยกทารกเข้าออกได้ง่ายขึ้น
- ลดแสงในห้องนอนของลูกน้อย หรือทำให้มืดสนิทแต่มีโคมไฟดวงเล็ก ๆ วางไว้ใกล้ ๆ ในที่สะดวกเปิด
- ป้อนอาหารหรือกล่อมลูกน้อยในท่าที่สามารถพาลงไปนอนในเปลหรือเตียงได้ง่ายที่สุด
- คอยเฝ้าดูลูกน้อยให้แน่ใจว่าหลับสนิทและไม่มีผ้าหรือสิ่งของกีดขวางการหายใจ
- ร้องเพลงกล่อมเด็ก เปิดเพลงกล่อม หรืออ่านนิทาน
การร้องไห้
ในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนแรกนี้ ลูกน้อยอาจจะยังร้องไห้อยู่ อาจลองปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อรับมือกับอาการร้องไห้ซึ่งนับเป็นหนึ่งใน พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 ของลูกน้อย
- ไม่ต้องคิดว่าจะทำให้ลูกน้อยเสียนิสัย เมื่อรีบอุ้มลูกทันทีที่ได้ยินเสียงร้อง เด็ก ๆ ต้องการความอบอุ่นและความรู้สึกปลอดภัยโดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก
- เด็กที่ถูกอุ้มไว้ในอ้อมแขน หรืออยู่ในรถเข็นเด็กอย่างน้อยวันละ 3 ชั่วโมง จะร้องไห้น้อยกว่าเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยพาออกไปเที่ยวไหน
- การใช้ผ้าห่อทารกอย่างแน่นหนา จะทำให้เด็กบางคนรู้สึกสบายขึ้นในช่วงที่มีอาการของโรคโคลิค
- การกอดจะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกได้ถึงความปลอดภัย
- การนวดท้องของลูกน้อยเบา ๆ จะช่วยบรรเทาความไม่สบายตัว ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กร้องไหัได้
- ป้อนนมลูกหรือใช้จุกนมหลอก
- ส่งเด็กไปให้คนอื่นอุ้มแทน เพื่อเติมความสดใสขึ้นมาใหม่
- พาลูกน้อยไปสูดอากาศบริสุทธิ์ เพื่อให้ลูกสบายอกสบายใจ
- ช่วยให้ลูกเรอออกมาบ่อย ๆ ในระหว่างการให้นม เพื่อไล่ลมที่ถูกกลืนเข้าไปออกมา
- สร้างความรื่นเริงบันเทิงใจให้ลูกน้อย
- สร้างความตื่นเต้นให้ลูกน้อย เพื่อให้หยุดร้องไห้
- ตรวจสอบการให้อาหาร ต้องแน่ใจว่าลูกน้อยไม่ได้ร้องไห้เพราะหิว
- ปรึกษาคุณหมอหากสังเกตว่า ทารกมีอาการอื่น ๆ ที่ผิดปกติ ร้องไห้ไม่หยุด หรือร้องเหมือนเจ็บปวดอย่างมาก