backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

กลีเซอรอล (Glycerol)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

กลีเซอรอล (Glycerol)

ข้อบ่งใช้

กลีเซอรอลใช้สำหรับ

กลีเซอรอล (Glycerol) เป็นสารเคมีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และนำมาใช้เป็นยา การใช้งานและรูปแบบของยาบางชนิดได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Food and Drug Administration ; FDA)

กลีเซอรอลใช้รับประทานเพื่อลดน้ำหนัก ส่งเสริมการออกกำลังกาย ช่วยทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปจากอาการท้องร่วงและอาเจียน และลดความดันภายในดวงตาสำหรับผู้เป็นโรคต้อหิน นักกีฬายังใช้กลีเซอรอลเพื่อช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำอีกด้วย

ในบางครั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพอาจจะฉีดกลีเซอรอลเข้าหลอดเลือดดำเพื่อลดความดันภายในสมองสำหรับสภาวะต่างๆ เช่น

  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
  • โรคไข้สมองอักเสบ (Encephalitis)
  • กลุ่มอาการราย (Reye’s syndrome)
  • ภาวะความดันในโพรงกะโหลกศีรษะสูง (Pseudotumor cerebri)
  • การบาดเจ็บในระบบประสาทส่วนกลาง
  • เนื้องอกในระบบประสาทส่วนกลาง
  • ใช้เพื่อลดเนื้อสมองในการผ่าตัดระบบประสาท
  • ใช้เพื่อรักษาอาการหมดสติขณะยืนเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ (Postural syncope)
  • ใช้เป็นยาระบาย

บางคนอาจทากลีเซอรอลทาบนผิวหนังเพื่อใช้เป็นมอยส์เจอไรเซอร์ และในบางครั้งจักษุแพทย์ก็อาจจะใช้สารละลายที่มีส่วนผสมของกลีเซอรอลใส่ดวงตาเพื่อลดน้ำในกระจกตาก่อนทำการผ่าตัดดวงตา

กลีเซอรอล (Glycerol) อาจกำหนดให้ใช้สำหรับส่วนอื่นๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

การทำงานของกลีเซอรอล

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับการทำงานของกลีเซอรอล โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่เป็นที่ทราบกันว่ากลีเซอรอลนั้นจะเกาะติดกับน้ำในลำไส้ ทำให้อุจจาระนิ่ม และบรรเทาอาการท้องผูก

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้กลีเซอรอล

ปรึกษาแพทย์หรึอเภสัชกร หาก

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • คุณมีอาการแพ้กลีเซอรอล หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารเสริมกลีเซอรอล ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

โดยปกติแล้ว ผู้ใหญ่สามารถใช้กลีเซอรอลได้อย่างปลอดภัย แต่หากเป็นการฉีดเข้าหลอดเลือด อาจทำให้เซลล์เม็ดเลือดเสียหายรุนแรงได้

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัย จากการใช้กลีเซอรอลระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้กลีเซอรอล

การรับประทานกลีเซอรอลอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ และท้องร่วง

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

กลีเซอรอลอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของกลีเซอรอล

ขนาดยาดังต่อไปนี้ผ่านการวิจัยในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการท้องผูก

สำหรับผู้ใหญ่ : ยาเหน็บขนาด 2-3 กรัม หรือยาสวนทวารขนาด 5-15 มล.

สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี : ยาเหน็บขนาด 1-1.7 กรัม หรือยาสวนทวาร 2-5 มล.

ขนาดยาอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ดีก่อนตัดสินใจใช้

รูปแบบของกลีเซอรอล

กลีเซอรอลอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • ยาผง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา