backup og meta

ไบโอติน (Biotin)

ไบโอติน (Biotin)

ไบโอติน (Biotin) หรือวิตามินเอช แต่หลาย ๆ คนเรียกว่า วิตามินบี 7 เป็นวิตามินที่พบได้ในอาหารหลากหลายชนิด แต่จะมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนใหญ่แล้วมีการใช้ไบโอตินเพื่อป้องกันและรักษาภาวะขาดไบโอติน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์

ข้อบ่งใช้

ไบโอติน ใช้สำหรับ

ไบโอติน (Biotin) เป็นวิตามินที่พบได้อาหารหลากหลายชนิด แต่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มีการใช้ไบโอตินเพื่อป้องกันและรักษาภาวะขาดไบโอติน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ การให้อาหารผ่านท่ออาหารเป็นเวลานาน ภาวะขาดโภชนาการ และน้ำหนักทรุดอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีการนำ ยาไบโอติน มาใช้รับประทานเพื่อรักษาอาการผมร่วง เล็บเปราะ ผื่นบนผิวหนังเด็กแรกเกิด (Seborrheic Dermatitis) โรคเบาหวาน และโรคซึมเศร้าขั้นแรกอีกด้วย

วิธีการใช้ไบโอติน

ไม่มีงานวิจัยอย่างเพียงพอต่อวิธีการใช้ ยาไบโอติน โปรดปรึกษากับหมอสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เป็นที่ทราบว่า ยาไบโอติน เป็นส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์ในร่างกาย ที่จะไปทำลายสารบางชนิด อย่าง ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และสารอื่น ๆ

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ยาไบโอติน

ปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ หากคุณมีอาการ ได้แก่

  • คุณตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรใช้ยาตัวนี้ตามคำแนะนำของหมอเท่านั้น หากคุณคาดว่าจะมีบุตรหรือต้องให้นมบุตร
  • คุณกำลังรับประทานยาตัวอื่น ได้แก่ ยาใด ๆ ก็ตามที่คุณสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์
  • คุณมีอาการแพ้สารใด ๆ ก็ตามของ ยาไบโอติน หรือยาตัวอื่นหรือสมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีโรค มีความผิดปกติหรืออาการทางการแพทย์อื่น ๆ
  • คุณมีภูมิแพ้ประเภทอื่น อย่างเช่น ภูมิแพ้อาหาร ฝุ่นละออง สารกันบูดหรือสัตว์อื่น ๆ

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริม ไม่ได้มีความเข้มงวดเท่ากับข้อบังคับสำหรับยา จำเป็นต้องมีงานวิจัยเพื่อระบุถึงวิธีการใช้ที่ปลอดภัยมากกว่านี้ ประโยชน์ของการรับประทานสมุนไพรตัวนี้ ควรต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนจะใช้ ปรึกษาหมอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยของไบโอติน

ยาไบโอติน ปลอดภัยสำหรับหลาย ๆ คน หากรับประทานอย่างเหมาะสม การรับประทานไบโอตินมักไม่เกิดการแพ้ หากรับประทานยาในขนาดที่แนะนำ ยาไบโอติน ยังเป็นยาที่ปลอดภัย สำหรับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือใช้อย่างเหมาะสม

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

ภาวะตั้งครรภ์และให้นมบุตร ยาไบโอติน เป็นยาที่ปลอดภัยหากใช้ในขนาดยาที่หมอแนะนำสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

การฟอกไต ผู้ที่เข้ารับการฟอกไต อาจต้องรับประทาน ยาไบโอติน เพิ่ม ตรวจสอบกับทางโรงพยาบาลของคุณ

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจาก ยาไบโอติน

หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยา

ปฏิกิริยาจากไบโอติน

ยาไบโอติน อาจทำปฏิกิริยากับยาหรืออาการโรคที่คุณมีอยู่ โปรดปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ ยาไบโอติน

ขนาดการใช้

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ควรปรึกษาหมอและผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติมก่อนใช้ ยาไบโอติน

ขนาดการใช้ไบโอติน

ไม่มีคำแนะนำทางการสำหรับปริมาณ ยาไบโอติน ที่ควรได้รับในแต่ละวัน (RDA) โดยทั่วไป ปริมาณสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน (AI) สำหรับไบโอติน คือ 7 ไมโครกรัม

  • สำหรับเด็กแรกเกิด 0-12 เดือน 8 ไมโครกรัม
  • สำหรับเด็กวัย 1-3 ปี 12 ไมโครกรัม
  • สำหรับเด็กวัย 4-8 ปี 20 ไมโครกรัม
  • สำหรับเด็กวัย 9-13 ปี 25 ไมโครกรัม
  • สำหรับวัยรุ่นวัย 14-18 ปี 30 ไมโครกรัม
  • สำหรับผู้ใหญ่วัย 18 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ และแม่ที่ต้องให้นมบุตร 35 ไมโครกรัม

ขนาดของไบโอตินอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน ขนาดที่คุณรับประทานจะขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และอาการอื่น ๆ อาหารเสริมไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาหมอของคุณสำหรับขนาดยาที่เหมาะสม

รูปแบบของไบโอติน

ยาไบโอติน อาจมีรูปแบบแตกต่างกัน ได้แก่

  • ซอฟเจล
  • ยาแคปซูล
  • ยาเม็ด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Biotin https://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-313-biotin.aspx?activeingredientid=313&activeingredientname=biotin Accessed January 22, 2018

Why do we need biotin? https://www.medicalnewstoday.com/articles/287720.php  Accessed January 22, 2018

Biotin for Hair Growth: Does It Work? . https://www.healthline.com/health/biotin-hair-growth.Accessed March 18, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

26/03/2021

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เล็บฉีก วิธีปฐมพยาบาล และวิธีป้องกัน

วิตามินเอช/บี7/ไบโอติน (Vitamin H/B7/Biotin)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 26/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา