ข้อบ่งใช้
คาเฟอีนซิเตรตใช้สำหรับ
คาเฟอีนซิเตรต (Caffeine Citrate) มักมีข้อบ่งใช้ดังนี้
- ฟื้นฟูความกระฉับกระเฉงทางจิตใจหรือความตื่นตัวขณะที่กำลังเหนื่อยล้าหรือง่วงนอน
- อาการหยุดหายใจของทารกที่คลอดก่อนกำหนด
คาเฟอีนซิเตรต (Caffeine Citrate) นั้นมีให้บริการตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น (สำหรับฉีด) ยานี้จะใช้ในการรักษาระยะสั้นสำหรับภาวะหยุดหายใจของทารก (neonatal apnea) ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ
คาเฟอีนซิเตรตอาจจะใช้เพื่อรักษาสภาวะอื่นๆ ตามที่แพทย์กำหนด
วิธีใช้คาเฟอีนซิเตรต
ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากคุณใช้คาเฟอีนซิเตรตที่หาซื้อได้เอง โปรดอ่านฉลากยาบนขวดเพื่อรับทราบแนวทางการใช้ยาที่ถูกต้อง
คาเฟอีนซิเตรตนั้นสามารถรับประทานพร้อมกับอาหารหรือรับประทานแยกต่างหากได้ หากเกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วนควรรับประทานพร้อมกับอาหาร
โปรดสอบถามแพทย์หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับการใช้คาเฟอีนซิเตรต
การเก็บรักษาคาเฟอีน ซิเตรต
คาเฟอีนซิเตรตควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง คาเฟอีนซิเตรตบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย
ไม่ควรทิ้งคาเฟอีนซิเตรตลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้คาเฟอีนซิเตรต
ก่อนใช้คาเฟอีนซิเตรต โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหาก
- มีอาการแพ้ต่อส่วนประกอบในคาเฟอีนหรือผลิตภัณฑ์คาเฟอีน
- กำลังใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อเอง สมุนไพร หรืออาหารเสริมใดๆ
- มีอาการวิตกกังวล กระสับกระส่าย หรือประหม่า มีปัญหากับตับหรือกระเพาะอาหาร (เช่น มีแผลในระบบทางเดินอาหาร) นอนไม่หลับ มีอาการชัก หรือเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะอาการหัวใจเต้นผิดปกติใดๆ หรือภาวะความดันโลหิตสูง
- กำลังตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร
ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา
คาเฟอีนซิเตรตจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)
การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้
- A = ไม่มีความเสี่ยง
- B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
- C = อาจจะมีความเสี่ยง
- D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
- X = ห้ามใช้
- N = ไม่ทราบแน่ชัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้คาเฟอีนซิเตรต
ควรรับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันทีหากคุณอาการ ดังนี้
- อาการแพ้ที่รุนแรง ได้แก่ หายใจติดขัด แน่นหน้าอก อาการบวมที่ปาก ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น ผดผื่น ลมพิษ หรือคัน
- ท้องร่วง
- อาเจียน
- หัวใจเต้นเร็ว หรือใจสั่น
- ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น
- ปวดหน้าอก
ผลข้างเคียงที่พบได้มากอื่นๆ ได้แก่ นอนไม่หลับ ประหม่าหรือวิตกกังวล หงุดหงิด คลื่นไส้ ปวดศีรษะ
ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
คาเฟอีนซิเตรตอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ยาที่อาจทำปฏิกิริยากับคาเฟอีนซิเตรต
- ยาควิโนโลน (Quinolones) เช่น ไซโปรฟอกซาซิน (ciprofloxacin)
- ทีโอฟิลลีน (Theophyllines)
- ยาดูล็อกซีทีน (Duloxetine)
- ยาอีเฟดรา (Ephedra)
- กัวรานา (Guarana)
- ยาราซาจิลีน (Rasagiline)
- ยาไทซานิดีน (Tizanidine)
- ยาคุมกำเนิด
- ยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole) เช่น ไดฟลูแคน (Diflucan)
- ยาต้านเบาหวาน (Antidiabetes drugs)
- ยาบางชนิดที่ใช้เพื่อรักษาโรคเบาหวาน ทั้งยาไกลเมพิไรด์ (glimepiride) อย่างอะมาริล (Amaryl) ยาไกลบูไรด์ (glyburide) อย่างไดอาเบต้า (DiaBeta) ไกลเนส เพรสแท็บ (Glynase PresTab) หรือไมโครเนส (Micronase) ยาอินซูลิน ยาไพโอกลิตาโซน (pioglitazone) อย่างแอคเตอร์ (Actos) โรซิกลิทาโซน (rosiglitazone) อย่างอะแวนไดาอา (Avandia) ยาคลอร์โพรพาไมด์ (chlorpropamide) อย่างไดอาไบเนส (Diabinese) ยาฟลิพิไซด์ (glipizide) อย่างฟลูโคทรอล (Glucotrol) ยาโทลบูตาไมด์ (tolbutamide) อย่างออริเนส (Orinase) และอื่นๆ
- ยาเม็กซิเลทีน (Mexiletine) เช่น เม็กซิทิล (Mexitil)
- ยาเทอร์ไบนาฟีน (Terbinafine) เช่น ลามิซิล (Lamisil)
- ยาเอฟิดรีน (Ephedrine)
- ยาอะดีโนซีน (Adenosine) เช่น อะเดโนคาร์ด (Adenocard)
- ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาปฏิชีวนะควิโนโลน (Quinolone antibiotics)
- ยาไซเมทิดีน (Cimetidine) เช่น ทากาเมต (Tagamet);
- ยาโคลซาพีน (Clozapine) เช่น โคลซาริล (Clozaril)
- ยาไดไพริดาโมล (Dipyridamole) เช่น เพอร์ซานิทีน (Persantine)
- ยาไดซัลฟิแรม (Disulfiram) เช่น แอนทาบูส (Antabuse)
- ยาฟลูวอกซามีน (Fluvoxamine) เช่น ลูวอกซ์ (Luvox);
- ยาลิเทียม (Lithium)
- ยารักษาโรคซึมเศร้าในกลุ่มเอ็มเอโอไอ (MAOIs)
- ยาชะลอการเกิดลิ่มเลือด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet drugs)
- ยาฟีโนบาร์บิทัล (Pentobarbital) เช่น เนมบูทอล (Nembutal)
- ยาฟีนิลโพรพาโนลามีน (Phenylpropanolamine)
- ยาริลูโซล (Riluzole) เช่น ริลูเท็ก (Rilutek)
- ยาทีโอฟิลลีน (Theophylline)
- ยาเวราพามิล (Verapamil) เช่น คาแลน (Calan) โคเวรา (Covera) ไอโซปทิน (Isoptin) เวเรแลน (Verelan)
ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์
คาเฟอีนซิเตรตอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น
คาเฟอีนซิเตรต อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ เช่น
- อาการแพ้ต่อคาเฟอีน ยาอื่น อาหารอื่น หรือสารอื่นๆ
- กำลังใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อได้เอง หรือสมุนไพร หรืออาหารเสริมอื่นๆ
- หากคุณมีอาการวิตกกังวล กระสับกระส่าย หรือประหม่า มีปัญหาเกี่ยวกับตับหรือกระเพาะอาหาร (เช่น มีแผล) นอนไม่หลับ มีอาการชัก หรือเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะอาการหัวใจเต้นผิดปกติใดๆ หรือภาวะความดันโลหิตสูง
- กำลังตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาดของคาเฟอีนซิเตรตสำหรับผู้ใหญ่
- ขนาดยาเริ่มต้น : 2 มล./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากผ่านไป 4 ชั่วโมง อาจให้ยาครั้งที่สองหากผู้ป่วยไม่มีการตอบสนองทางการแพทย์ หากยังไม่มีการตอบสนองกับยาครั้งที่สอง ควรทำการวัดระดับคาเฟอีนในเลือด
- ขนาดยาปกติ : 0.5-1 มล./กก. โดยการหยอดยาเข้าหลอดเลือดดำ เริ่มให้ยาหลังจากให้ยาเริ่มต้นผ่านไป 24 ชั่วโมง ในบางกรณีอาจต้องใช้ขนาดยาปกติสูงกว่า 10 มก./กก./วัน (โดยแสดงเป็นคาเฟอีน ซิเตรต) เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ในช่วงกำลังมีภาวะหยุดหายใจอย่างต่อเนื่องที่มีระดับของพลาสม่าบ่งชี้ว่าสามารถเพิ่มขนาดยาขึ้นได้อย่างปลอดภัย
ขนาดของคาเฟอีนซิเตรตสำหรับเด็ก
- ขนาดยาเริ่มต้น : 2 มล./กก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำภายใน 4 ชั่วโมง หลังจากผ่านไป 4 ชั่วโมง อาจให้ยาครั้งที่สองหากผู้ป่วยไม่มีการตอบสนองทางการแพทย์ หากยังไม่มีการตอบสนองกับยาครั้งที่สอง ควรทำการวัดระดับคาเฟอีนในเลือด
- ขนาดยาปกติ : 0.5-1 มล./กก. โดยการหยอดยาเข้าหลอดเลือดดำ เริ่มให้ยาหลังจากให้ยาเริ่มต้นผ่านไป 24 ชั่วโมง ในบางกรณีอาจต้องใช้ขนาดยาปกติสูงกว่า 10 มก./กก./วัน (โดยแสดงเป็นคาเฟอีน ซิเตรต) เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เช่น ในช่วงกำลังมีภาวะหยุดหายใจอย่างต่อเนื่องที่มีระดับของพลาสม่าบ่งชี้ว่าสามารถเพิ่มขนาดยาขึ้นได้อย่างปลอดภัย
ควรดำเนินการรักษาต่อไปจนกระทั่งเด็กมีอายุครรภ์ถึง 37 สัปดาห์ ซึ่งในเวลานั้นภาวะหยุดหายใจของทารกมักจะหายไปเองตามธรรมชาติ
รูปแบบของยา
ความแรงและรูปแบบของยา มีดังนี้
- สารละลาย 10 มก./เดซิลิตร สำหรับฉีด
กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านทันที
กรณีลืมใช้ยา
หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]