backup og meta

ลูกกัดหัวนม ขณะกินนมแม่ เกิดจากสาเหตุใด แก้ไขยังไงได้บ้าง

ลูกกัดหัวนม ขณะกินนมแม่ เกิดจากสาเหตุใด แก้ไขยังไงได้บ้าง

ลูกกัดหัวนมแม่ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย โดยเฉพาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งให้ลูกกินนมแม่ครั้งแรก ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ให้นมในท่าที่ไม่ถูกต้อง ลูกห่วงเล่น น้ำนมไหลน้อย ฟันลูกเพิ่งงอก หากลูกกัดหัวนมคุณแม่ไม่ควรร้องเสียงดังหรือมีปฏิกิริยาที่รุนแรง เพราะอาจทำให้ลูกตกใจและไม่ยอมกินนมได้ แต่ควรรับมืออย่างเหมาะสม เช่น ฝึกอุ้มให้นมลูกอย่างถูกต้อง เบี่ยงเบนความสนใจลูก ให้ลูกกัดตุ๊กตายาง เพื่อฝึกให้ลูกเกิดกัดหัวนมของคุณแม่

[embed-health-tool-bmi]

สาเหตุที่ลูกกัดหัวนม ขณะกินนมแม่

ปัญหาลูกกัดหัวนม ขณะกินนมแม่ อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้

  • การให้ลูกกินนมด้วยท่าที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งนี่ถือเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะในเด็กวัยแบเบาะ หรือเด็กอ่อน
  • เด็กทารกที่เริ่มเข้าสู่วัยเตาะแตะ หรือเด็กวัยเตาะแตะ มักถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย แค่ได้ยินเสียงอะไรแว่ว ๆ หรือเห็นอะไรแว็บ ๆ  พวกเขาก็พร้อมจะหุบขากรรไกรและหันไปมองทันที โดยลืมไปเลยว่าตัวเองกำลังดูดนมแม่อยู่ เลยเผลองับหัวนมของคุณแม่เข้า
  • เด็กทารกบางคนชอบ กัดหัวนมแม่ ตอนกินนมเสร็จแล้ว
  • ลูกอาจหลับผล็อยไปขณะกำลังกินนมแม่ ทำให้เขากัดหัวนมของคุณแม่โดยไม่ตั้งใจ ฉะนั้น หากสังเกตได้ว่าขากรรไกรของลูกเริ่มเคลื่อนไหวช้า หรือลูกดูดนมเบาลง ควรเอาลูกออกจากเต้า ก่อนที่ลูกจะหลับแล้วเผลอกัดหัวนม
  • ลูกอาจมีอาการติดเชื้อ เช่น ไข้หวัด หูติดเชื้อ ทำให้กลืนลำบาก และดูดนมแม่ไม่สะดวก เลยอาจกัดหัวนมได้โดยไม่ตั้งใจ
  • ฟันน้ำนมของลูกอาจจะเพิ่งขึ้น ทำให้เขาพยายามกัดหรืองับ เพื่อแก้คัน แก้เจ็บ หรือลดอาการระคายเคือง
  • ลูกอยากรู้อยากเห็น เลยกัดหัวนมเพราะอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ลูกฟันขึ้นแล้ว ควรเลิกกินนมแม่ไหม

เด็กควรกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน และถึงแม้ลูกจะมีฟันน้ำนมซี่แรกงอกขึ้นมาแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องหยุดกินนมแม่ หากคุณแม่โดนลูกกัดขณะให้นม อย่างแรกที่ต้องตรวจสอบก็คือ ท่าดูดนมของลูก เพราะสาเหตุส่วนใหญ่ที่ลูกกัดหัวนม ก็คือการให้ลูกกินนมในท่าที่ไม่ถูกต้องนั่นเอง ฟันซี่แรกของเด็กมักเป็นฟันล่าง หากลูกกัดหัวนมขณะให้นม ก็แปลว่าเขาห่อหรือม้วนลิ้นในขณะดูดนม ซึ่งปัญหานี้จะหมดไป หากให้ลูกกินนมด้วยท่าดูดนมที่ถูกต้อง

วิธีรับมือเมื่อลูกกัดหัวนม

คุณแม่สามารถรับมือกับปัญหาลูกกัดหัวนมแม่ได้ ด้วยการปฏิบัติดังนี้

  • เวลาให้ลูกกินนมจากเต้า ให้คุณแม่ลองสอดนิ้วก้อยเข้าไปตรงมุมปากของลูก ลูกจะได้เปลี่ยนมางับนิ้วแทนงับหัวนม
  • หากโดนลูกกัดหัวนม อย่าผลักลูกออกจากอกทันที เพราะอาจทำให้ลูกกัดหัวนมของคุณแม่แรงกว่าเดิม ควรค่อย ๆ เอาลูกออกจากเต้า พักให้หายเจ็บสักครู่ จึงค่อยให้ลูกกินนมแม่อีกครั้ง
  • หากลูกกัดหัวนม คุณแม่ไม่ควรส่งเสียงร้องดังโวยวาย เพราะปฏิกิริยาของคุณแม่ อาจทำให้ลูกตกใจ จนไม่ยอมดูดนมจากเต้าอีก หรือทำให้ลูกรู้สึกสนุก และกัดหัวนมของคุณแม่บ่อยขึ้น เหมือนเป็นของเล่น
  • นำลูกเข้าเต้าให้ถูกวิธี เพราะท่ากินนมแม่ที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ลูกกัดหัวนมหนักกว่าเดิมได้ และในขณะให้นมแม่ ควรมีปฏิสัมพันธ์กับลูก มองตาเขาตลอดเวลา เพื่อให้เขามีสมาธิกับการกินนม
  • ฝึกให้ลูกกัดตุ๊กตายาง กัดหลังกินนมแม่จนชิน ลูกจะได้ไม่กัดหัวนมของคุณแม่เวลากินนมแม่
  • เมื่อลูกโตขึ้น อย่าบังคับให้ลูกกินนมแม่ เว้นแต่ลูกอยากกินจริง ๆ เพราะหากเขาไม่อยากกิน ก็อาจต่อต้านด้วยการกัดหัวนมได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

7 Tips To Prevent Your Breast Feeding Baby From Biting. http://www.momjunction.com/articles/tips-to-prevent-your-breast-feeding-baby-from-biting_00100627/. Accessed January 13,2018

What to do when your breastfeeding baby bites. https://www.babycentre.co.uk/a542991/what-to-do-when-your-breastfeeding-baby-bites. Accessed January 13,2018

Help Me, Heidi! My Baby Bites Me During Breastfeeding. https://www.whattoexpect.com/first-year/breastfeeding/baby-bites-nipple-breastfeeding/. Accessed January 13,2018

Baby Biting While Breastfeeding. https://breastfeeding.support/baby-biting-while-breastfeeding/. Accessed January 13,2018

Biting. https://www.llli.org/breastfeeding-info/biting/#:~:text=A%20baby%20may%20bite%20during,fearful%20at%20the%20next%20feeding.. Accessed April 21, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/02/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความเชื่อเกี่ยวกับการให้นมแม่ และข้อเท็จจริงที่ควรรู้

สารพิษในนมแม่ มาจากไหน ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพลูกน้อย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 26/02/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา