ข้อบ่งใช้
ไพรมิโดน ใช้สำหรับ
ไพรมิโดน (Primidone) ใช้เป็นยาชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อควบคุมอาการชัก การควบคุมและลดอาการชักจะช่วยให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติมากขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายเมื่อไม่มีสติสัมปชัญญะ และลดความเสี่ยงในการเกิดสภาวะที่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตที่เกิดจากการเกิดอาการชักบ่อยครั้ง ยาไพรมิโดนอยู่ในกลุ่มของยากันชัก บาร์บิทูเรต (Barbiturate Anticonvulsants) ซึ่งยานี้ทำงานโดยการควบคุมการทำงานของคลื่นไฟฟ้าภายในสมองที่ผิดปกติขณะเกิดอาการชัก
วิธีการใช้ยา ไพรมิโดน
ไพรมิโดน สามารถรับประทานพร้อมกับอาหารหรือแยกต่างหากก็ได้ โดยปกติจะรับประทานวันละ 3-4 ครั้ง หรือตามที่แพทย์กำหนด หากรับประทานยาเพียงอย่างเดียวแล้ว มีอาการท้องไส้ปั่นป่วนอาจต้องรับประทานยาพร้อมกับอาหารหรือนม โดยแพทย์อาจจะสั่งให้คุณเริ่มต้นใช้ยาในขนาดต่ำ ในช่วงก่อนเข้านอนแล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดยาเพื่อป้องกันผลข้างเคียง เช่น อาการง่วงซึมและวิงเวียน หากจะเปลี่ยนจากยากันชักอื่นๆ (Anticonvulsant) มาใช้ยาไพรมิโดน แพทย์อาจจะสั่งให้คุณใช้ยาเก่าต่อไปเรื่อยๆ ก่อนแล้วค่อยๆ ลดขนาดยานั้น โดยเริ่มต้นใช้ยาไพรมิโดน ที่สำคัญควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างระมัดระวัง ซึ่งปริมาณ และขนาดของยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ ระดับของยาไพรมิโดนภายในเลือด การใช้ยาอื่นเพื่อรักษาอาการชัก และการตอบสนองต่อการรักษา อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะได้ขนาดยาที่เหมาะสมกับคุณที่สุด
ยาไพรมิโดนจะทำงานได้ดีที่สุด หากรักษาระดับของยาภายในร่างกายไว้อย่างคงที่ ดังนั้นจึงควรเว้นระยะเวลาการใช้ยาให้เท่ากันในแต่ละวัน เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน และอย่าหยุดใช้ยาไพรมิโดนและยากันชักอื่นๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจทำให้อาการชักแย่ลงหรืออาการชักเกิดความรุนแรง และยากต่อการรักษา (สถานะโรคลมชัก [epilepticus]) เมื่อหยุดใช้ยาอย่างกะทันหัน
ยานี้อาจทำให้เกิดอาการขาดยาได้ โดยเฉพาะหากใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ใช้เป็นเวลานานหรือใช้ในปริมาณที่สูง ในกรณีเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการขาดยาได้ ซึ่งจะมีอาการ วิตกกังวล มองเห็นภาพหลอน กระตุก นอนไม่หลับ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหากหยุดใช้ยาอย่างกะทันหัน อาการขาดยาไพรมิโดนอาจจะรุนแรงและส่งผลทำให้เกิดอาการชักและเสียชีวิตได้ เพื่อป้องกันอาการขาดยา แพทย์อาจจะค่อยๆ ลดขนาดยาของคุณลงมา โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม และแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากพบอาการขาดยา
แม้ว่ายานี้จะช่วยลดอาการชักได้เป็นอย่างดีแต่ยานี้อาจทำให้ติดยาได้ ซึ่งอาจเกิดความเสี่ยงสูงหากคุณเคยใช้สารต่างๆ ในทางที่ผิด เช่น เคยใช้เกินขนาดหรือติดยา/สุรา ควรใช้ยาตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากความสามารถในการควบคุมอาการชักแย่ลง (เช่นจำนวนการเกิดอาการชักเพิ่มขึ้น)
การเก็บรักษายาไพรมิโดน
ไพรมิโดน ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไพรมิโดนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ไม่ควรทิ้งยาไพรมิโดนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูก สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาไพรมิโดน
ก่อนใช้ยาไพรมิโดน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ยาชนิดนี้ หรือแพ้ต่อ ยาบาร์บิทูเรต อื่นๆ เช่น ยาฟีโนบาร์บิทัล (phenobarbital) หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยา นี้อาจมีส่วนประกอบที่ส่งผล ทำให้อาการแพ้ไม่ออกฤทธิ์ โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนบางประเภท เช่น โรคต่อมหมวกไต อย่างโรคแอดดิสัน (Addison’s disease) ปัญหาเกี่ยวกับไต ปัญหาเกี่ยวกับตับ ปัญหาเกี่ยวกับปอด เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease-COPD) ความผิดปกติทางจิตใจหรืออารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้าหรือมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย ประวัติส่วนตัวหรือคนในครอบครัวเคยใช้สารในทางที่ผิด (เช่นใช้ยา/สุราเกินขนาดหรือติดยา/สุรา) ประวัติส่วนตัวหรือคนในครอบครัวเป็นโรคพอร์ฟิเรีย (porphyria) ภาวะขาดวิตามินบางชนิด เช่น กรดโฟลิก วิตามินเค
บางครั้งยาไพรมิโดนอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนหรือง่วงซึม และอาการวิงเวียนหรือง่วงซึมจะรุนแรงขึ้นได้ หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือกัญชา หากมีอาการเช่นนี้ควรหลีกเลี่ยงการขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว รอให้ร่างกายปกติ จนกว่าคุณจะสามารถทำได้กิจกรรมเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย และจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และควรปรึกษาแพทย์หากคุณใช้กัญชาร่วมด้วย
ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ)
ผู้สูงอายุอาจจะมีปฏิกิริยาไวกว่าต่อผลข้างเคียงของยานี้ โดยเฉพาะอาการง่วงซึมและวิงเวียน แต่ยานี้มักจะทำให้เกิดอาการตื่นเต้นหรือสับสนแทนอาการง่วงซึมในผู้สูงอายุ
เด็กเล็กอาจจะมีปฏิกิริยาไวกว่าต่อผลข้างเคียงของยานี้ ยานี้มักจะทำให้เกิดอาการตื่นเต้นหรือสับสนแทนอาการง่วงซึมในเด็กเล็ก
ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ขณะตั้งครรภ์เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่เนื่องจากอาการชักที่ไม่ได้รับการรักษานั้นเป็นสภาวะที่รุนแรงที่อาจเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และเด็ก อย่าหยุดใช้ยานี้เว้นเสียแต่แพทย์จะสั่ง หากคุณมีแผนที่จะตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ หรือคาดว่าอาจจะตั้งครรภ์ขณะใช้ยานี้โปรดปรึกษาแพทย์ในทันทีเกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยาระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากยาคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดแบบฝัง และยาฉีดคุมกำเนิดอาจจะไม่ได้ผลระหว่างที่กำลังใช้ยานี้ โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการคุมกำเนิดที่เชื่อถือได้
ยานี้อาจจะลดระดับของกรดโฟลิกและวิตามินเค เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติของไขสันหลัง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบกับแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับกรดโฟลิกและวิตามินเคเพียงพอ ทารกที่เกิดจากแม่ที่ใช้ยานี้ระหว่างตั้งครรภ์อาจจะมีอาการเอะอะ สั่นเทา หรือตกเลือด โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ในลูกของคุณ
ยานี้สามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้และอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนมากเกินไปหรือปัญหาเกี่ยวกับการป้อนอาหารกับเด็กทารกได้ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร
ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา
ยาไพรมิโดนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด N โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)
การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้
- A= ไม่มีความเสี่ยง
- B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
- C= อาจจะมีความเสี่ยง
- D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
- X= ห้ามใช้
- N= ไม่ทราบแน่ชัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้ยาไพรมิโดน
อาจเกิดอาการวิงเวียน ง่วงซึม ตื่นเต้น เหนื่อยล้า ปวดหัว เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หรืออาเจียนเกิดขึ้นขณะที่ร่างกายกำลังปรับตัวเข้ากับยา หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที
โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้เนื่องจากคำนวณแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ
โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นแต่รุนแรงดังนี้ เดินโซเซ ความสามารถหรือความต้องการทางเพศลดลง มองเห็นภาพซ้อน
คนจำนวนน้อยที่ใช้ยากันชักเพื่อรักษาสภาวะใดๆ เช่น อาการชัก โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) หรืออาการปวด อาจจะมีอาการซึมเศร้า มีความคิดหรือพยายามที่จะฆ่าตัวตาย หรือปัญหาทางจิตใจหรืออารมณ์อื่นๆ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณ คนในครอบครัว หรือผู้ดูแลสังเกตเห็นอาการความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคิด หรือพฤติกรรมอย่างผิดปกติ/กะทันหัน รวมถึงอาการซึมเศร้า มีความคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย มีความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง
โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ ในมันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่หายากและรุนแรงมาก อย่างเช่น มีรอยช้ำ เลือดออกง่าย หมดสติ หัวใจเต้นช้า เหนื่อยล้าหรืออ่อนแรงอย่างรุนแรง ผิวซีด หายใจเร็ว ช้า หรือตื้น
การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก หากมีอาการแพ้จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้อย่างรุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด
ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ บางคนอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
ยาที่อาจจะมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่ ยาดารุนาเวียร์ (darunavir) ยาอิทราไวรีน (etravirine) ยาออริสแตท (orlistat) ยาริลพิไวรีน (rilpivirine)
ยาอื่นก็สามารถส่งผลกระทบ ต่อการกำจัดยาไพรมิโดนออกจากร่างกาย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของยาไพรมิโดน เช่น สมุนไพรเซนต์จอห์น (St. John’s wort) และอื่นๆ
ยานี้สามารถเร่งการกำจัดยาอื่นออกจากร่างกายซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของยาเหล่านั้นได้ ยาที่ได้รับผลกระทบมี ดังนี้
- ยาอาร์เทมิเทอร์ (artemether)
- ยาลูมีแฟนทรีน (lumefantrine)
- ยาอะซูนาพรีเวียร์ (asunaprevir)
- ยาอะทาซานาเวียร์ (atazanavir)
- ยาโบเซพรีเวียร์ (boceprevir)
- ยาโคบิซิสแตท (cobicistat)
- ยาลูราซิโดน (lurasidone)
- ยาราโนลาซีน (ranolazine)
- ยาโซฟอสบูเวียร์ (sofosbuvir)
- ยาโซราเฟนิบ (sorafenib)
- ยาโวริโคนาโซล (voriconazole)
- ยาในกลุ่มแคลเซียมชาแนลบล็อกเกอร์บางชนิด (calcium channel blockers) เช่น ยาเฟโลดิพีน (felodipine) ยานิโมดิพีน (nimodipine,) และอื่นๆ
ซึ่งยาเหล่านี้อาจลดประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด หรือห่วงคุมกำเนิด และส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับวิธีการคุมกำเนิดเพิ่มเติมหรือทางเลือกอื่นในการคุมกำเนิดที่น่าเชื่อถือและมีประสืทธิภาพ แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณสังเกตเห็นอาการเลือดออกกะปริดกะปรอยหรือเลือดออกมาก เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณว่าการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนนั้นทำงานได้ไม่ดี
ความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น หายใจช้าหรือตื้น ง่วงซึมหรือวิงเวียนอย่างรุนแรง อาจจะเพิ่มขึ้นหากใช้ยานี้ร่วมกับยาที่อาจทำให้ง่วงหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณใช้ยาอื่น เช่นยาแก้ปวดหรือบรรเทาอาการไอโอปิออยด์ (opioid) เช่นยาโคเดอีน (codeine) หรือยาไฮโดรโคโดน (hydrocodone) สุรา กัญชา ยานอนหลับหรือยาสำหรับอาการวิตกกังวล เช่นยาอัลปราโซแลม (alprazolam) ยาโลราเซแพม (lorazepam) หรือยาซอลพิเดม (zolpidem) ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่นยาคาริโซโพรดอล (carisoprodol) หรือยาไซโคลเบนซาพรีน (cyclobenzaprine) หรือยาต้านฮิสตามีน (antihistamines) เช่นยาเซทิริซีน (cetirizine) หรือยาไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine)
ควรอ่านฉลากของยาทั้งหมด (เช่นยาแก้แพ้หรือยาแก้ไอแก้หวัด) เนื่องจากอาจมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้ โปรดสอบถามแพทย์เกี่ยวกับวิธีการใช้ยาเหล่านี้อย่างปลอดภัย
ยาไพรมิโดนคล้ายกันยาฟีโนบาร์บิทัลเป็นอย่างมาก อย่าใช้ยาที่มีฟีโนบาร์บิทัลขณะที่กำลังใช้ยานี้
ยาไพรมิโดนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์
ยาไพรมิโดนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น
ยาไพรมิโดนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาดยาไพรมิโดนสำหรับผู้ใหญ่
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคลมชัก (Epilepsy)
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่เคยรับการรักษามาก่อน
-วันที่ 1 ถึง 3 100 ถึง 125 มก. รับประทานก่อนนอน
-วันที่ 4 ถึง 6 100 ถึง 125 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง
-วันที่ 7 ถึง 9 100 ถึง 125 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
-วันที่ 10 เป็นต้นไป 250 มก. รับประทานวันละ 3 ถึง 4ครั้ง หากจำเป็นอาจเพิ่มขึ้นไปถึงวันละ 5 ถึง 6 ครั้ง
-ขนาดยาสูงสุด 500 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง (วันละ 2 กรัม)
สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยากันชักอยู่แล้ว
100 ถึง 125 มก. รับประทานก่อนนอน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปจนถึงระดับปกติโดยค่อยๆ ลดขนาดของยาอื่นลง ใช้สูตรนี้ต่อไปจนได้ขนาดยาที่พอใจในการใช้ยาร่วมกัน หรือจนกว่าจะหยุดใช้ยาอื่นอย่างสมบูรณ์ เมื่อจะเปลี่ยนจากการใช้ยาร่วมกับยาอื่นมาใช้ยานี้เพียงชนิดเดียว ไม่ควรเปลี่ยนเร็วเกินกว่า 2 สัปดาห์
คำแนะนำ
-ขนาดยาควรแตกต่างตามแต่ละคนโดยขึ้นอยู่กับประโยชน์สูงสุด ในบางกรณีการตรวจระดับเซรั่มเลือดอาจจะช่วยในการปรับขนาดยาที่เหมาะสมที่สุดได้ ระดับเซรั่มที่มีประสิทธิภาพทางการแพทย์ของยานี้คือระหว่าง 5 ถึง 12 ไมโครกรัม/มล.
-สามารถรับประทานยาโดยไม่ต้องคำนึงถึงอาหาร
การใช้งาน เพื่อควบคุมอาการชักทั้งตัวแบบเกร็งและกระตุก (grand mal) แบบไซโคมอเตอร์ (psychomotor) การชักเฉพาะที่ (focal) และในบางครั้งอาการชักทั้งตัวแบบเกร็งและกระตุกที่ดื้อต่อยากันชัก ใช้เป็นยาชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกับยากันชักอื่นๆ
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการชัก
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่เคยรับการรักษามาก่อน
-วันที่ 1 ถึง 3 100 ถึง 125 มก. รับประทานก่อนนอน
-วันที่ 4 ถึง 6 100 ถึง 125 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง
-วันที่ 7 ถึง 9 100 ถึง 125 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
-วันที่ 10 เป็นต้นไป 250 มก. รับประทานวันละ 3 ถึง 4ครั้ง หากจำเป็นอาจเพิ่มขึ้นไปถึงวันละ 5 ถึง 6 ครั้ง
-ขนาดยาสูงสุด 500 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง (วันละ 2 กรัม)
สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยากันชักอยู่แล้ว
100 ถึง 125 มก. รับประทานก่อนนอน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปจนถึงระดับปกติโดยค่อยๆ ลดขนาดของยาอื่นลง ใช้สูตรนี้ต่อไปจนได้ขนาดยาที่พอใจในการใช้ยาร่วมกัน หรือจนกว่าจะหยุดใช้ยาอื่นอย่างสมบูรณ์ เมื่อจะเปลี่ยนจากการใช้ยาร่วมกับยาอื่นมาใช้ยานี้เพียงชนิดเดียว ไม่ควรเปลี่ยนเร็วเกินกว่า 2 สัปดาห์
คำแนะนำ
-ขนาดยาจะมีแตกต่างกัน ตามแต่ละคนโดยขึ้นอยู่กับประโยชน์สูงสุด ในบางกรณีการตรวจระดับเซรั่มเลือดอาจจะช่วยในการปรับขนาดยาที่เหมาะสมที่สุดได้ ระดับเซรั่มที่มีประสิทธิภาพทางการแพทย์ของยานี้คือระหว่าง 5 ถึง 12 ไมโครกรัม/มล.
-สามารถรับประทานยาโดยไม่ต้องคำนึงถึงอาหาร
การใช้งาน เพื่อควบคุมอาการชักทั้งตัวแบบเกร็งและกระตุก แบบไซโคมอเตอร์ การชักเฉพาะที่ และในบางครั้งอาการชักทั้งตัวแบบเกร็งและกระตุกที่ดื้อต่อยากันชัก ใช้เป็นยาชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกับยากันชักอื่นๆ
การปรับขนาดยา
ขนาดยาทั้งหมดต่อวันควรจะแบ่งให้ 2 ครั้งในขนาดที่เท่ากันในตอนเช้าและตอนเย็น สำหรับผู้ป่วยบางคนอาจควรที่จะให้ยาขนาดที่มากกว่าในช่วงที่มีอาการชักบ่อยกว่า เช่น 1) หากเกิดอาการชักในตอนกลางคืนบ่อยกว่าก็ควรที่จะให้ยาส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในตอนเย็น 2) หากอาการชักกำเริบนั้นเกี่ยวข้องกับอาการเช่นประจำเดือน ก็อาจจะเพิ่มขนาดยาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
การฟอกไต (Dialysis)
ยานี้สามารถกำจัดได้ด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis)
คำแนะนำอื่นๆ
คำแนะนำการใช้ยา
-สามารถรับประทานยานี้พร้อมกับหรือปราศจากอาหารทั่วไป
-อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ว่าที่จะได้ขนาดยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษา
การเฝ้าระวัง
-ผู้ผลิตแนะนำให้ทำการตรวจวัดความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) และการวิเคราะห์พหุคูณตามลำดับ 12 (sequential multiple analysis 12) ทุกๆ 6 เดือนที่ผู้ป่วยใช้ยานี้
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย
-ผู้ป่วยและครอบครัวควรจะทราบว่ายากันชักสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความคิดและพฤติกรรมเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายได้ และควรจะตื่นตัวต่ออาการฉุกเฉินหรืออาการที่แย่ลงเกี่ยวกับอาการซึมเศร้า ความเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางจิตใจหรืออารมณ์ มีความคิดหรือพฤติกรรมฉุกเฉินที่จะฆ่าตัวตาย หรือมีความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีเกี่ยวกับพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วง
ขนาดยาไพรมิโดนสำหรับเด็ก
ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคลมชัก
อายุ 8 ปีขึ้นไป
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่เคยรับการรักษามาก่อน
-วันที่ 1 ถึง 3 100 ถึง 125 มก. รับประทานก่อนนอน
-วันที่ 4 ถึง 6 100 ถึง 125 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง
-วันที่ 7 ถึง 9 100 ถึง 125 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
-วันที่ 10 เป็นต้นไป 250 มก. รับประทานวันละ 3 ถึง 4ครั้ง หากจำเป็นอาจเพิ่มขึ้นไปถึงวันละ 5 ถึง 6 ครั้ง
-ขนาดยาสูงสุด 500 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง (วันละ 2 กรัม)
สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยากันชักอยู่แล้ว
100 ถึง 125 มก. รับประทานก่อนนอน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปจนถึงระดับปกติโดยค่อยๆ ลดขนาดของยาอื่นลง ใช้สูตรนี้ต่อไปจนได้ขนาดยาที่พอใจในการใช้ยาร่วมกัน หรือจนกว่าจะหยุดใช้ยาอื่นอย่างสมบูรณ์ เมื่อจะเปลี่ยนจากการใช้ยาร่วมกับยาอื่นมาใช้ยานี้เพียงชนิดเดียว ไม่ควรเปลี่ยนเร็วเกินกว่า 2 สัปดาห์
อายุน้อยกว่า 8 ปี
-วันที่ 1 ถึง 3 50 มก. รับประทานก่อนนอน
-วันที่ 4 ถึง 6 50 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง
-วันที่ 7 ถึง 9 100 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
-วันที่ 10 เป็นต้นไป 125 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง ถึง 250 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
-ขนาดยาปกติคือ 125 ถึง 250 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง หรือ 10 ถึง 25 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน
คำแนะนำ
-ขนาดยาควรแตกต่างตามแต่ละคนโดยขึ้นอยู่กับประโยชน์สูงสุด ในบางกรณีการตรวจระดับเซรั่มเลือดอาจจะช่วยในการปรับขนาดยาที่เหมาะสมที่สุดได้ ระดับเซรั่มที่มีประสิทธิภาพทางการแพทย์ของยานี้คือระหว่าง 5 ถึง 12 ไมโครกรัม/มล.
-สามารถรับประทานยาโดยไม่ต้องคำนึงถึงอาหาร
การใช้งาน เพื่อควบคุมอาการชักทั้งตัวแบบเกร็งและกระตุก แบบไซโคมอเตอร์ การชักเฉพาะที่ และในบางครั้งอาการชักทั้งตัวแบบเกร็งและกระตุกที่ดื้อต่อยากันชัก ใช้เป็นยาชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกับยากันชักอื่นๆ
ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการชัก
อายุ 8 ปีขึ้นไป
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่เคยรับการรักษามาก่อน
-วันที่ 1 ถึง 3 100 ถึง 125 มก. รับประทานก่อนนอน
-วันที่ 4 ถึง 6 100 ถึง 125 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง
-วันที่ 7 ถึง 9 100 ถึง 125 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
-วันที่ 10 เป็นต้นไป 250 มก. รับประทานวันละ 3 ถึง 4ครั้ง หากจำเป็นอาจเพิ่มขึ้นไปถึงวันละ 5 ถึง 6 ครั้ง
-ขนาดยาสูงสุด 500 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง (วันละ 2 กรัม)
สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยากันชักอยู่แล้ว
100 ถึง 125 มก. รับประทานก่อนนอน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปจนถึงระดับปกติโดยค่อยๆ ลดขนาดของยาอื่นลง ใช้สูตรนี้ต่อไปจนได้ขนาดยาที่พอใจในการใช้ยาร่วมกัน หรือจนกว่าจะหยุดใช้ยาอื่นอย่างสมบูรณ์ เมื่อจะเปลี่ยนจากการใช้ยาร่วมกับยาอื่นมาใช้ยานี้เพียงชนิดเดียว ไม่ควรเปลี่ยนเร็วเกินกว่า 2 สัปดาห์
อายุน้อยกว่า 8 ปี
-วันที่ 1 ถึง 3 50 มก. รับประทานก่อนนอน
-วันที่ 4 ถึง 6 50 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง
-วันที่ 7 ถึง 9 100 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
-วันที่ 10 เป็นต้นไป 125 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง ถึง 250 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง
-ขนาดยาปกติคือ 125 ถึง 250 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง หรือ 10 ถึง 25 มก./กก./วัน แบ่งรับประทาน
คำแนะนำ
-ขนาดยาควรแตกต่างตามแต่ละคนโดยขึ้นอยู่กับประโยชน์สูงสุด ในบางกรณีการตรวจระดับเซรั่มเลือดอาจจะช่วยในการปรับขนาดยาที่เหมาะสมที่สุดได้ ระดับเซรั่มที่มีประสิทธิภาพทางการแพทย์ของยานี้คือระหว่าง 5 ถึง 12 ไมโครกรัม/มล.
-สามารถรับประทานยาโดยไม่ต้องคำนึงถึงอาหาร
การใช้งาน เพื่อควบคุมอาการชักทั้งตัวแบบเกร็งและกระตุก แบบไซโคมอเตอร์ การชักเฉพาะที่ และในบางครั้งอาการชักทั้งตัวแบบเกร็งและกระตุกที่ดื้อต่อยากันชัก ใช้เป็นยาชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกับยากันชักอื่นๆ
ข้อควรระวัง
ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพสำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี
รูปแบบของยา
ขนาดและรูปแบบของยามีดังนี้
- ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
- ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน
กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที
กรณีลืมใช้ยา
หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]