backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

เพิ่มพลังสมองลูก วัยทารก ทำได้อย่างไรบ้าง

เพิ่มพลังสมองลูก วัยทารก ทำได้อย่างไรบ้าง

เด็กวัยทารก ถือเป็นวัยที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การส่งเสริมพัฒนาการ และ เพิ่มพลังสมองลูก ในวัยนี้ ด้วยวิธีที่เหมาะสม ถือเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตพัฒนาการทางสมอง สติปัญญา อารมณ์ ร่างกาย และจิตใจของทารกอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติทางด้านพัฒนาการใด ๆ ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด

9 วิธีช่วย เพิ่มพลังสมองลูก

1. อ่านหนังสือให้ลูกฟัง

เลือกหนังสือที่มีรูปภาพขนาดใหญ่ ที่มีสีสันและรูปร่างสวยสดงดงาม แล้วร่วมแบ่งปันความสุขกับลูกน้อย ด้วยการชี้ไปที่รูป พร้อมกับทำเสียงที่ฟังดูน่าสนใจ อย่างเช่น ทำเสียงสัตว์เวลาที่เปิดไปเจอรูปสัตว์ที่อยู่ในฟาร์ม ปรับโทนเสียงให้ฟังดูน่าตื่นเต้น พร้อมกับเล่าเรื่องราวให้ฟังง่ายๆ หรือใส่รายละเอียดที่น่าสนใจ ภาษาที่เขาได้ยินรวมทั้งสิ่งทีคุณพูดกับเขาทุกวันนั้น มีส่วนอย่างมากในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาของลูกน้อย

2. เล่นสนุกกับลูกน้อย

การเล่นกับลูกน้อย เช่น การจั๊กจี้ หรือการนวดตัวทารก มีผลการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ทารกที่ได้รับการเอาใจใส่จากแม่ด้วยวิธีการเหล่านี้ จะมีสมองส่วนหน้าที่เกี่ยวข้องกับความจำที่หนากว่าเด็กที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่ ซึ่งก็หมายความว่า ลูกน้อยจะมีพัฒนาการทางด้านความจำ การเพ่งความสนใจ และมีความสามารถในการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

3. ทำหน้าตลกๆ

การทำหน้าตลกๆ ให้ลูกน้อยดู เด็กแรกเกิดที่มีอายุตั้งแต่สองวันขึ้นไป สามารถเลียนแบบการเคลื่อนไหวบนใบหน้าที่เขาเห็นได้แล้ว ซึ่งนี่เป็นสัญญาณของการแก้ปัญหาช่วงเริ่มต้นชีวิตของเขา

4. ร้องเพลงง่ายๆ ที่มีจังหวะและวลีซ้ำๆ

เพลงเด็กๆ อย่างเช่น แมงมุมลายตัวนั้นและ เป็ดอาบน้ำในคลองนับเป็นเพลงตัวอย่างที่ดีในการร้องให้ลูกน้อยฟัง ซึ่งคุณควรจะทำท่าทางประกอบ หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวนิ้ว เพื่อช่วยให้ลูกน้อยจดจำเสียง ด้วยจังหวะการเคลื่อนไหวแบบเล็กๆ หรือแบบใหญ่ๆ นอกจากนี้เพลงเด็กพวกนั้นยังช่วยเพิ่มจังหวะ เสียงสัมผัส และรูปแบบทางภาษาในการเรียนรู้ให้ลูกน้อยด้วย

5. บรรยายการกระทำทุกสิ่งทุกอย่าง

การเล่าให้ลูกน้อยฟัง อย่างเช่น แม่กำลังใส่ถุงเท้าให้ลูกอยู่นะหรือ แม่กำลังจับตัวหนูให้นั่งอยู่บนเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กอยู่นะจะช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ รวมทั้งแสดงให้ลูกเห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารด้วย

6. ป้อนนมแม่หรือนมขวด

การป้อนนมให้ลูกน้อย ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างความผูกพันระหว่างแม่กับลูกเท่านั้นนะ แต่ยังช่วยกระตุ้นสมองให้ลูกน้อยได้เป็นอย่างดีด้วย เมื่อทารกคลอดออกมานั้น เขาจะเพ่งมองใบหน้าของแม่ในระหว่างที่กำลังป้อนนม ซึ่งในช่วงนั้นคุณก็กำลังก้มมองลูกน้อยอยู่เหมือนกัน ซึ่งทั้งคุณและลูกน้อย ต่างก็แสดงความรู้สึกบนใบหน้า

การโต้ตอบและเลียนเสียงอ้อแอ้ของลูกน้อย จะช่วยให้เขาเรียนรู้ที่จะเปล่งคำพูด และการพูดคุยกับคุณ ถ้าคุณให้ลูกน้อยกินนมขวด ก็ควรวางขวดนมในระดับหน้าอก เพื่อให้แน่ใจว่ามีความใกล้พอจะให้ลูกน้อยเพ่งมองใบหน้าของคุณได้

7. การเปลี่ยนผ้าอ้อม

งานเปลี่ยนผ้าอ้อมสกปรกๆ อาจไม่ใช่งานที่น่ารื่นรมย์สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่นัก แต่อย่าประเมินภารกิจนี้ต่ำเกินไปล่ะ เพราะในช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่เหมาะมาก

ในการนำภาษาเข้ามาใช้ในชีวิตของลูกน้อย คุณควรพูดคุย หรือบรรยายสิ่งที่คุณกำลังทำให้เขาอยู่ และสิ่งที่จะทำให้เขาต่อไป ทารกจะได้สามารถคาดหวังรูปแบบการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวันของพวกเขาได้ ฉะนั้น ถ้าคุณเปลี่ยนผ้าอ้อมพร้อมกับร้องเพลงให้เขาฟัง ก็เป็นการสร้างรูปแบบการดำเนินชีวิตให้ลูกน้อยคาดการณ์ได้แล้ว

8. อาบน้ำให้ลูกน้อย

นี่ไม่ใช่แค่เวลาอาบน้ำเท่านั้น แต่ยังถือเป็นชั่วโมงเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับลูกน้อยด้วย ทารกชอบการเทน้ำ จากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่ง และในระหว่างที่เจ้าตัวเล็กของคุณกำลังสนุกสนานอยู่ในอ่างอาบน้ำนั้น เขาก็สามารถเรียนรู้เหตุและผลว่า แรงโน้มถ่วงของโลกทำงานยังไง และสังเกตปริมาณของน้ำ ซึ่งนี่คือทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ในวัยแรกเริ่มของลูกน้อย

นอกจากนี้ การร้องเพลงในขณะถูสบู่ให้ลูกน้อยนั้น จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาให้เขาได้ และการใช้ผ้าขนหนูเล่น จ๊ะเอ๋กับเขา ก็จะช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้ว่า วัตถุจะคงยังอยู่ถึงแม้เขาจะมองไม่เห็นก็ตาม

9. พาลูกน้อยไปช้อปปิ้ง

แทนที่จะให้ลูกน้อยเล่นโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตในรถเข็นของห้างสรรพสินค้า ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เปิดมุมมองให้ลูกน้อย ด้วยการบรรยายสถานที่ กลิ่น และรูปร่างของสิ่งต่างๆ ให้ลูกน้อยมีโอกาสได้สัมผัสกับลูกกีวี่ และแสดงให้เขาเห็นว่าลูกกีวี่ต่างจากผลส้มยังไง นอกจากนี้คุณอาจระบุสี หรือนับจำนวนผักหรือผลไม้ ตอนที่คุณหยิบใส่ลงในถุงด้วยก็ได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/03/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง

avatar

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 30/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา