backup og meta

โซเดียมในขนม ภัยเงียบที่พ่อแม่ต้องระวัง

โซเดียมในขนม ภัยเงียบที่พ่อแม่ต้องระวัง

ขนมขบเคี้ยวที่เด็ก ๆ ชอบกินมักจะอุดมไปด้วยน้ำตาล แป้ง และผงชูรส พ่อแม่ส่วนใหญ่คิดว่าผงชูรสเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ยังมีอีกสิ่งที่พ่อแม่อาจมองข้าม นั่นก็คือ โซเดียมในขนม ที่หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคไต และโรคอื่น ๆ ตามมา

[embed-health-tool-heart-rate]

โซเดียม คืออะไร

โซเดียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ โซเดียมช่วยควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย และเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ โดยอวัยวะที่ควบคุมการทำงานของโซเดียม คือ ไต ร่างกายรับโซเดียมจากอาหารที่มีรสเค็ม และจากเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ เช่น เกลือ น้ำปลา กะปิ ซึ่งโซเดียมที่ร่างกายได้รับส่วนใหญ่มาจากเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมกับคลอไรด์

ส่วนการขับโซเดียมออกจากร่างกาย ร่างกายอาจขับโซเดียมส่วนเกินออกทางไตในรูปแบบปัสสาวะมากที่สุด รองลงมา คือ ขับออกทางเหงื่อ วันละประมาณ 25 มิลลิโมล และขับโซเดียมออกทางอุจจาระในปริมาณน้อยประมาณ 1-2 มิลลิโมล นอกจากนี้โซเดียมอาจมีประโยชน์อื่น ๆ ดังนี้

  • เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย
  • การขาดโซเดียมอาจทำให้เกิดโรค เช่น โรคที่เกี่ยวกับกระดูก
  • โซเดียมเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยอาหาร และเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน

ผลเสียจากการได้รับโซเดียมมากเกินไป

เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่ควบคุมการใช้โซเดียมในร่างกาย การที่ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อไต โดยปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน คือ ไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม หรือถ้าเป็นในรูปของเกลือแกงไม่ควรเกิน 6 กรัม/วัน หากได้รับปริมาณโซเดียมเกินกว่าที่ร่างกายต้องการอาจทำให้ไตทำงานหนักจนเสื่อมสภาพ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคไตหรือโรคไตวายเฉียบพลัน

ปริมาณ โซเดียมในขนม

วิธีการตรวจสอบปริมาณโซเดียมในขนม คือ การดูที่ฉลากข้อมูลโภชนาการ ในทุก ๆ ถุงขนมจะมีปริมาณโซเดียมบอกไว้เป็นหน่วยมิลลิกรัม แต่สิ่งที่ต้องระวัง คือ พลังงานต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งหมายถึงการบริโภคใน 1 ครั้ง สำหรับขนมห่อใหญ่ที่สามารถกินได้หลายวัน ฉลากข้อมูลโภชนาการอาจเขียนว่า หนึ่งหน่วยบริโภค 1/3 ซอง (30 กรัม) หมายความว่า ขนมถุงนี้กินได้ 3 ครั้ง แต่หากกินหมดภายในครั้งเดียว ทั้งพลังงานที่ได้รับและคุณค่าทางอาหารที่ได้รับก็จะต้องคูณเพิ่มเข้าไป เช่น

ตัวอย่างของการบอกถึงคุณค่าทางโภชนาการบนฉลากขนม

  • หนึ่งหน่วยบริโภค 1/3 ซอง (30 กรัม)
  • พลังงานทั้งหมด 150 กิโลแคลอรี่
  • ไขมันทั้งหมด 8 กรัม
  • โซเดียม 130 มิลลิกรัม

นั่นหมายความว่าหากกินขนมหมดห่อภายในครั้งเดียว ผู้บริโภคก็จะได้รับพลังงานทั้งหมด 150×3 = 450 กิโลแคลอรี่ นอกจากปริมาณแคลอรี่แล้ว สิ่งที่ต้องคูณเพิ่ม คือ คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งถ้าในฉลากระบุว่าหนึ่งหน่วยบริโภคจะได้รับไขมันทั้งหมด 8 กรัม แสดงว่ากินหมดซองจะได้รับไขมันทั้งหมด 24 กรัม รวมถึงปริมาณโซเดียม จากตัวอย่างหากกินขนมหมดซองจะได้รับปริมาณโซเดียม 130×3 = 650 มิลลิกรัม

การดูปริมาณโซเดียมบนถุงขนมจึงอาจต้องดูหนึ่งหน่วยบริโภคด้วย เพราะโซเดียมที่เห็นว่าน้อย ความแท้จริงแล้ว อาจมีปริมาณมากกว่าที่คิด โซเดียมในขนมจึงถือเป็นภัยเงียบที่พ่อแม่ต้องระวัง และควรคอยดูแลไม่ให้เด็ก ๆ กินขนมจนเพลิน เพราะอาจทำให้ได้รับโซเดียมมากเกินไปจนเสี่ยงเป็นโรคไตได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ดุลโซเดียม (Sodium Balance). http://www.mt.mahidol.ac.th/e-learning/bodyfluid%20and%20electrolyte/sodium.htm. Accessed May 30, 2018.

มาอ่านฉลากโภชนาการกันเถอะ. http://www.thaihealth.or.th/Content/37102-มาอ่านฉลากโภชนาการกันเถอะ.html . Accessed May 30, 2018.

Reducing Sodium in Children’s Diets. https://www.cdc.gov/vitalsigns/children-sodium/index.html#:~:text=US%20children%20ages%206-18%20years%20eat%20an%20average%20of,than%202%2C300%20mg%20per%20day. Accesed May 21, 2021.

Sodium and Kids. https://www.heart.org/en/healthy-living/healthy-eating/eat-smart/sodium/sodium-and-kids. Accesed May 21, 2021.

Kids and sodium: Serious risks and alarming realities. https://www.mayoclinichealthsystem.org/hometown-health/speaking-of-health/kids-and-sodium-serious-risks-and-alarming-realities. Accessed February 12, 2022

Sodium/Salt. https://healthy-kids.com.au/food-nutrition/nutrients-in-food/sodiumsalt/. Accessed February 12, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/04/2024

เขียนโดย Sopista Kongchon

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

การแพ้อาหารในเด็ก เรื่องใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม

เลือกกิน กินยาก เด็กเป็นแบบนี้เพราะสื่อโฆษณาหรือเปล่า


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 22/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา