backup og meta

ปวดหัวขณะให้นมลูก เกิดจากสาเหตุใด

ปวดหัวขณะให้นมลูก เกิดจากสาเหตุใด

ปวดหัว เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังให้นมลูก อย่างไรก็ตาม หลังคลอดนั้นคุณแม่มือใหม่อาจจะพบเจอปัญหาที่หลากหลายอย่าง เช่น ปวดเมื่อยร่างกาย เจ็บหัวนมบ้างเป็นบางครั้ง จนอาจกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่มือใหม่ แต่สำหรับอาการ ปวดหัวขณะให้นมลูก อาจเป็นปัญหาแอบแฝงมากกว่าที่คุณแม่หลายคนคิด

อาการ ปวดหัวขณะให้นมลูก คืออะไร

ปวดหัวขณะให้นมลูก มักจะเกิดตลอดระยะเวลาที่ให้นมลูก แต่อาการนี้มักจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอาการปวดหัวขณะให้นมลูกเกิดจากสาเหตุใด อาการที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะการเพิ่มขึ้นของระดับของฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการคลอดลูกและให้นมลูก แต่ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากเรื่องอื่นได้เช่นกัน

สาเหตุของอาการปวดหัวขณะให้นมลูก

กลไกการหลั่งน้ำนม

คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการปวดหัวขณะให้นมลูก เนื่องจากกลไกการหลั่งน้ำนมและการปล่อยฮอร์โมนออกซิโทซิน ในบางครั้งอาการปวดหัวนี้อาจหายไปภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ แต่ก็อาจจะมีอาการเรื้อรังต่อไปจนกว่าลูกจะหย่านม

เต้านมคัด

อาการเต้านมคัดเป็นผลมาจากการที่ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มมากขึ้น อาการปวดหัวขณะให้นมลูกอาจมีสาเหตุมาจากการที่เต้านมของคุณแม่มีอาการตึง บวม ปวด และมีอุณหภูมิสูงขึ้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปริมาณฮอร์โมนออกซิโทซินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งฮอร์โมนชนิดเดียวกันกับที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวขณะตั้งครรภ์

ขาดสารอาหารหรือขาดน้ำ

หากคุณแม่รับประทานอาหารไม่เพียงพอหรืองดอาหาร ระดับน้ำตาลในร่างกายจะลดลง ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า อ่อนแรง และปวดหัวได้ นอกจากนี้ ในน้ำนมยังประกอบไปด้วยน้ำกว่า 88% คุณแม่ที่ให้นมลูกส่วนใหญ่มักจะรู้สึกกระหายน้ำขณะให้นมลูก ดังนั้น การดื่มน้ำไม่เพียงพออาจทำให้คุณแม่เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งนำมาสู่อาการปวดหัว

เหนื่อยล้า

คุณแม่มือใหม่อาจเหนื่อยล้าและนอนไม่พอเนื่องจากต้องดูแลลูก การนอนไม่พอและการหมดแรงอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ ดังนั้น ควรพยายามพักผ่อน หรืองีบหลับในระหว่างวัน เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้ดีขึ้น

ปวดหัวไมเกรน

หากคุณแม่เคยมีอาการปวดหัวไมเกรนก่อนที่จะตั้งครรภ์อยู่แล้ว อาจทำให้อาการไมเกรนนั้นแย่ลงได้ในช่วงหลังคลอดบุตร เนื่องจาก การเปลี่ยนยาที่ใช้หรือมาจากความเครียดที่เพิ่มขึ้นขณะที่ต้องดูแลลูก

วิธีแก้อาการปวดหัวขณะให้นมลูก

สำหรับวิธีแก้ปัญหาอาการปวดหัวขณะให้นมลูกอาจทำได้ดังนี้

  • นวด การนวดอาจบรรเทาอาการปวดหัวได้ดี เพราะเป็นการคลายเส้นประสาทและช่วยผ่อนคลาย โดยอาจนวดเป็นวงกลมไปรอบ ๆ ศรีษะ
  • ดื่มน้ำ เป็นหนึ่งในการรักษาการขาดน้ำจากร่างกาย ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการดื่มน้ำทุก ๆ ชั่วโมงอาจช่วยเพิ่มความรู้สึกให้รู้สึกสดชื่นและลดการปวดหัวได้เช่นกัน
  • แช่น้ำ การแช่น้ำอุ่นอาจช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดจากกล้ามเนื้อ ทั้งยังช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และรู้สึกสดชื่นขึ้น จึงอาจช่วยป้องกันอาการปวดหัวได้
  • อาหาร การกินอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบี 2 เช่น ทำให้อาการปวดหัวบรรเทาลงได้ โดยเฉพาะอาการปวดหัวที่เกิดจากไมเกรน โดยอาหารที่มีวิตามินบี 2 สูง ได้แก่ ผักขม แอปเปิ้ล นม ปลา ตับ ไต
  • นอนให้เพียงพอ ไม่มีอะไรที่ช่วยบรรเทาความตึงเครียดของประสาทได้เท่ากับการนอนหลับที่ดี ดังนั้น การนอนหลับอย่างเพียงพอในแต่ละวันจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ หากคุณแม่ต้องตื่นมาให้นมลูกตอนกลางคืนบ่อย ๆ ก็ควรงีบหลับเพิ่มเติมในช่วงกลางวันขณะที่ลูกนอนหลับ
  • ยา หากวิธีการบรรเทาอาการปวดหัวโดยไม่ใช้ยาอาจไม่ได้ผล คุณแม่อาจจะต้องปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับยาที่เหมาะสมในช่วงที่กำลังให้นมลูก โดยปกติมักจะเป็นยาที่หาซื้อได้ทั่วไป เช่น ยาไอบูโพรเฟน ยาอะเซตามิโนเฟน

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Headache While Breastfeeding: All You Need To Know. https://www.momjunction.com/articles/headache-while-breastfeeding_00371355/. Accessed September 25,  2019.

What to Know About Postpartum Headaches. https://www.webmd.com/parenting/what-to-know-about-postpartum-headaches. Accessed March 17, 2022

New Moms with Migraine: Understanding Postpartum Headache. https://americanmigrainefoundation.org/resource-library/postpartum-headache/. Accessed March 17, 2022

Classifying Postpartum Headache. https://americanheadachesociety.org/news/classifying-postpartum-headache/. Accessed March 17, 2022

Breastfeeding and Migraine Medications. https://www.migrainedisorders.org/breastfeeding-and-migraine-medications. Accessed March 17, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/03/2022

เขียนโดย pimruethai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปั๊มนม ให้ถูกวิธีควรทำอย่างไร และวิธีเก็บน้ำนมแม่ที่เหมาะสม

ฝึกลูก หย่านมแม่ อย่างไรให้ถูกวิธีและได้ผล


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 17/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา